ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

Drug liberalization กำลังเป็นคำที่เป็นกระแส แม้ว่ามันจะมีประวัติศาสต์ที่ยาวนานพอสมควรแล้ว มันคือ กระบวนการของนโยบายเกี่ยวกับยาเสพติดในการลดทอนความเป็นอาชญากรรมหรือการทำให้การใช้หรือการขายยาต้องห้ามกลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย โดยผู้เสนอให้เปิดเสรียาเสพติดสนับสนุนระบอบการกำกับดูแลสำหรับการผลิต การตลาด และการจำหน่ายยาที่ผิดกฎหมายบางส่วนหรือทั้งหมดในปัจจุบันในลักษณะที่คล้ายคลึงกับแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และยาสูบ

ผู้เสนอการเปิดเสรียาเสพติดให้เหตุผลว่าการทำให้ถูกต้องตามกฎหมายของยาเสพติดจะขจัดตลาดยาที่ผิดกฎหมายและลดต้นทุนการบังคับใช้กฎหมายและอัตราการกักขัง (1) กลุ่มนี้มักโต้แย้งว่าข้อห้ามของยาเสพติดเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น กัญชา, ฝิ่น, โคเคน, แอมเฟตามีน และยาหลอนประสาท เป็นการห้ามที่ไม่ได้ผลและแถมยังเป็นเหมือน "ยิ่งห้ามยิ่งยุ" และควรแก้ปัญหาด้วยการใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อลดอันตรายของยาเสพติดและเพิ่มความพร้อมในการบำบัดการติดยาเสพติด 

พวกเขาชี้ว่า สารเสพติดบางอย่าง เช่น แอลกอฮอล์ ยาสูบ และคาเฟอีน เป็นส่วนดั้งเดิมของหลายวัฒนธรรมมานานหลายศตวรรษและยังคงถูกกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่ แต่ทว่า ว่าสารเสพติดอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายน้อยกว่าแอลกอฮอล์ คาเฟอีน หรือยาสูบ กลับเป็นสิ่งต้องห้ามโดยสิ้นเชิง โดยมีการครอบครองโดยมีโทษทางอาญาร้ายแรง

นอกจากนี้ เฉพาะในสหรัฐอเมริกา ขบวนการ Drug liberalization ยังมุ่งโจมตีกฎหมายที่เป็นผลมาจาก "สงครามต่อต้านยาเสพติด" เป็นพิเศษ เพราะกฎหมายและการใช้กฎหมายที่สือบเนื่องมาจาก "Drug War" ของรัฐบาลกลาง ส่งผลให้ผู้เสพและผู้ค้าถูกปฏิบัติจากกฎหมายอย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่ผู้เสพไม่ควรได้รับการปฏิบัติอย่างหนักหน่วงจากกฎหมาย ยังไม่ต้องพูดถึงว่าการใช้ยาเสพติดหลายๆ อย่างไม่ควรเป็นอาชญากรรมด้วยซ้ำ

เพื่อความเข้าใจที่ถ่องแท้มากขึ้นของขบวนการนี้ จะขอยกประเด็นที่เสนอโดยกลุ่ม Drug Policy Alliance ซึ่งเป็นเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในนครนิวยอร์กที่มุ่งพัฒนานโยบายที่ “ลดอันตรายจากการใช้ยาและการห้ามใช้ยา และเพื่อส่งเสริมอำนาจอธิปไตยของบุคคลเหนือจิตใจและร่างกาย” (2) และองค์กรนี้ให้ความสำคัญกับการลดบทบาทของการทำให้เป็นอาชญากรในนโยบายเกี่ยวกับยา การสนับสนุนกฎระเบียบทางกฎหมายของกัญชา และการส่งเสริมนโยบายด้านยาที่เน้นด้านสุขภาพ 

ในบทความเรื่อง "ตำรวจและสงครามยาเสพติด" (Policing and the Drug War) ในเว็บไซต์ของ Drug Policy Alliance  ระบุว่า "ในการไล่ตามยาเสพติด ตำรวจได้รับอำนาจที่ไม่ถูกตรวจสอบเพื่อใช้ยุทธวิธีที่ก้าวร้าว ซึ่งในบางกรณีมากเกินไปนำไปสู่การสังหาร โดยเฉพาะคนผิวดำและชาวละติน ... และได้รับมอบอำนาจให้ยึดทรัพย์สินจากบุคคลที่สงสัยว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างถาวร หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายใช้เงินทุนของรัฐบาลจำนวนมหาศาล และงบประมาณที่ล้นเกินของพวกเขาได้รับการพิสูจน์แล้วโดยสถิติที่มีสาเหตุมาจากการจับกุมผู้เสพยา" (3)

การตั้งแง่ว่ายาเสพติดทุกอย่างคือภัยสังคม ทำให้รัฐมอบอำนาจกับตำรวจมากเกินไปในการทำสงครามกับยาเสพติด จนกระทั่งมันกลายเป็นสงครามกับประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่ยากจนและด้อยโอกาสและถูกเหยียดเชื้อชาติ นอกจากปัญหายาเสพติดจะไม่ถูกแก้ไขแล้ว มันยังลุกลามกลายเป็นการกดขี่ทางเชื้อชาติ การให้อำนาจรัฐมากเกินไปในส่วนที่ผิด (แทนที่จะเน้นการบำบัดเชิงสาธารณสุขกลับมาให้อำนาจฝ่ายปกครอง)

ทำให้สหรัฐอเมริกามีปัญหาคุกล้น และคนที่เสพยาเมื่อติดคุกแล้วก็หมดโอกาสในการได้รับชีวิตที่ดี เมื่ออกมาแล้วต้องวนเวียนกับวิถีชีวิตเดิมๆ ต่อไป เป็นวัฏจักรแห่งความเลวร้ายที่กัดกินสังคมยิ่งกว่ายาเสพติดเสียอีก ทางกลุ่ม จึงผลักดันว่า "เราต้องเปลี่ยนนโยบายยาเสพติดโดยพื้นฐานจากรูปแบบการลงโทษเป็นนโยบายที่มีรากฐานมาจากสุขภาพ ความเห็นอกเห็นใจ และความเป็นอิสระ เราต้องเสริมสร้างระบบความรับผิดชอบของตำรวจ จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณเพื่อทำให้ชุมชนปลอดภัยยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องให้ตำรวจเข้ามาเกี่ยวข้อง และยกเลิกกฎหมายที่อนุญาตให้ตำรวจกดขี่" (3)

Drug Policy Alliance ยังให้รายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางเลิกเอาผิดคนเสพยา (ด้วยกฎหมาย) และหันมาสนับสนุน (ด้วยระบบสาธารณสุข) แทน โดยยกรณีศึกษาของรัฐออรีกอนที่มีนโยบายยาเสพติดไม่ผิดกฎหมาย โดยสำรวจสถานการณ์หลังจากผ่านมา 1 ปี (พ.ศ. 2564) ข้อมูลจากคณะกรรมการความยุติธรรมทางอาญาของออริกอนประมาณการว่ากาเลิกเอาผิดคนเสพยาจะส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางเชื้อชาติลดลง 95% อันเป็นผลมาจากการจับกุมยาเสพติด และ "การยกเลิกบทลงโทษทางอาญาสำหรับการครอบครองยาเสพติด ทำให้มีชาวโอเรกอนจำนวน หลายพันคน (ตามข้อมูลการจับกุมก่อนหน้า) ในปีนี้ สามารถหรือจะสามารถลีกเลี่ยงผลร้ายแรงตลอดชีวิตจากการจับกุมผู้เสพยา ซึ่งอาจรวมถึงการตกงาน โอกาสทางการศึกษา ที่อยู่อาศัย สาธารณประโยชน์ การดูแลเด็ก และสถานะการย้ายถิ่นฐาน" (4)

นอกจากนี้ การแก้ไขกฎหมายยังช่วยให้มีเงินงบประมาณมากมายอย่งไม่เคยขมีมาก่อนมาใช้ในการพัฒนาชุมชนและระบบสาธารณสุขเพื่อผู้ใช้ยาเสพติดโดยเพาะ โดย Drug Policy Alliance ร่วมกับกลุ่ม Health Justice Recovery Alliance จัดหาเงินทุน 302 ล้านดอลลาร์สำหรับบริการในช่วงสองปีข้างหน้าและได้จากฝ่ายนิติบัญญัติ 30 ล้านดอลลาร์ เงินเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในการสาธารณสุขด้านต่างๆ เช่น ผู้ให้บริการบรรเทาอันตรายและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 33 แห่งสามารถขยายการเข้าถึงบริการบำบัดรักษาผู้ยากไร้และไม่มีประกัน, ช่วยให้องค์กร 52 แห่งจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนการเยียวยาผู้เสพยาเสพติดโดยใช้ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูตนเองมาก่อน หรือ Peer Support Specialists  (ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านยาติดยาเสพติดชี้ว่างานด้านนี้ว่ามีความสำคัญต่อเส้นทางการฟื้นฟูผู้เสพยา), และงบประมาณที่ได้มายังไปถึงองค์กร 30 แห่งให้สามารถเพิ่มบริการลดอันตรายซึ่งรวมถึงการแทรกแซงช่วยชีวิตเช่นการป้องกันการใช้ยาเกินขนาด การเข้าถึงยาสำคัญๆ ในการเยียวยา คือ เมทาโดนและบูพรีนอร์ฟีน การเข้าถึงนาล็อกโซน ตลอดจนการศึกษาเรื่องยาและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ (4)

ความสำเร็จที่ ออรีกอนเป็นผลมาจากการที่ในปี พ.ศ. 2563 Drug Policy Alliance ได้การดำเนินการด้านนโยบายและนโยบายด้านยาเสพติดที่นั่น เป็นหัวหอกในการดำเนินมาตรการแก้ไขกฎหมายที่เรีบกว่า Oregon Ballot Measure 110 ซึ่งทำให้รัฐออรีกอนเป็นรัฐแรกในประเทศที่ลดทอนความเป็นอาชญากรรมการครอบครองยา ขณะเดียวกันก็ขยายการเข้าถึงการรักษาตามหลักฐานและตามวัฒนธรรม การลดอันตรายและบริการสุขภาพอื่นๆ (5)

และจะเห็นได้ว่า ความสำเร็จของออรีกอนเน้นที่การเยียวยาผู้เสพเป็นสำคัญ ด้วยแนวทาง "Decriminalize in drug, Invest in health" เพราะ Drug Policy Alliance เชื่อว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ยาเกินขนาดควรได้รับการจัดการในฐานะทางการแพทย์มากกว่าที่จะเป็นปัญหาทางอาญา จะต้องทำการการลดทอนความเป็นอาชญากรรมของยา การเข้าถึงเมทาโดนและบูพรีนอร์ฟีน การเข้าถึงนาล็อกโซน ศูนย์ป้องกันการใช้ยาเกินขนาด การตรวจยาเสพติด และกฎหมายพลเมืองดีเป็นแนวทางแก้ไข

 

 

อ้างอิง

1. "Drug Legalization". Institute for Behavior and Health. Retrieved 16 October 2021.

2. "About Us". Drug Policy Alliance. Retrieved October 16, 2022.

3. "Policing and the Drug War" Drug Policy Alliance. Retrieved October 16, 2022.

4. "Drug Decriminalization in Oregon, One Year Later: Thousands of Lives Not Ruined by Possession Arrests, $300 Million+ in Funding for Services". NOVEMBER 3, 2021. Drug Policy Alliance.

5. "Oregon 1st in US to soften on hard drugs, 'magic' mushrooms". AP News. November 4, 2020.

 

หมายเหตุ : ภาพประกอบจากเว็บไซต์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง