ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง จำนวนผู้ป่วยใหม่ ผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเด็กๆ ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น สร้างความกังวลให้กับผู้ปกครอง ในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการนำบุตรหลานมารอคิวที่โรงพยาบาลซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อรอเข้าสู่กระบวนการเป็นจำนวนมาก การดูแลอาการ ผลกระทบในระยะยาวหรือ Long Covid

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม สำนักข่าว Hfocus ร่วมกับกองทุนเพื่อคว่ามเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข UNICEF ไทยพีบีเอส สํานักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และคลองเตยดีจัง จัดเสวนาออนไลน์ผ่านเฟชบุคไลฟ์ ‘ปิดเทอมใหญ่ รับมือโอมิครอนอย่างไร ?’ โดยมี นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ หัวหน้างานโรคติดเชื้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เป็นวิทยากร เพื่อให้ข้อมูลการป้องกัน การดูแล รวมทั้งแนะนำระบบ Line Official Account ที่จะช่วยให้คำแนะนำให้ผู้ปกครองสามารถดูแลบุตรหลานซึ่งอยู่ที่บ้านได้

เวทีเสวนาเริ่มจากนพ.สมศักดิ์เปิดให้เห็นถึงสถานการณ์เด็กติดเชื้อในช่วงที่ผ่านมาว่า จากปี 2564 ที่ผ่านมา จำนวนเด็กที่ติดเชื้อมีมากขึ้น เนื่องจากเด็กๆ เป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนหลังสุด โดยในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธ์อัลฟา เดือนเมษายน-มิถุนายน 2564 กลุ่มผู้ป่วยเด็กมีจำนวนน้อย แต่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในช่วงสายพันธ์เดลตา และลดลงหลังได้รับวัคซีน แต่ก็เพิ่มสูวขึ้นอีกในช่วงการระบาดของสายพันธ์โอมิครอน เดือนมกราคมเป็นต้นมา แต่เด็กที่ติดเชื้อส่าวนใหญ่มักมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ หรือมีอาการคล้ายโรคอื่น เช่นในช่วงนี้คือไข้เลือดออก ซึ่งผู้ป่วยเด็กในกลบุ่มนี้สามารถกักตัวดูอาการที่บ้านหรือ home isolation ได้ หายป่วยได้ดี อาการไม่ต่างกับผู้ใหญ่ ที่น่ากังวลคืออาการไข้สูงควรพาไปโรงพยาบาล ถ้าเด็กต่ำกว่า 1 ปีสามารถพาไปตรวจคัดกรองไว้ก่อนได้ ในเด็กอาจมีอาการรุนแรงได้ คือเด็กที่มีโรคกลุ่มเสี่ยง โรคอ้วน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ หลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง มะเร็ง เบาหวาน

“พ่อแม่ควรช่วยติดตามข่าวสาร การที่ให้พ่อแม่เป็นคนดูแล (เป็นหมอ) คือพ่อแม่มีความใกล้ชิดมากกว่าอาการเด็กไม่หนักไม่ต้องนอนโรงพยาบาล หมอก็ไม่ควรเบื่อที่จะอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจ เด็กต่ำกว่า 1 ปีขอให้ไปคัดกรองก่อน ถ้าไม่มีอะไรก็อยู่บ้าน เตียงของสถาบันเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีความสามารถรับเด็กได้สบาย ๆ แต่เด็กก็ไม่ค่อยได้เข้าโรงพยาบาลอยู่แล้วเพราะอาการไม่หนัก ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่เตียงเราก็รับได้” อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวถึงการรับผู้ป่วยเด็กเข้าในสถานพยาบาล

(นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์)

ด้าน พญ.วารุณี ในฐานะแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยเด็กโดยตรงก็ยืนยันเช่นเดียวกันว่า 90 % ของผู้ป่วยเด็กจัดเป็นกลุ่มสีเขียวซึ่งติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ ไม่อันตรายมาก สามารถกักษาตัวแบบ Home Isolation ได้ แต่สิ่งที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองต่างกังวลเมื่อเด็กติดเชื้อก็คือเด็กมักมีอาการต่างๆ

“เด็กอาจจะไอเยอะ มีหวัดเยอะ เด็กภูมิคุ้มกันต่างกับผู้ใหญ่ ระบบแรกที่ติดตัวมามันจะทำงานได้ดีในเด็ก ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของเด็กแข็งแรงกว่าผู้ใหญ่ในจุดนี้ ระบบที่สองคือเกิดจากประสบการณ์การได้รับเชื้อต่าง ๆ ซึ่งผู้ใหญ่จะมีมากกว่า ภูมิคุ้มกันผู้ใหญ่หลั่งอินเตอร์เฟียรอนไม่ดีเท่าเด็กเลยอาการแย่กว่า ให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนเต็มที่จะฟื้นตัวเร็วกว่า เด็กจะไข้สูงอยู่ 2 วันแล้วดีขึ้น หมอจะรักษาที่พิษจับไข้ ไม่ใช่ไข้ ถ้าเด็กมีไข้ก็ให้พักผ่อนไป เป็นกลไกของร่างกาย” พญ.วารุณีกล่าว

หัวหน้างานโรคติดเชื้อ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี อธิบายถึงอาการของเด้กที่ติดเชื้อโควิด ซึ่งบางรายมีอาการที่ทำให้น่ากังงวล แต่หากพ่อแม่ผู้ปกครองรู้วิธีการดูแลก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้โดยไม่ต้อวมาโรงพยาบาล

(พญ.วารุณี พรรณพานิช วานเดอร์พิทท์)

“ลูกไม่ทานข้าว นอนซม อาเจียน อย่างที่บอกไปว่าไข้สูงก็ต้องมานอนโรงพยาบาลนะ ไข้สูงก็จริง แต่ถ้าให้ยาลดไข้ ดื่มน้ำบ่อย ๆ ให้ปัสสาวะใส บางทีไข้ลงก็ไม่เป็นไร อุณหภูมิ 39 องศาฯ อินเตอร์เฟียรอนหลั่งดี ฟื้นตัวเร็ว แต่ถ้าไม่ปัสสาวะใน 6 ชั่วโมง อาเจียน ถ่ายเหลว อันนี้อาจจะเป็นข้อบ่งชี้ว่าต้องมานอนโรงพยาบาลเพราะมีการขาดน้ำ แต่ที่ช่วงแรก ๆ ไม่ทานน้ำและอาเจียนนี่คืออาการปกติของโควิดในเด็ก เด็กจะกินข้าวไม่ได้ใน 2-3 วันแรก เป็นอาการปกติของร่างกาย”

สำหรับวิธีการดูแลเด็กที่ติดเชื้อโควิด พญ.วารุณีแนะนำให้ใช้ Line Official Account โดยเพิ่มเพื่อน(แอดไลย์) COVID QSNICH / Line id : @080hcijL เพื่อให้แพทย์ประเมินว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนแล้วจะได้มีการประสานงานต่อไป

“มีไลน์ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือเด็กและครอบครัวในสถานการณ์โควิด เพราะบางครอบครัวอาจเข้าไม่ถึงการรักษา ใน Line Official หมอจะขอให้ถ่ายเด็กตอนนอนหงายมาเพื่อดูว่าการหายใจเป็นอย่างไร มีวิธีการวัดจังหวะหายใจ แล้วจะมีการประเมินจากแพทย์ ดูทั้งตอนเด็กตื่นว่าแอคทีฟมั้ย ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางการแพทย์ด้วย”

สำหรับบางครอบครัวซึ่งไม่สะดวกที่จะดูและเด็กที่ป่วยโควิดด้วยวิธี Home Isolation นพ.สมศักดิ์ได้แนะนำว่า สามารถเข้ามายัง Community Isolation ได้ ซึ่วกรมการแพทย์ได้เตรียมการเรื่อวนี้ร่วมกับกทมงไว้แล้ว

“ได้ประเมินไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน 2564 แล้วว่า การระบาดครั้งต่อไปต้องระวังในกลุ่มเด็กๆ เพราะไม่ได้ฉีดวัคซีน ได้แจ้งให้ทางสถาบันสุขภาพเด็กเตรียมทำ Community Isolation และเตรียมประสานกับทางกทม.ซึ่งเตรียมไว้ที่เกียกกาย รวมทั้วตกลงกับกทม.ไว้ว่า อย่าวน้อยทุกโซนต้องมี Community Isolation สำหรับเด็ก ถ้าไม่พร้อมจะอยู่บ้านก็มา Community Isolation อาจจะไม่สะดวก แต่ในช่วงวิกฤติจะให้สะดวกสะบายคงทำได้ยาก ทำอย่างไรจึงจะให้ประเทศเดินไปได้ โดยการแพร่เชื้อไม่เกินกำลังของภาคสาธารณสุข การทำ OPD Home Isolation Community Isolation ทำให้เตียงในโรงพยาบาลสามารถรองรับผู้ป่วยหนักโรคอื่นๆ เข้ามาได้ เพราะที่ผ่านมาโควิดทำให้ผู้ป่วยโรคอื่นๆ เสียโอกาสไปด้วย มะเร็ง โรคหัวใจ ถูกเลื่อนผ่าตัด” อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวถึงการรักษาผู้ป่วยทุกโรคที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลในโรงพยาบาล

นอกจากการดูแลรักษาแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นความกังวลคือภาวะ Long Covid และ ภาวะ Mis-C หรือภาวะอักเสบทั่วร่างกายในเด็กหลังหายจากโควิด ซึ่งนพ.สมศักดิ์อธิบายว่า ถ้าเด็กไข้สูงและไข้ไม่ลงแล้วมีผื่นทั้งตัว หรือร่วมกับอาการอื่น ๆ ซึม ช็อก ไม่รู้ตัว ง่าย ๆ คือมีไข้แล้วมีอาการร่วม อาการร่วมที่เจอบ่อยคือผื่น ขอให้ผู้ปกครองตระหนักไว้ก่อนว่าต้องพบแพทย์ สอบถามในไลน์หรือวิดีโอคอลมาปรึกษาแพทยืได้ ถ้าไม่มีอาการตามนี้โอกาสเกิด Mis-C น้อย ถ้ามาโรวพยาบาลได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก็รักษาได้

ด้านพญ.วารุณีเน้นย้ำว่า อยากให้เห็นความสำคัญของการพาเด็กไปฉีดวัคซีน หากไม่ฉีดเด็กอาจมีอาการรุนแรงต้องเข้าโรงพยาบาล ต้องแย่งเตียงของเด็กที่ป่วยด้วยโรคอื่น พ่อแม่ที่ลังเลให้ลูกฉีดวัคซีน ก็ต้องชั่งน้ำหนักและพิจารณาดูว่าข้อดีข้อเสียแบบไหนคุ้มกว่า

นพ.สมศักดิ์กล่าวเสริมในประเด็นนี้ว่า พ่อแม่ต้องประเมินความเสี่ยงเอง ถ้าติดโควิดโอกาสรุนแรงก็มีอยากให้ฉีดวัคซีนมากกว่า เคสเด็กบางคนที่มีโรคแล้วติดโควิดจะเมีอาการหนัก ถ้าโรคมีโรคร่วมแนะนำให้ฉีด ผลที่เด็กฉีดวัคซีนไม่รุนแรง ไม่ค่อยมีอะไร แค่มีไข้ ปวด บวม อาการรุนแรงมีน้อยมาก

นอกเหนือไปจากการฉีดวัคซีน การดูแลรักษาเมื่อป่วยแล้ว คำถามสำคัญอีกประการหนึ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองกังวลกันมาก นั่นคือ ต้องทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ลูกหลานที่รักต้องติดเชื้อโควิด ซึ่งพญ.วารุณีแนะนำว่า ต้องมีการปรับตัว พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นหมอที่จะดูแลลูกอยู่ที่บ้าน โดยให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพ ติดตามข่าวสาร และพัฒนาทักษะต่างๆ ในการดูแลป้องกัน

ด้านนพ.สมศักดิ์กล่าวว่า การป้องกันมีหลายปัจจัย เช่นพ่อแม่ไปทำงานนอกบ้านกลับมาก็อาบน้ำสระผม พาลูกไปฉีดวัคซีนต้องสู้ไปด้วยกันทั้งครอบครัว ให้ทำเท่าที่ทำได้ อาจจะไม่มีอะไรที่แก้ได้ 100 % แต่ก็ดีที่ป้องกันไว้ก่อน ทางกรมการแพทย์พยายามนำข้อเท็จจริง(facts) ต่างๆ มาแจ้งให้ทราบเพื่อเปลี่ยนความตระหนกเป็นความตระหนัก จึงควรติดตามข่าวจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก