ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ด้วยกระแสในโลกออนไลน์เขาว่ากันว่า บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย ไม่มีพิษภัยต่อสุขภาพ สามารถใช้ช่วยเลิกบุหรี่มวนได้ อีกทั้งมีสี กลิ่น รสชาด หลากหลายให้เลือกบวกกับมีโฆษณาในช่องทางสื่อออนไลน์อย่างกว้างขวาง จึงไม่แปลกที่บุหรี่ไฟฟ้าจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้พบว่าสังคมไทยในปัจจุบันโดยเฉพาะกลุ่มนักสูบหน้าใหม่และส่วนใหญ่เป็นเด็ก เยาวชนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีความเชื่อว่า เลิกง่ายกว่าบุหรี่มวน

แต่ความเชื่อนี้ถูกต้องจริงหรือ? เพราะประเด็นเรื่องโทษภัยสุขภาพในบุหรี่ไฟฟ้า ได้มีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาออกมาให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า อันตรายไม่แพ้บุหรี่มวน พร้อมทั้งผลักดันให้รัฐบาลออกนโยบาย “แบน” บุหรี่ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาลด เลิกสูบบุหรี่

ด้วยข้อถกเถียงมากมายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องของบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งเรื่องอยากให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย แต่หากถูกกฎหมายแล้วจะเพิ่มจำนวนผู้สูบยาหรือไม่ หรือในเรื่องของอันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จึงได้ให้ข้อมูลดังนี้ 

ความเป็นมาของการทำงานเกี่ยวกับยาสูบจะพบว่า ในประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับยาสูบ และสำหรับงบประมาณในการดำเนินงานควบคุมยาสูบกระทรวงสาธารณสุขได้ปีละ 10 ล้านบาท แต่เมื่อนำมาใช้จริงกลับพบว่างบประมาณไม่เพียงพอต่อการดำเนินงาน จึงทำให้มองย้อนกลับไปที่ต่างประเทศว่า เขามีวิธีการจัดสรรงบประมาณและดำเนินงานควบคุมยาสูบกันได้อย่างไร

จากการศึกษาพบว่า ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมาย โดยการเอาภาษียาสูบมาสนับสนุนการควบคุมยาสูบและทำงานแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื่อรังอื่น ๆ ต่อมาได้ศึกษาไปเรื่อย ๆ จนพบกับรายงาน 3 ชิ้นที่มีเนื้อหาน่าสนใจ สำหรับการทำงานควบคุมยาสูบ ดังนี้


ในรายงานชื่อ The Lalonde Report (1974) ของกระทรวงสาธารณสุขประเทศแคนาดา ระบุไว้ว่า ในช่วงปี 1970 - 1972 ประเทศแคนาดาติดท้อป 4 อันดับแรกที่มีวิทยาการทางแพทย์ที่ดีที่สุดในโลก และในรายงานนี้ระบุว่า การให้งบประมาณเกี่ยวกับระบบสุขภาพเพิ่มขึ่นปีละ 12 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังพบว่า อัตราการตายก่อนเวลาอันควรด้วยโรคติดต่อไม่เรื้อรัง หรืออุบัติเหตุจราจรไม่ได้มีการลดลง

ดังนั้นจึงได้มีการย้อนกลับมาวิเคราะห์ว่า คนแคนาดาตายหรือสุขภาพดีขึ้นด้วยสาเหตุอะไร ซึ่งจัดออกมาได้เป็น 4 กลุ่ม


 
ถ้าหากต้องการลดจำนวนคนเจ็บ คนตาย และลดงบประมาณ ก็จะต้องไปจัดการด้านอื่น กล่าวคือ ต้องไปจัดการกับวิธีการดำเนินชีวิตของผู้คน เมื่อมองย้อนกลับไปประเทศแคนาดาในปี 1974 ไม่มีกฎหมายควบคุมยาสูบ (เริ่มมีการใช้กฎหมายยาสูบปี 1988) ฉะนั้นในรายงานนี้จึงข้อสรุปว่า สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก ๆ คือ ต้องจัดการกับวิถีชีวิตหรือพฤติกรรมของคนกับสิ่งแวดล้อม เมื่อได้ศึกษาและวางต้นแบบแล้ว โจทย์ต่อไปก็คือความยากในการอธิบายให้กับสังคมเข้าใจ โดยเฉพาะผู้กำหนดนโยบาย ถ้าหากต้องการวางยุทธศาสตร์ที่จะอยู่ได้ต่อไปอีก 10 ปีหรือ 20 ปีคู่กับสังคมไทยสร้างเสริมสุขภาวะในสังคมไทย เราจะขับเคลื่อนให้อยู่รอดอย่างงดงามได้อย่างไร

สำหรับประเด็นของเรื่องของยาสูบนั้นพบว่า ได้ผลตอบรับที่ดีขึ้นจากที่แต่เดิมไม่มีหน่วยงานไหนดูแลและไม่มีงบประมาณ แต่ในปัจจุบันได้มีภาคีเครือข่ายเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น และก็มีข้อกฎหมายออกมาควบคุม อย่างไรก็ตาม กลับเจออุปสรรคจากกลุ่มนักวิชาการไปจนถึงกลุ่มนักการเมืองโจมตีว่า งบประมาณที่เอามาใช้ในการทำงานในยาสูบนั้นได้ผลตอบรับไม่คุ้มค่า และได้ตั้งคำถามว่าทำไมไม่เอางบประมาณส่วนนี้ไปสร้างโรงพยาบาลเพิ่มเติมแทน


  

ดังนั้นจึงได้นำผลการดำเนินงานที่ได้คำนวณสถิติไปเสนอให้ดู ซึ่งสถิติดังกล่าวระบุว่า จำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงไปถึง 8.34 ล้านคน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับสถิติจำนวนผู้ตายก่อนเวลาอันควรแล้วพบว่า มีคนจำนวน 4 ล้านคน ป่วยแล้วตายก่อนเวลาอันควร หากจะบอกว่า งบประมาณเกี่ยวกับยาสูบได้ผลตอบรับไม่คุ้มค่าก็คงจะไม่ได้

ย้อนกลับไปในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้มีการจัดสัมมนาในกลุ่มแวดวงธุรกิจ และเอกสารนี้หลุดรอดออกมา โดยมีวัตถุประสงค์ว่าจะทำยังไงที่จะไม่ให้กองทุนนี้ยังอยู่ต่อ ซึ่งได้มีการกล่าวลือว่า ได้มีการวิ่งเต้นดำเนินเรื่องในสภามาแล้วเป็นระยะเวลา 4 -5 ปี แต่ดำเนินการไม่เสร็จสักที เมื่อทำส่วนนี้ไม่สำเร็จ จึงต้องมาจัดการกับองค์กร หรือ กระทรวงสาธารณสุขว่าจะทํายังไงให้ภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนไม่รับเงินจากสสส. ซึ่งปัญหานี้น่ากลัวมาก

ส่วนกรณีบุหรี่ไฟฟ้า มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนมากน้อยแค่ไหน เพราะ อย. อเมริกาได้ออกมาอนุมัติให้ใช้ได้ แลมีอีกหลาย ๆ ประเทศออกมาอนุมัติให้ใช้ด้วยเช่นกัน เพราะเห็นด้วยกับเนื้อหาที่ อย. อเมริกา สื่อสารออกมาว่า บุหรี่ที่ไม่มีการเผาไหม้จะทำให้เกิดสารเคมีอันตรายน้อยลง ทำให้ร่างกายได้รับสารเคมีอันตรายน้อยลงไปด้วย แต่ทางองค์กรอนามัยโลก (WHO) ออกมาแถลงว่า สารพิษบางชนิดในบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายกว่าบุหรี่ม้วนและพบว่ามีสารพิษบางชนิดที่บุหรี่ม้วนไม่มี

“Hfocus” ได้มีโอกาสได้พูดคุยถึงประเด็นดังกล่าวกับ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ซึ่ง นพ.ประกิต เล่าว่า สำหรับข้อนี้ไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือมันไปยิ่งไปเชิญชวนให้เด็กและเยาวชนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ เข้ามาติดบุหรี่ไฟฟ้า ในส่วนที่ทาง อย. อเมริกาที่ออกมาอนุมัตินั้นมองว่า เพราะมันเป็นมันสังคมแบบอเมริกา เมื่อคนในประเทศติดบุหรี่ไปแล้วหลายล้านคน เขาจึงค่อยมาแก้ปัญหา

อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงดิจิทัลฯ หรือ ดีอีเอส กำลังพิจารณาสนับสนุนให้กลายเป็นสินค้าถูกกฎหมาย แล้วออกข้อกฎหมายภควบคุมแทน เนื่องจากว่าการซื้อขายเถื่อนเกลื่อนออนไลน์ ถ้าเอามาทำให้ถูกกฎหมายออกข้อบังคับชัดเจน อาจจะช่วยลดปัญหาการลักลอบซื้อ-ขาย และการเสพติดในหมู่เยาวชนได้ดีมากขึ้น เมื่อลองมองอีกด้าน นี่อาจจะเป็นช่องว่างที่ทำให้มีเฟคนิวส์เกี่ยวบุหรี่ไฟฟ้าออกมาไม่หยุดหรือไม่

นพ.ประกิต กล่าวว่า เมื่อมองย้อนกลับมาบ้านเราทรัพยากรในการควบคุมยาสูบมันยังไม่มีเลย จึงเคยได้มีการยกตัวอย่างว่า โครราชมีคนสูบบุหรี่ 450,000 คน แต่ไม่มีใครมาทำงานด้านการดูแลควบคุมยาสูบเลย หากเติมบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาจะยิ่งเป็นปัญหามากขึ้น หากบอกว่าจะเอาอย่างต่างประเทศ อย่าง อเมริกา อังกฤษ นั้นก็คงไม่ได้ เพราะประเทศเขามีงบประมาณเป็นหมื่นล้านเพื่อควบคุมยาสูบ กลไลการดำเนินการควบคุมเขาสามารถเอาอยู่ แต่ประเทศไทยนั้น ไม่มี นี้จึงเป็นประเด็นที่ได้มีการคัดค้าน เนื่องจากระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศมันไม่เท่ากัน โครงสร้างในการควบคุมไม่เหมือนกันซึ่งจะเอามาอ้างเพื่อจะทำตามกันนั้นไม่ได้ ผมได้ถามว่า ทำไมนักการเมืองไม่ผลักดันให้ที่โคราชมีคนมาทำงานควบคุมยาสูบก่อน จากจำนวนคนสูบบุหรี่ 450,000 คน ที่ได้มีการบังคบใช้กฏหมาย ควบคุมโฆษณา ควบคุมการซื้อขายตามช่องทางต่าง ๆ แล้ว ก็ไม่มีใครทำ