ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครอาสาสมัครเข้าโครงการ ChulaCov19 vaccine ระยะที่ 1 เพิ่มเติมสำหรับ”ผู้สูงอายุ” อายุ 56-75 ปี พร้อมรายละเอียดเงื่อนไขเข้าร่วมวัคซีน mRNA ของคนไทย

จากกรณีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทดสอบการฉีดวัคซีนให้กับอาสาสมัครผู้ผ่านการคัดกรองที่มีสุขภาพดีระยะที่ 1 และต่อเนื่องในระยะที่ 2 เพื่อดูการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีน ChulaCov19(จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน)ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล ทีมนักวิจัย เมื่อกลางเดือนมิ.ย.2564 ที่ผ่านมานั้น

(ข่าวเกี่ยวข้อง : ข่าวดี! จุฬาฯ เริ่มฉีดวัคซีน ChulaCov19 ของคนไทยทดลองในมนุษย์ครั้งแรกแล้ว!)

ความคืบหน้าล่าสุดวันที่ 4 ส.ค. 2564 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศด่วนที่สุด! 

เปิดรับสมัครอาสาสมัครสุขภาพดีสำหรับโครงการ ChulaCov19 vaccine ระยะที่ 1 เพิ่มเติม สำหรับ”ผู้สูงอายุ”

โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้

-อายุ 56-75 ปี

-ไม่มีโรคประจำตัว

-ไม่เคยติดเชื้อ covid19

*ไม่เคยได้รับวัคซีน covid19

ผู้ที่สนใจโปรดกรอกข้อมูลเพื่อคัดกรองเบื้องต้นตาม link

http://crc.md.chula.ac.th/redcap/surveys/?s=78T7E7T3DR

*ผู้ที่ผ่านเกณฑ์เบื้องต้นจะได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่โครงการเพื่อคัดกรองการเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาที่เปิดรับสมัคร 3 ส.ค.- 10 ส.ค. 2564

***เริ่มฉีดวัคซีนปลายเดือนสิงหาคม 2564***

กรุณากรอกเบอร์โทรศัพท์ทุกท่านผ่านช่องทางที่กำหนด โดยเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับทางโทรศัพท์เท่านั้น

ภาพจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับวัคซีน ChulaCov19 เป็นการคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทยจากความร่วมมือสนับสนุนโดยแพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ของโลกคือ Prof. Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย วัคซีน ChulaCov19 ผลิตโดยสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา (โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด) ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้เข้าไป จะทำการสร้างเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัสขึ้น (spike protein) และกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียมต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ เมื่อวัคซีนชนิด mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีนเรียบร้อยแล้วภายในไม่กี่วัน mRNA นี้จะถูกสลายไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกายแต่อย่างใด

โดย​ที่ผ่านมาทางศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการทดลองในลิง และหนู ได้ประสบผลสำเร็จ พบว่า สามารถช่วยยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง จึงนำมาสู่การผลิต และทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1ให้กับอาสาสมัครเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2564 เป็นวันแรก โดยแบ่งการทดสอบได้ดังนี้

​การทดสอบในระยะที่ 1 แบ่งออกเป็นสองกลุ่มอายุ จำนวน 72 คน

กลุ่มแรก เป็นอาสาสมัครผู้ที่มีอายุ 18-55 ปี ทดสอบจำนวน 36 คน

กลุ่มที่สอง เป็นอาสาสมัครผู้ที่มีอายุ 65-75 ปี ทดสอบจำนวน 36 คน

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org