ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

หนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงสาธารณสุข คือ นโยบาย “คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน” หรือ นโยบาย 3 หมอ ที่เริ่มเดินหน้ามาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้มอบให้ถือเป็นของขวัญปีใหม่ของคนไทย และทางจังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินการตามแนวทาง 3 หมอ 3 มอบ ไปแล้ว ทั้งหมด 11 อำเภอ ข้อมูลเชิงปริมาณที่ทำได้พบว่า ประมาณ 80% โดยส่วนใหญ่จะเป็นอำเภอทรายทองวัฒนา 79%

นางมลวิภา กาศสมบูรณ์ รองนายแพทย์ สสจ. กำแพงเพชร กล่าวว่า ในส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร ข้อมูลเบื้องต้นคือ มีประชากรประมาณ 750,000 คน 11 อำเภอ 78 ตำบลและ 957 หมู่บ้าน มีโรงพยาบาลทั่วไป 1 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 11 แห่ง รพ.สต. 120 แห่ง และมีสถานีอนามัยที่ถ่ายโอนไปท้องถิ่นอีก 5 แห่ง สำหรับบุคลากร ของระบบบริการปฐมภูมิมีค่าเฉลี่ย 4.43 : รพ.สต. รวมถึงมีพยาบาลทั้งหมด 170 คน นักวิชาการ 265 คน และแพทย์แผนไทย 40 คน ที่กล่าวมานั้น เป็นโครงสร้างการขับเคลื่อนระบบปฐมภูมิของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเราจะมีคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายหรือฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ที่ช่วยดูระบบบริการปฐมภูมิทั้งหมด

“สำหรับการขับเคลื่อน นโยบาย 3 หมอ เราจะใช้แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine) และแพทย์ทั่วไปเป็นหมอท่านที่ 3 ที่จะคอยดูแลตามระบบ ส่วนระดับตำบลจะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขคอยดูแลด้านรักษาสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกันฟื้นฟูต่างๆ จนถึงระดับหมู่บ้านเราจะมีอสม. 1 คน ดูแล 21 หลังคาเรือน และในส่วนนี้เราอาจจะผลิตอสม. เพิ่มมากขึ้น”

นโยบาย 3 หมอ เป็นโครงการที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มอบให้ถือเป็นของขวัญปีใหม่ของคนไทย ซึ่งทางจังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินการตามแนวทาง 3 หมอ 3 มอบ ไปแล้ว ทั้งหมด 11 อำเภอ นอกจากนี้ยังให้ 3 หมอเข้าไปดูแลผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงการให้คำปรึกษาจาก 3 หมอโดยผ่านแอพลิเคชั่นต่างๆอีกด้วย ข้อมูลเชิงปริมาณที่ทำได้พบว่าประมาณ 80% โดยส่วนใหญ่จะเป็นอำเภอทรายทองวัฒนา 79%

ในส่วนของการเปิดคลินิกหมอครอบครัว ในการขึ้นทะเบียนเพื่อที่จะจัดตั้งตามระบบบริการปฐมภูมินั้น ในแต่ละปีเรามีแผนรองรับเพื่อที่จะเตรียมความพร้อมในการขึ้นทะเบียนอยู่แล้ว จังหวัดกำแพงเพชรเราทำทั้งหมด 11 อำเภอ โดยมี 2 อำเภอที่เราเลือกมาเป็นนำร่องนโยบาย 3 หมอ ที่มีการจัดตั้งคลินิกหมอครอบครัว 100%

นางมลวิภา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้การพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ที่ให้คำแนะนำให้คำปรึกษาอาจอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่มีระบบที่ทำแล้ว คือ ระบบส่งต่อผู้ป่วย ที่อยู่ต่างอำเภอก็สามารถมาที่โรงพยาบาลกำแพงเพรชได้เลย โดยไม่ต้องกลับไปโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งเป็นระบบบริการเพื่อที่จะให้การดูแลต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนากำลังคนในส่วนของวิชาชีพ อย่างที่บอกไปว่า จะต้องมีความรู้ในเรื่องของพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว รวมถึง อสม. เราพยายามที่จะให้มีความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ เช่น CPR เป็นต้น

"เราคิดว่าที่ทำมาในส่วนของการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ บริการ “ไกล้บ้าน ไกล้ใจ” ของปฐมภูมิ พบว่ามีการใช้บริการมากขึ้นกว่า รพ.แม่ข่าย" นางมลวิภา กล่าว

 

*ติดตามการขับเคลื่อนนโยบาย 3 หมอในพื้นที่ได้ตอนต่อไป

ตอนที่ 1 ถอดบทเรียน การดำเนินนโยบาย “คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน” ใน 4 จังหวัดของประเทศไทย

ตอนที่ 3 ถอดบทเรียน 3 หมอ ในพื้นที่ อำเภอทรายทองวัฒนา และ อำเภอชากังราว