ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

"เครือข่ายสาธารณสุขไทยห่วงใยพี่น้องประชาชน" นำโดยนายประพันธ์ ใยบุญมี สาธารณสุขอำเภอสองพี่น้องจังหวัดสุพรรณบุรี นายจอมชัยคงมณีกาญจน์ กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนผู้ประสานงาน เข้ายื่นหนังสือต่อ ท่านจุติ ไกรฤกษ์ ฯพณฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)  รวมด้วยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตัวแทนพยาบาลวิชาชีพและเครือข่ายองค์กรชุมชนของภาคเหนือตอนล่าง เรื่องขอชะลอการถ่ายโอน รพ.สต.

วันที่ 6 มีนาคม 2565 เนื่องด้วยทางสมาชิกวุฒิสภาและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องอยากให้มีการทดลอง sandbox โดยให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย  ผวจ./นายกอบจ./สสจ./อสม./ประชาชน/ภาคเอกชน/ประชาคม มาคุยกันเรื่องระบบตั้งแต่รพสต./รพช/.รพศ.ว่าจะเชื่อมโยงสัมพันธ์อย่างไร บทบาทสสจ./สสอ./ท้องถิ่นจะเป็นอย่างไร ให้รู้ข้อมูลทุกอย่างทั้งเรื่องงบประมาณ/งบ uc เรื่องคน เงิน ต้องออกแบบให้มีธรรมาภิบาลเพื่อป้องกันไม่ให้มีการสั่งการที่ไม่ชอบต่อจนท. บริหารอย่างมีส่วนร่วม collaborative governance

โดยเนื้อหาได้ระบุไว้ดังนี้ ตามที่คณะกรรมการการกระจายอํานาจฯ มีมติให้มีการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) และ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา (สอน.) ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) จํานวน กว่า 3,000 กว่าแห่ง ใน 49 จังหวัด การถ่ายโอน ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ดังที่ทราบแล้ว นั้น (ตามเอกสารที่แนบ)

ซึ่งบางรพ.สต., สอน. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ สอน. มีการโอนย้ายไปเพียงบางส่วนเท่านั้น สําหรับที่ไปทั้งหมดนั้นไม่มีปัญหา แต่เจ้าหน้าที่ที่มิได้ถ่ายโอนไปสังกัด อบจ.ที่เหลือ จําเป็นต้องหาที่ทํางานใหม่ ซึ่งเป็นการทําลายขวัญและกําลังใจในการปฏิบัติงานพื้นที่ทํามานาน บางคนเป็นคนในพื้นที่ การย้ายไปทํางานต่างพื้นที่นั้น จึงมีความยุ่งยากและสร้างความเดือดร้อน บางแห่งมีข้อมูลการบังคับข่มขู่ เสนอว่าจะให้ ในกรณีที่จะให้ไปทดลองงาน กัน อบจ. อย่างน้อย 6- 12 เดือน นั้น รวมถึงประเด็นปัญหาการถ่ายโอนครั้งนี้มีความเร่งรีบ ทั้งๆที่กฎหมายมีมาเกิน 20 ปี เป็นที่กังขาของคณะทํางานฯ เป็นอย่างมาก

ดังนั้น เครือข่ายสาธารณสุขไทย ห่วงใยพี่น้องประชาชน รับทราบประเด็นปัญหาต่างๆ มาแล้ว และ ได้สรุปปัญหาต่างๆ พอสังเขป ดังนี้

1. Structure โครงสร้างการบริหารจัดการงานสาธารณสุข ของ อบจ. มีความพร้อม จริงหรือไม่ อย่างไร มีการวางแผนแก้ไขปัญหาในกรณีเจ้าหน้าที่ในตําบลฯ ย้ายไม่หมดทั้งสํานักงานฯ ได้อย่างไร

2. Staff บุคลากรของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.สอนที่ถ่ายโอนไปเพียงบางส่วนจะสามารถปฏิบัติงานได้ดี เพียงโต และจะเกิดปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ อย่างไร ได้เตรียมการแก้ปัญหาไว้อย่างไร

3. System ระบบการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย สามารถ ทําได้ดีเพียงใต เครือข่ายสาธารณสุขไทย ห่วงใยพี่น้องประชาชน ได้รับทราบปัญหาดังกล่าวฯ ในแต่ละพื้นที่ ทําให้ รู้สึกเป็นกังวลต่อมาตรการต่างๆ ในการถ่ายโอนภารกิจ รพ.สต. สอน. ไปยัง อบจ. ในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง เกรงว่า จะกระทบต่อระบบบริการสุขภาพของพี่น้องประชาชน จึงขอเรียกร้องมายังประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ได้โปรดพิจารณาทบทวนการถ่ายโอนรพ.สต. สอนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

 

ทั้งนี้ แกนนำเครือข่ายสาธารณสุขไทยฯ ได้เห็นว่า ระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อพม.(ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ "พม.)  ที่ทำงานสอดประสานกันได้อย่างดี บางครั้งอพม. และ อสม. คือคนเดียวกัน จึงอยากให้ทำงานในแนวระนาบเดียวกัน  ทางเครือข่ายสาธารณสุขไทยฯ จึงยื่นหนังสือผ่านทาง "ฯพณฯ รมว.พัฒฯาสังคมฯ" ให้ยื่นข้อเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข,  สำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจ เพื่อให้ชะลอการถ่ายโอนรพ.สต. และให้มีการทำ Sandbox ในเขตบริการสุขภาพทั้ง 12 เขต

ตามที่ทางเครือข่ายสาธารณสุขไทยฯ ยื่นหนังสือไปยัง สำนักนายกรัฐมนตรี และ ประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา  และมายื่นหนังสือกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ผ่าน สส.บัญญัติเจตนจันทร์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา พร้อมเข้าร่วมประชุมนำเสนอแก่คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565. เป็นต้น  

 

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง รวมข่าวถ่ายโอน รพ.สต. สู่ ท้องถิ่น

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org