ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

แนวทางการดูแลจิตใจเด็ก ๆ ที่ประสบภาวะสูญเสีย

เมื่อเผชิญความสูญเสียการดูแลจิตใจสำหรับเด็ก ๆ ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นอากสถานการณ์ที่เด็กๆ เผชิญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพอิตใจและการใช้ชีวิต ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือให้เด็ก ๆ สามารถเข้าใจ สร้างกระบวนการและเยี่ยวยาตนเอง ซึ่งผู้ใหญ่สามารถทำได้โดย

1. สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็ก ๆ ได้ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกที่มีอนุญาตให้ทุกอารมณ์เกิดขึ้นได้ เศร้า เสียใจ ร้องไห้ได้

2. เคียงข้าง ปลอบประโลม มองตา รับฟัง ใช้หลักการทวนและสะท้อนสิ่งที่เด็ก ๆ เล่า

3. อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ใช้คำอธิบายง่าย ๆ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก ๆ เช่น

วัยทารก เด็ก ๆ ยังอยู่ในขั้นพัฒนาทักษะทางภาษา แต่จะตอบสนองต่อความสบายทางร่างกาย การสื่อสารผ่านการสัมผัส การอุ้ม และการกอดอย่างอ่อนโยน มีความสำคัญต่อเด็กในวัยทารก

เด็กเล็ก ควรใช้ภาษาที่เป็นรูปธรรม หรือนิทานในเชิงเปรียบเทียบชีวิตกับสิ่งที่เด็กๆ คุ้นเคย สิ่งสำคัญคือการหลีกเลี่ยงคำที่อาจทำให้เข้าใจผิด เช่น “หลับ” เพราะเด็ก ๆ อาจกลัวที่จะเข้านอนหากเกี่ยวข้องกับความตาย

เด็กวัยเรียนและเด็กวับรุ่น อาจมีคำถามเกี่ยวกับการเสียชีวิต สิ่งสำคัญคือการอธิบายตามจริง รวมถึงการพูดคุยถึงความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของเด็กๆ ต่อเหตุการณ์นั้น เคียงข้าง และรับฟัง

4. สร้างกิจวัตรที่แน่นอน เพื่อสร้างความมั่นคงทางจิตใจ

5. สร้างโอกาสในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก อาจจะผ่านกิจกรรมการเล่น

 

ที่มา : กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข