ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กรมการแพทย์ย้ำ!  ภาพรวมอัตราครองเตียงสีแดงลดลง ส่วนสีเหลืองเพิ่มขึ้นจาก 1,681 เป็น 3,095 เตียง กทม. เพิ่มจาก 513 เป็น 1,246 เตียง  และ ระดับ 1  สีเขียว ภาพรวม เพิ่มขึ้นจาก 33,935 เป็น 43,506 เตียง กทม. เพิ่มจาก 6,950 เป็น 10,471 เตียง  ยังคงเน้นนโยบาย HI/CI First 

 

เมื่อวันที่ 14  ม.ค. 2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ แถลงข่าวสถานการณ์เตียงรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในภาพรวมประเทศ ว่า แนวทางการนำผู้ติดเชื้อโควิดเข้าระบบริการ  3 รูปแบบ คือ 1.สถานพยาบาล/หน่วยตรวจเชิงรุก ที่จะประเมินอาการและรับผู้ป่วยเข้าระบบเอง  2.การตรวจด้วยตัวเองที่บ้าน Self ATK ถ้าติดบวกให้ติด 1330 เพื่อแยกกักที่บ้าน(HI) โดย เลขาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) รายงานว่ายังไม่พบปัญหาการรับสาย ส่วนหนึ่งได้ลงทะเบียนผ่านไลน์ @nhso ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถติดต่อคอลเซ็นเตอร์ระดับจังหวัดได้ และ 3.ผู้ป่วยสงสัยติดเชื้อ

ทั้งนี้ ย้ำว่า ผู้ติดเชื้อโอมิครอนกว่าครึ่งไม่มีอาการ มีอาการน้อย 30% ซึ่งส่วนนี้จะเข้าระบบแยกกักที่บ้านและศูนย์พักคอยในชุมชน(Home and Community Isolation First) ได้ หากอาการเปลี่ยแปลงก็จะได้รับการส่งต่อ เมื่อแยกกักครบ 10 วันก็กลับบ้านได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกำลังหารือเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีรับมือโอมิครอนในส่วนนี้ แต่โดยหลักยังเหมือนเดิม คือ ผู้ตรวจ ATK แล้วได้ลบ แต่หากมีอาการให้ไปคลินิกทางเดินหายใจในสถานพยาบาล(ARI Clinic) เพื่อเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโดยแพทย์ ส่วนผู้ไม่มีอาการ แต่มีความเสี่ยงสูงจะต้องแยกกักตัวเองที่บ้าน ตรวจ ATK ซ้ำทุก 3 วันหรือเมื่อมีอาการ  

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เราจัดผู้ติดเชื้อที่เข้าระบบ HI/CI อยู่ในเตียงระดับ 0 โดยระดับ 1-3 จะเป็นผู้ป่วยที่เข้ารพ.และฮอสปิเทล(Hospitel) โดยเรานำจำนวนเตียงเมื่อในวันที่ 9 ม.ค. กับ 13 ม.ค.64 มาเปรียบเทียบกัน จะเห็นว่ามีการใช้เตียงระดับ 3 สีแดง ภาพรวมประเทศลดลง จาก 213 เตียง เหลือ 182 เตียง เฉพาะกทม. คงที่ที่ 25 เตียง  ระดับ 2 สีเหลือง ภาพรวมใช้เพิ่มขึ้นจาก 1,681 เป็น 3,095 เตียง กทม. เพิ่มจาก 513 เป็น 1,246 เตียง  และ ระดับ 1  สีเขียว ภาพรวม เพิ่มขึ้นจาก 33,935 เป็น 43,506 เตียง กทม. เพิ่มจาก 6,950 เป็น 10,471 เตียง

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า สถานการณ์เตียงผู้ป่วยที่ต้องให้ออกซิเจนใน รพ.ราชวิถี 66 เตียง ช่วงก่อนที่โอมิครอนเข้ามาครองเตียง 12 เตียง ว่าง 54 เตียง  เมื่อหลังจากโอมิครอนเข้ามา รพ.ราชวิถี เพิ่มเป็น 88 เตียง ขณะนี้ครองเตียง 44 เตียง ว่าง 44 เตียง ดังนั้น หากถามว่าการครองเตียงใน รพ.เพิ่มขึ้นหรือไม่ คือเพิ่มขึ้น แต่สามารถรองรับได้ แต่ทั้งหมดต้องขอความร่วมมือภาคีเครือข่ายในกทม. ว่า 1.เราเน้นนโยบาย HI/CI First ซึ่งผู้ว่ากรุงเทพฯ เตรียม CI ไว้กว่า 5 พันเตียง แต่มีคนครองเตียงไม่ถึงพัน   2.ขอร้องสถานพยาบาลติดต่อกลับจาก 1330 ภายใน 6 ขั่วโมง ซึ่งสังกัดกรมการแพทย์ทำได้ นำเข้าผู้ติดเชื้อในระบบ HI วันละ 200 ราย ย้ำว่า ต้องมีการเทเลเมดดิซีน(Telemedicine) วันละ 1 ครั้ง หากอาการแย่ลงต้องส่งต่อไปยัง รพ.ทันที

“ขอร้องสถานพยาบาลทุกแห่งให้รับผู้ป่วยเด็ก ตอนนี้ทางสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี(รพ.เด็ก) จัดเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ ให้เป็นที่ปรึกษา  HI/CI และ รพ.เด็กทุกแห่ง ทั้งโซนกทม.และทั่วประเทศ ร่วมมือโรงเรียนแพทย์ เพื่อดูแลผู้ป่วยเด็ก จึงขอให้ทุกคนร่วมใจพาไทยฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

 

ข่าวเกี่ยวข้อง : 

สธ.ลดวันกักตัวกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงเหลือ 7 วัน  รอกรมควบคุมโรคประกาศทางการ!

สธ.เตรียมพิจารณาลดระดับเตือนภัยโควิด พร้อมเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 พื้นที่ SandBox

คร.ประมวลผลศึกษาวัคซีนโควิดทุกสูตร พร้อมไล่เรียงลำดับการฉีดชนิดไหนมาก่อนมาหลัง..

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org