ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ช่วง 10 ปี ที่กองทุนให้สิทธิ(คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ดำเนินการมา แม้จะสามารถช่วยเหลือให้คนไร้สัญชาติที่มีปัญหาสถานะบุคคลกว่า 500,000 คน       ให้สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐได้ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอีกหลายอย่างที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

ในฐานะผู้ผลักดันให้การคืนสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้แก่ผู้ทีปัญหาสถานะ วิวัฒน์ ตามี่ ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์(พชช.) และกรรมการบริหารกองทุนให้บริการด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ มองว่า สิ่งที่ควรต้องปรับปรุง คือข้อจำกัด โดยเฉพาะสิทธิประโยชน์ ซึ่งยังไม่เท่าเทียมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อาทิ ขอบเขตและเงื่อนไขการคุ้มครอง โดยบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิจะต้องขึ้นทะเบียนหน่วยบริการที่ใกล้บ้านก่อนเข้ารับการรักษา ขณะที่ระบบหลักประสุขภาพถ้วนหน้าสามารถเข้ารับการรักษาได้ก่อนแล้วค่อยไปขึ้นทะเบียน ที่สำคัญกองทุนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิไม่คุ้มครองความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ สิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่แตกต่างกัน 21 รายการ และ ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณืและอวัยวะเทียมทีร่แตกต่างกัน 109 รายการ

“การเข้าถึงสิทธิ ถือว่าคนไร้สัญชาติ เกือบทั้งหมด 80-90 % แม้แต่คนจีนโพ้นทะเล นักเรียนในสังกัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีปัญหาสถานะ ได้เข้าถึงสิทธิ มีสุขภาพมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โอกาสเสี่ยงเสียชีวิตจากความเข็บไข้ได้ป่วยก็ลดลง การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคก็สามารถทำได้ดีขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อส่วนรวมของประเทศ สิ่งสำคัญคือ สามารถช่วยเหลือหน่วยบริการ เพราะก่อนนี้ต้องรับภาระค่าใช้จ่าย เกิดหนี้สินของโรงพยาบาล แต่ปัจจุบันโรงพยาบาลตามแนวชายแดนที่เคยมีปัญหาสามารถแก้ปัญหาได้จากการที่เกิดกองทุนนี้ขึ้นมา สิ่งที่ต้องปรับปรุงต่อไปคือเรื่องสิทธิประโยชน์” วิวัฒน์กล่าว

ผู้อำนวยการพชช.กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ควรเร่งปรับปรุงกระบวนการคืนสิทธิขั้นพื้นฐานการสาธารณสุขแก่ นักเรียนที่มีปัญหาสถานะและสิทธิในสถานศึกษา หรือนักเรียนที่มีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยอักษร G ซึ่งแม้จะมีการคืนสิทธิให้กลุ่มเด็ก G มาแล้ว แต่เด็กจะมีสิทธิใช้บริการด้านสาธารณสุขำด้ก็ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีม่ชีมติเห็นตามรายชื่อที่เสนอไป

“การแก้ปัญหาเด็ก G ก็มีจุดอ่อน เป็นการสำรวจจนได้จำนวนเพียงพอ ก็เสนอให้ครมงอนุมัติเป็นคราวๆ เป็นกลุ่มๆ ไป ทั้งที่หลักการคือเมื่อกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยสำรวจพบแล้ว และออกเลขประจำตัวให้แล้ว ก็ควรให้ได้รับสิทธิในทันทีโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องรอให้ครม.อนุมัติ เพราะฐานข้อมูลอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยอยู่แล้ว”

วิวัฒน์เปิดเผยว่า กระบวนการคืนสิทธิฯ ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเกิดปัญหามาก อย่างกรณีเด็กนักเรียนกลุ่ม G ซึ่วครม.อนุมัติเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถใช้สิทธิกับหน่วยบริการได้ เพราะยังไม่มีหนังสือเวียนส่งมา เพราะกองเศรษฐกิจสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขซี่งรับผิดชอบข้อมูลบุคคลเหล่านี้ ไม่ได้ทำระบบออนไลน์ไปยังสถานบริการด้านสาธารณสุขทั่วประเทศ ซึ่งแตกต่างกับฐานข้อมูลระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่ง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำเป็นระบบออนไลน์ไปทั่วประเทศ

ผู้อำนวยการมูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธ์เห็นว่า ฐานข้อมูลบุคคลที่มีปัญหาสถานะ ซึ่งไม่มีการจัดทำให้เป็นปัจจุบันและสามารถเข้าถึงได้ง่าย ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเข้าถึงสิทธิของผู้ที่มีปัญหาสถานะ เช่นในพื้นที่รอยต่ออ.อุ้มผาง จ.ตาก และอ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี คนในพื้นที่อุ้มผางเดินทางมารักษาที่อ.สังขฃะบุรีสะดวกกว่าเข้าไปในอ.อุ้มผาง แต่ก็ไม่สามารถรักษาข้ามเขตได้ทำไม่ได้ การย้ายสิทธิ ย้ายหน่วยบริการก็ยาก ฐานข้อมูลอัพเดตล่าช้า ซึ่งกองทุนผู้มีปัญหาสถานะมีปัญหามาก การย้ายสิทธิ เพิ่มคน ลดคนลำบากมาก

ประเด็นเหล่านี้ คือสิ่งที่วิวัฒน์เห็นว่าควรต้องเร่งปรับปรุงสำหรับการก้าวสธู่ทศวรรษที่ 2 เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ที่มรีปัญหาสถานะบุคคลอย่างแท้จริง โดยต้องไม่ลืมว่า หากกลุ่มคนที่มีปัญหาสถานะมีสุขภาพ มีการป้องกันและควบคุมโรคที่ดี ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อประเทสไทยโดยรวม ซึ่งในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เช่นนี้ จะมีประโยชน์ในการควบคุมการแพร่ระบาดเป็นอย่างยิ่ง