ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สรุปสถานการณ์สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) กับสายพันธุ์เบตา(แอฟริกาใต้) เผยตัวเลขล่าสุดถึง 20 มิ.ย. พบ อัลฟา 88.97% เดลตา10.43% และเบตา 0.60% ย้ำ! เบตาแพร่ยาก ต้องจับตา! สายพันธุ์เดลตาหรืออินเดีย แพร่เร็ว และมีแนวโน้มแทนที่สายพันธุ์อังกฤษในเร็ววัน

ตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) มีระบบในการเฝ้าระวัง และติดตามโควิดสายพันธุ์ต่างๆมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการติดตามสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในประเทศไทย ซึ่งขณะนี้ คือ สายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) แต่หลังจากมีการพบสายพันธุ์เดลตา(อินเดีย) ในแคมป์คนงานหลักสี่ ก็เริ่มมีการพบเพิ่มมากขึ้น

ประกอบกับมีข้อกังวลถึงการพบสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ในจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย ล่าสุดพบสายพันธุ์แอฟริกาใต้นอกพื้นที่จ.นราธิวาส เนื่องจากพบการติดเชื้อในโรงเรียนในจ.ยะลา และพบว่า เด็กนักเรียนเดินทางกลับภูมิลำเนาในจังหวัดต่างๆ จนทำให้กังวลว่า เด็กกลุ่มนี้มีการติดเชื้อโควิดหรือไม่ และเป็นสายพันธุ์ใดนั้น

**สายพันธุ์อัลฟา ยังมากสุด รองลงมาเดลตา 10.43%

ความคืบหน้าล่าสุด (22 มิ.ย.64) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจหาสายพันธุ์โควิด19 ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ เครือข่ายห้องปฏิบัติการดำเนินงานเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ เพื่อให้ประเทศไทย มีข้อมูลเฝ้าระวังสายพันธุ์ได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน โดยสรุปการเฝ้าระวังข้อมูล ตั้งแต่เมษายน 2564 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2564 แบ่งเป็น

-สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) จำนวน 5,641 ตัวอย่าง คิดเป็น 88.97%

-สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 661 ตัวอย่าง คิดเป็น 10.43%

-สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 38 ตัวอย่าง คิดเป็น 0.60%

*สถานการณ์การเพิ่มขึ้นของสายพันธุ์เดลตา

-  เขตสุขภาพที่ 1 จำนวน 5 ราย จากเดิมข้อมูลเดือน เม.ย.ถึงวันที่ 13 มิ.ย.64 พบ 3 ราย เพิ่มขึ้น 2 รายในช่วงวันที่ 14-20 มิ.ย.64

-  เขตสุขภาพที่ 2 จำนวน 2 ราย เป็นตัวเลขตั้งแต่เดือน เม.ย. ถึงวันที่ 13 มิ.ย. ไม่เพิ่มขึ้นในช่วงวันที่ 1420 มิ.ย.

-  เขตสุขภาพที่ 3 ไม่พบสายพันธุ์เดลตา

-  เขตสุขภาพที่ 4 จำนวน 105 ราย จากเดิมเม.ย.ถึง 13 มิ.ย.จำนวน 40 ราย เพิ่มเป็น 65 รายวันที่ 14-20 มิ.ย. 64

-  เขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 2 ราย จากเดิม 1 รายตั้งแต่เดือนเม.ย.ถึงวันที่ 13 มิ.ย. เพิ่มอีก 1 ราย ช่วงวันที่ 14-20 มิ.ย.

-  เขตสุขภาพที่ 6 จำนวน 2 รายตั้งแต่เดือนเม.ย.ถึงวันที่ 13 มิ.ย. นอกนั้นยังไม่พบ

-  เขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 4 รายตั้งแต่เดือนเม.ย.ถึงวันที่ 13 มิ.ย. นอกนั้นยังไม่พบ

-  เขตสุขภาพที่ 8 จำนวน 40 ราย เดิมพบ 30 รายตั้งแต่เดือนเม.ย.ถึงวันที่ 13 มิ.ย. เพิ่มอีก 10 รายช่วงวันที่ 14-20 มิ.ย.

-  เขตสุขภาพที่ 9 จำนวน 7 ราย เดิมพบ 4 ราย ตั้งแต่เดือนเม.ย.ถึงวันที่ 13 มิ.ย. เพิ่มอีก 3 รายช่วงวันที่ 14-20 มิ.ย.

-  เขตสุขภาพที่ 10 จำนวน 3 ราย ตั้งแต่เดือนเม.ย.ถึงวันที่ 13 มิ.ย. นอกนั้นยังไม่พบ

-  เขตสุขภาพที่ 11 และ 12 ยังไม่พบสายพันธุ์เดลตา

-  เขตสุขภาพที่ 13 จำนวน 491 ราย จากเดิม 404 รายตั้งแต่เดือนเม.ย.ถึงวันที่ 13 มิ.ย. เพิ่มอีก 87 รายช่วงวันที่ 14-20 มิ.ย.

*สถานการณ์การเพิ่มขึ้นของสายพันธุ์เบตา

-สายพันธุ์เบตา ยังพบในภาคใต้ จำนวน 38 ราย

-เขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 2 ราย พบในช่วงวันที่ 14-20 มิ.ย.64

-เขตสุขภาพที่ 12 จำนวน 33 ราย จากเดิม 28 รายตั้งแต่เดือนเม.ย.ถึงวันที่ 13 มิ.ย. 64 เพิ่มอีก 5 รายในช่วงวันที่ 14-20 มิ.ย.64

*สถานการณ์เด็กนักเรียนโรงเรียนในจังหวัดยะลา ที่พบติดโควิด-19

-  จากการติดตามเด็กนักเรียนในจังหวัดยะลา เบื้องต้นพบมีทั้งสายพันธุ์อัลฟา และสายพันธุ์เบตา

-  ขณะนี้หน่วยงานสาธารณสุขกำลังติดตามหาต้นตอว่าติดมาจากที่ไหน

-  กำลังเร่งติดตามว่าเชื้อมีการกระจายไปจังหวัดอื่นๆ หรือไม่

-  ผลการตรวจเด็กนักเรียนที่จังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดตราด ที่กลับมาจากจังหวัดยะลา ผลตรวจไม่พบเชื้อโควิด 19 ซึ่งขณะนี้เด็กอยู่ระหว่างกักตัวเฝ้าระวังต่อไป

-  ส่วนการตรวจเชื้อเด็กนักเรียนพื้นที่อื่นๆ กำลังประสานพื้นที่ให้ส่งตัวอย่าง ขณะนี้ทยอยส่งเข้ามา และกรมวิทย์กำลังเร่งตรวจหาว่า เป็นสายพันธุ์ใด

 

** สายพันธุ์โควิด ณ ขณะนี้ (ข้อมูลจากวันแถลงข่าว 22 มิ.ย.64) 

-  ขณะนี้ยังเป็นสายพันธุ์อัลฟา หรือสายพันธุ์อังกฤษ

-  มีแนวโน้มว่า สายพันธุ์เดลตา จะแทนที่อังกฤษ แต่ ณ ตอนนี้ยังไม่ใช่ แต่ติดตามอย่างใกล้ชิด

-  สายพันธุ์เบตา แพร่ช้ากว่า สายพันธุ์อัลฟา และสายพันธุ์เดลตา

-  วัคซีนยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค

-  สิ่งสำคัญที่สุดขอประชาชนไทยทุกคนจะต้องช่วยกัน แม้จะฉีดวัคซีนแล้วจะต้องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง เพื่อป้องกันโควิด 19

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org