ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ที่ประชุมศุนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน มี “หมอปิยะสกล” เสนอเพิ่มเตียงสีแดง พร้อมหารือ รพ.เอกชน โดยปลัดสธ.มอบหมายทุกภาคส่วน สธ.ระดมกำลังช่วยกทม. ปริมณฑล พร้อมหารือประเด็นอนุญาตผู้ป่วยเลือกดูแลตนเองที่บ้าน หรือ Home Isolation แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ยังมีความเสี่ยง!

วันที่ 24 มิ.ย. พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) กล่าวว่า การจัดการเตียง กทม.และปริมณฑล ที่ประชุมมีการหารือกันมาต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์ นายกรัฐมนตรีและ ผอ.ศบค.ได้กำกับเน้นย้ำทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยเหลือ กทม. ปริมณฑลในการเพิ่มศักยภาพการขยายเตียง ซึ่งน่าห่วงเตียงที่ดูแลอาการรุนแรงสีเหลือง สีแดง ทั้งนี้ ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน โดยมี นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ที่ปรึกษาคณะกรรมการบูรณาการการดูแลโรคระบาดโควิด 19 กทม.และปริมณฑล มีการพูดคุยข้อเสนอแนะ 2-3 ประการ คือ การเพิ่มเตียงสีแดง รพ. มีการพูดถึง รพ.บางขุนเทียนและ รพ.ราชพิพัฒน์ที่จะยกระดับรองรับผู้ป่วยรุนแรงมากขึ้น และหารือ รพ.เอกชน โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มอบหมายให้ทุกภาคส่วนของ สธ.ระดมสรรพกำลังเพิ่มประสิทธิภาพ กทม.และปริมณฑล หารือ รพ.มงกุฎวัฒนะ และ รพ.ธนบุรี พยายามปรับ รพ.พื้นที่ให้รองรับอาการรุนแรงมากขึ้น และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล และวชิรพยาบาล 3 ส่วนนี้ระดมบุคลากรให้เปิดเตียงรองรับได้อีกกว่า 50 เตียงภายในมิ.ย.นี้

"เรามีสถานที่เพียงอย่างเดียวไม่ได้ ข้อจำกัดคือระดมบุคลากร พูดคุยกันว่าจะระดมบุคลากรทุกภาคส่วน เช่น ทหาร สาธารณสุขในต่างจังหวัด หรือแพทย์จบใหม่เพิ่งสอบเสร็จ จะระดมมาดูแลในกทม.และปริมณฑล เพื่อการจัดการเตียงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอาการรุนแรง และยังพูดถึงการเพิ่มทีมสอบสวนโรคด้วย เพราะเมื่อพบผู้ติดเชื้อพื้นที่ใดกลุ่มก้อนใด การสอบสวนโรคเป็นกลไกสำคัญค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง มีโอกาสกลายเป็นผู้ป่วย เพื่อแยกออกจากครอบครัวชุมชน ป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดกระจายเป็นวงกว้าง" พญ.อภิสมัยกล่าว

พญ.อภิสมัยกล่าวว่า นอกจากนี้ มีการหารือกันเรื่องอนุญาตผู้ป่วยเลือกดูแลตนเองที่บ้าน หรือ Home Isolation มีรายละเอียดมากมาย แต่ยังเอามาเป็นข้อสรุปไม่ได้ มีอันตรายที่เป็นความเสี่ยงการพิจารณาหลายจุด ต้องมีการประเมินที่แม่นยำ อาการเหลืองหรือแดงไม่สามารถรับการดูแลตนเองที่บ้าน ต้องเฉพาะสีเขียวเท่านั้น การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย บุคลากรต้องประเมินว่าจะร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันตนเองที่ปลอดภัยหรือไม่ และประเด็นละเอียดอ่อนเรื่องการกักกันตนเองอย่างไรไม่นำเชื้อไปติดต่อยังบุคคลในครอบครัว เพื่อนบ้าน ชุมชน และต้องติดตามวิดีโอคอลพูดคุยเพื่อเฝ้าระวังการเจ็บป่วยนั้น หากอาการเปลี่ยนแปลงต้องส่งต่อให้ได้ปลอดภัย เป็นรายละเอียดที่หารือกันวันนี้ ขอให้ติดตามการดูแลเปลี่ยนแปลงจาก กทม.และ สธ.

พญ.อภิสมัยกล่าวว่า มีการประชุมทางไกลจากผู้ว่าฯ ในเขตปริมณฑล คือ นครปฐม รายงานสถานการณ์ที่เราติดตามคือการแพร่ระบาดกระจายในสถานที่ชำแหละสัตว์จากที่หนึ่งไปอีกหลายที่ พบว่ามาจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน และมีปัญหาในพื้นที่แรงงานต่างด้าว ตอนนี้จังหวัดพยายามระดมบูรณาการทุกภาคส่วนจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ หารือผู้ประกอบการหารือกำชับมาตรการ ตระเตรียมสถานที่ รพ.สนามแห่งที่ 4 เอ่ยถึงการกระจายวัคซีนของนครปฐม ซึ่ง ศบค.ชุดเล็ก สธ.ก็รับข้อเสนอ ตอนนี้อาจมีการติติงหลายภาคส่วน เรามีวัคซีนค่อนข้างจำกัด กระจายไม่ทั่วถึงล่าช้า แต่ สธ.พยายามรับไปและปรับให้เร็วขึ้น กระจายมากขึ้น ทุกจังหวัดตอนนี้กระจายวัคซีนจะเป็นอย่างมากขึ้นใน ก.ค.นี้ เพราะมีวัคซีนมากขึ้น ฝากทุกจังหวัด ศบค.ไม่ได้เทอดทิ้งจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ให้ความสำคัญทุกพื้นที่ กระจายติดตามพื้นที่เสี่ยงสูงเป็นหลักด้วย