ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ในช่วงสถานการณ์โควิดที่กำลังระบาดในขณะนี้ บุคลากรกรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าที่สำคัญในการช่วยการวินิจฉัยโรค เพื่อความชัดเจนในการรักษา แต่เป็นวิชาชีพที่ไม่ค่อยมีใครได้เอ่ยปากถึงนั่นก็คือ วิชาชีพ รังสีเทคนิค ซึ่งทั่วไปจะเรียกเราว่านักรังสี และเจ้าหน้าที่เอกซเรย์ ในสถานการณ์ที่เกิดโรคระบาดพวกเราต้องทำงานอยู่ทั้งด่านหน้าและด่านใน เป็นฝ่ายสนับสนุนในการวินิจฉัยรักษาโรคของแพทย์ ด้วยภาพถ่ายทางรังสี

แต่ปัจจุบัน ในโรงพยาบาลชุมชน ถึง 185 แห่ง ไม่มีวิชาชีพรังสีที่มีความรู้ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลถึง 185 แห่งทั่วประเทศไทย โดยจะใช้คำพูดว่า คนงาน เวรเปล คนสวนก็ทำได้ แต่ใครจะรู้ว่ามันไม่ใช่แค่เอกซเรย์ แล้วจบ แต่ปริมาณรังสีที่คนไข้ได้รับโดยไม่จำเป็นนั่นคือสิ่งสำคัญ ที่ได้รับจากโรงพยาบาลที่ไม่มีวิชาชีพปฎิบัติงานอยู่เลย 

ที่ผ่านมาพวกเราทำงานเสี่ยงภัยกันมากก่อนที่จะมีสภาวะของโควิดระบาด พวกเราทำงานภายใต้นโยบาลของกระทรวงสาธารณสุขมาโดยตลอด เช่นการค้นหาคนไข้วัณโรคปอด ในประชาชนทั้งประเทศรวมทั้งในเรือนจำ ซึ่งก็ต้องใช้ภาพถ่ายทางรังสี ในการวินิจฉัยโรค มาจนถึงปัจจุบัน ที่เกินการระบาดของ ไวรัส COVID-19 วิชาชีพรังสีก็เป็นหนึ่งในบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องทำงานร่วมกับสหวิชาชีพต่างๆ แต่สุดท้ายแล้วคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข แทบทุกคำสั่งไม่เคยมีวิชาชีพรังสีอยู่ในคำสั่ง นั้นหรือบางคำสั่งก็อาจจะลืมเลือนว่ายังมีวิชาชีพนี้มีตัวตนอยู่ในกระทรวงสาธารณสุขในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับโรคระบาดต่างๆ ทั้งๆ ที่ทุกอย่างจำเป็นต้องใช้ภาพถ่ายทางรังสีในการวินิจฉัยโรค ล่าสุดคือคำสั่งการให้วัคซีน เข็มที่ 3ในผู้ปฏิบัติงาน ด่านหน้าที่ไม่มีชื่อของนักรังสีหรือเจ้าหน้าที่เอกซเรย์อยู่ในคำสั่งนั้น

ค่าเสี่ยงภัยที่พวกเราได้รับ เป็นค่าเสี่ยงภัยที่ต้องถูกตีความโดย โดยที่รังสีถูกตีความว่าให้ได้ 125 บาท ( ในหลายๆ โรงพยาบาล) ทั้งทั้งที่ในแต่ละวันเราต้องเข้าไปสัมผัสผู้ป่วยโควิดทุกวัน วันละต่ำกว่า 1 ชม. ใน Cohort ward และคนไข้เสี่ยงที่ไม่รู้ว่าจะเป็นหรือไม่ ใน คลินิกทางเดินหายใจ( ARI ) ยังต้องไปปฎิบัติงานในโรงบาลสนามของแต่ละจังหวัด รวมทั้งจัดเวร สับเปลี่ยนไปปฎิบัติงานยัง รพ.บุษราคัม ของกระทรวงสาธารณสุข และในช่วงที่สถานการณ์ระบาดอย่างรุนแรง ในการทำงานที่หนัก และมีความเสี่ยง จึงมีบุคลากรทางรังสีอีกหลายคนที่รับเชื้อมาจากผู้ป่วยในขณะปฎิบัติงาน 

น.ส.กมลวรรณ แสงสุวรรณ นักรังสีการแพทย์ชำนาญการ

ในปัจจุบัน เรามีนักรังสีที่ปฎิบัติงานในกระทรวงสาธารณสุข เพียง 1794 คน (สำรวจ ปี 63) เจ้าพนักงานรังสี ( เรียน 2 ปี) ประมาณ 193 คน ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่เพียงพอต่อปริมณผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี งานที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน แต่ยังใช้การคำนวณ ผู้ปฎิบัติงานด้านรังสีตามปริมาณ FTE (Full Time Equivalent) ซึ่งเป็นการคำนวณตั้งแต่ปี 56 แต่ในปัจจุบัน ไม่สอดคล้องปริมาณคนไข้มีเพิ่มขึ้นมาก

สิ่งที่วิชาชีพของเราได้รับ ประสบปัญหาที่อยากให้ผู้ใหญ่หันมามองและให้ความเห็นใจ เพื่อขวัญและกำลังใจ แก่พวกเราซึ่งเป็นผู้ปฎิบัติงานด่านหน้าที่รวมทำงาน กับสหวิชาชีพ

1. ขอคืนตำแหน่งเกษียณ ลาออก ทั้งหมดของรังสีคืน มาบรรจุแต่งตั้งใหม่ โดยไม่มีข้อแม้ใดๆในการบรรจุแต่งตั้ง

2. ขอคืนตำแหน่งพนักงานราชการ ตำแหน่งนักรังสี คืนหน่วยงานราชการเดิม ที่ถูกดึงไป ตามหนังสือ สธ 0208.04/5029 ลว. 14 มิถุนายน 2564 เพื่อรองรับนักเรียนทุน จากสถาบันบรมราชนก และนักเรียนทุนจาก 5 มหาวิทยาลัย ที่ทำ MOU กับกระทรวงสาธารณสุข

3. จัดสรรคตำแหน่ง นักรังสีให้กับ รพ.ที่ไม่มีวิชาชีพรังสี ปฎิบัติงาน 185 โรงพยาบาล

4. จัดสรรตำแหน่งในโรงพยาบาลที่มีบุคลากรเพียง 1 คน ปฏิบัติติงาน จำนวน 437 โรงพยาบาล

5. เพื่อขวัญและกำลังใจในการทำงาน ขอให้มีคำสั่งเรื่องเงินเพิ่มพิเศษจากค่าเสี่ยงภัย หรือคำสั่งต่างๆให้เท่าเทียมกับ สหวิชาชีพอื่นๆ

6. ขอให้ปรับเกณฑ์พิจารณากรอบอัตรากำลังตาม FTE ใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการขยายงานและจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น

 

คำสั่งต่างๆ ที่เราต้องอยู่ในสภาวะเสี่ยงทั้งที่แป็นผู้ปฎิบัติงานกับผู้ป่วยโดดยตรง ไม่ให้ใส่ N95 บาง รพ.ใช้คำสั่งนี้ ไม่ให้นักรังสีใช้ ว่าเสี่ยงปานกลาง