ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

Health clouds คือบริการคลาวด์คอมพิวติ้งที่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพใช้ในการจัดเก็บ บำรุงรักษา และสำรองข้อมูลส่วนบุคคลด้านสุขภาพที่สามารถเรียกใช้งานจากที่ไหนก็ได้โดยบุคคลที่ได้รับอนุญาต

แนวคิดบริการเรื่องนี้ถูกพูดถึงมานานและมีหลายบริษัทที่ให้บริการแบบ Health clouds แต่ในบทความนี้จะยกตัวอย่างบริการบริษัท Salesforce เป็นบริษัทซอฟต์แวร์บนคลาวด์ของอเมริกาซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย และมีบริการคลาวด์ที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นคือ Health clouds (ซึ่งเป็นชื่อทางการของบริการอย่างหนึ่งของพวกเขาด้วย)

ก่อนอื่นมาทำความเข้ากันก่อนว่าระบบคลาวด์คืออะไร? Cloud computing (หรือที่ในภาษาไทยเรียกอย่างเป็นทางการว่า "การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ") คือ ทรัพยากรระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บไว้และพร้อมใช้งานตามต้องการ โดยผู้ให้บริการระบบจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น และจะให้บริการในลักษณะของเว็บแอปพลิเคชัน โดยให้ผู้ใช้ทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ขณะเดียวกันซอฟต์แวร์และข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ

ระบบคลาวด์ถูกนำมาใช้งานหลากหลาย แต่ Health clouds เพิ่งจะถูกเอ่ยถึงเมื่อไม่นานมานี้ เป็นบริการที่ใช้ระบบคลาวด์เพื่อจัดเก็บข้อมูลประวัติการแพทย์ของบุคคลๆ หนึ่ง (ซึ่งก็คือลูกค้าของแพล็ตฟอร์ม) แล้วดึงข้อมูลนั้นมาใช้แบบบูรณาการ ซึ่งจะสะดวกสำหรับผู้ป่วยและตัวแพทย์ในการใช้ข้อมูลดังกล่าวสำหรับการวินิจฉัยทางการแพทย์

ข้อมูลของผู้ป่วยไม่ใช่แค่ประวัติการรักษาที่เก็บไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic health record (EHR) แต่รวมถึงข้อมูลบุคคลจาก

อุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์สวมใส่ เช่น สมาร์ทวอทช์ที่ตรวจคลื่นหัวใจและชีพจรเวลาเดินหรือวิ่ง จากข้อมูลของ Salesforce พบว่า 63% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลจะนำเสนอข้อมูลสุขภาพของพวกเขาที่ได้จากอุปกรณ์สวมใส่ให้กับแพทย์เพื่อที่จะนำไปตรวจสุขภาพของพวกเขาได้ (1)

สำหรับ EHR เป็นข้อมูลออนไลน์อยู่แล้วซึ่งอาจอยู่ที่โรงพยาบาลที่บุคคลนั้นรับการรักษาหรือทำประกันสุขภาพเอาไว้แต่ Health clouds จะเชื่อมโยงมันอย่างวสะดวกยิ่งขึ้นโดยไม่ได้เชื่อมต่อเฉพาะฐานข้อมูลของสถานพยาบาลแต่ดึงข้อมูลจากอุปกรณ์การแพทย์ได้โดยตรงๆ แม้แต่อุปกรณ์ที่บ้านอย่างเครื่องตรวจระดับกลูโคส อุปกรณ์ตรวจจับพฤติกรรมการนอน หรือเครื่องวัดสภาพร่างกายอื่นๆ

ไม่เพียงแค่นั้น บุคคลากรการแพทย์ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น ข้อมูลการประกันสุขภาพ วันที่เข้าพบครั้งล่าสุด ผู้ให้บริการด้านสุขภาพยังสามารถตรวจสอบประวัติสุขภาพของผู้ป่วยและปฏิสัมพันธ์กับผู้ให้บริการรายอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น นักบำบัด เภสัชกร และนักกำหนดอาหาร เป็นต้น

พูดง่ายๆ ก็คือข้อมูลด้านสุขภาพของเราทั้งหมดจะถูกเชื่อมโยงจากที่ต่างๆ มาอยู่ในกลุ่มก้อนเดียวกันในระบบคลาวด์ด้วยบริการของ Health clouds

สำหรับบุคคลากรการแพทย์ระบบนี้เมื่อเข้าไปใช้แพล็ตฟอร์มจะมีเพจรายงานผลประจำวัน เพื่อให้มุมมองแบบองค์รวมของผู้ป่วย (อาจมีหลายคน) ที่แพทย์นั้นๆ ให้การรักษา และระบบจะบอกว่าแต่ละควรมีปัญหาเฉพาะหน้าหรืออาการที่ต้องได้รับการดูแลด่วนอะไรบ้าง แพทย์ก็จะสามารถตัดสินใจด้านการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเรียกดูแผนการดูแลแบบกำหนดเองสำหรับงานและดำเนินการอย่างรวดเร็ว

Health clouds ยังสามารถแบ่งกลุ่มและจัดการประชากรผู้ป่วยได้ เช่น การส่งข้อความถึงผู้ป่วยทุกรายที่มีความดันโลหิตสูงเหมือนๆ กันเพื่อกำหนดเวลาการเช็คอาการเป็นประจำด้วยการส่งข้อความเดียวไปถึงพร้อมกันแต่มีระบบที่ปกป้องปลอดภัยและเป็นส่วนตัวของแต่ละคน

ข้อมูลเช่นบันทึกผู้ป่วยและสถิติสามารถเข้าถึงได้ง่ายจากอุปกรณ์ใดๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่โรงพยาบาลเพื่อรับข้อมูลหรืองานใดๆ ภายในพื้นที่ของโรงพยาบาล แน่นอนว่าทำให้การวินิจฉัยและการรักษาเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้มาก และเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งนี้ยังช่วยให้บุคคลากรแพทย์ต่างๆ สามารถทำงานร่วมกันและรักษาผู้ป่วยเป็นทีมจากระยะไกลได้ (2)

แนวโน้มที่คนจำนวนไม่น้อยจะใช้ะบบคลาวด์แบบนี้อาจจะมีมาก จากการสำรวจโดยบริษัท Salesforce พบว่า 71% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลคาดหวังว่าใช้แอพมือถือถึงจัดการการดูแลสุขภาพของพวกเขา

อย่างไรก็ตามระบบดูแลสุขภาพส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะให้บริการแบบนี้

ปัญหาส่วนหนึ่งที่ยังแพล็ตฟอร์มระบบคลาวด์ได้ไม่มากเพราะองค์กรด้านสาธารณสุขจำนวนไม่น้อยใช้เวลาและเงินทุนมหาศาลในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EHR ของตัวเองมานานถหลายปีและถึงจุดที่ต้องเก็บกำๆไรจากการลงทุนแล้ว แต่พอดีมีระบบคลาวด์ขึ้นมาอาจทำให้เกิดความลังเลที่ใช้นวัตกรรมใหม่มาแทนที่ของเดิมที่พวกเขาลงทุนอย่างหนัก

นอกจากนี้ แพทย์และองค์กรด้านการดูแลสุขภาพจำนวนมากไม่เต็มใจที่จะใช้บริการคลาวด์สำหรับการดูแลสุขภาพเนื่องจากกลัวว่าจะมีการละเมิดข้อมูลซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายการเคลื่อนย้ายและความรับผิดชอบในการประกันสุขภาพ (HIPAA) ของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและเข้าถึงได้นั้นมีความละเอียดอ่อน องค์กรด้านการดูแลสุขภาพหลายแห่งจึงเลือกที่จะหลีกเลี่ยงบริการคลาวด์สาธารณะและใช้บริการคลาวด์ส่วนตัวภายในองค์กรแทน

แต่เราไม่สามารถยับยั้งนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการบริการสาธารณสุขได้ ดังนั้นจึงต้องมีการปรับยุทธวิธีในการใช้ระบบดลาวด์พร้อมๆ กับป้องกันไม่ให้การใช้ระบบนี้เป็นช่องทางการล่วงละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้รับและใช้บริการด้วย

ในช่วงสองปีมานี้การโจมตีโดยแฮกเกอร์ที่ใช้วิธีแรนซัมแวร์หรือการปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่บ่อยครั้ง เป้าหมายที่ถูกโจมตียังรวมถึงเครือข่ายสาธารณสุขด้วย โดยเมื่อเดือนพฤษภาคมสำนักงานสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI) ได้เผยแพร่ประกาศข่าวเตือนการโจมตีของแรมซัมแวร์ที่ชื่อ Conti ที่เล็งเป้าหมายโจมตีไปที่เครือข่ายการดูแลสุขภาพและการเครือข่ายรายงานกรณีฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่แล้วการโจมตี 16 กรณี FBI ยังระบุว่ามีองค์กรกว่า 400 แห่งทั่วโลกที่ถูกโจมตี ซึ่งรวมถึงองค์กรกว่า 290 แห่งในสหรัฐอเมริกา (4)

ปัญหานี้เกี่ยวกับจุดอ่อนของระบบคลาวด์โดยตรง ปัญหาที่น่ากังวลคือการเข้าถึงข้อมูลโดยสมัครใจของผู้รับและใช้บริการที่อาจเป็นการเปิดช่องให้อาชญากรล่วงละเมิดโดยไม่รู้ตัว ในเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญกำลังแก้ปัญหาที่เกิดจากระบบคลาวด์

ดร. เจมส์ แองเกิล (Dr. James Angle) แห่ง Trinity Health บอกว่า ก่อนที่จะมีระบบคลาวดข้อมูลทางการแพทย์ส่วนบุคคลจะเก็บไว้ในคลังของสถานที่หนึ่ง หรืออาจเป็นข้อมูลดิจิทัลที่เก็บไว้ในศูนย์ข้อมูล แต่เมื่อใช้ระบบคลาวด์ ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในศูนย์ข้อมูลหลายแห่งโดยมีผู้มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลหลายราย การเพิ่มตำแหน่งการจัดเก็บข้อมูลทำให้ผู้โจมตีมีเป้าหมายมากขึ้นในการที่จะลงมือ และส่งผลให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการสาธารณสุขถูกละเมิดอย่างร้ายแรง

“จุดประสงค์ของกฎความเป็นส่วนตัวคือเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมข้อมูลด้านสุขภาพของพวกเขาได้มากขึ้น กฎความเป็นส่วนตัว HIPAA (กฎหมายการเคลื่อนย้ายและความรับผิดชอบในการประกันสุขภาพ) สร้างมาตรฐานระดับชาติเพื่อปกป้องเวชระเบียนของบุคคลและข้อมูลด้านสุขภาพอื่นๆ ที่ได้รับการคุ้มครอง” ดร. แองเกิลกล่าว

วิธีแก้ปัญหาการเข้าข้อมูลทางการแพทย์ในระบบคลาวด์ก็คือต้องจัดการด้วยวิธี "วัฏจักรชีวิตของข้อมูล" (Data Life Cycle) เพื่อวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลที่ได้มาและระบุความสำคัญของข้อมูลเพื่อที่เราจะได้ตระหนักว่าข้อมูลที่ได้มานั้นมีความสำคัญและจะต้องปกป้องมัน และที่สำคัญจะต้องแจ้งกับผู้รับบริการด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายถึงวิธีการการเก็บข้อมูลและทำแผนที่ระบุเส้นทางของข้อมูลเพื่อบอกว่ามีใครที่เข้าถึงข้อมูลได้บ้าง 

 

อ้างอิง

 

ภาพประกอบจาก : "Introducing Salesforce Health Cloud 3 Core Advantages". Salesforce Health Cloud. PDF.

1. "Introducing Salesforce Health Cloud 3 Core Advantages". Salesforce Health Cloud. PDF.

2. "Evolution of Healthcare Industry with Salesforce Health Cloud". (April 20, 2021). Metaoups.

3. Kat Jercich. (May 24, 2021). "FBI warns of Conti ransomware attacks targeting U.S. healthcare networks". Healthcare IT News

4. Kat Jercich. (June 23, 2021). "Using the cloud data life cycle to protect patient privacy". Healthcare IT News.

เรื่องที่เกี่ยวข้อง