ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคมปี 2554

กรณี

จำนวนผู้รับประโยชน์ทดแทน

จำนวนเงินประโยชน์ทดแทน

ราย

ร้อยละ

ล้านบาท

ร้อยละ

เจ็บป่วย

30,981,222

94.43

24,517.14

52.96

คลอดบุตร

291,376

0.89

6,159.45

13.31

ทุพพลภาพ

7,318

0.02

341.11

0.74

ตาย

20,197

0.06

1,177.25

2.54

สงเคราะห์บุตร

1,256,114

3.83

6,554.72

14.16

ชราภาพ

153,217

0.47

4,081.53

8.82

ว่างงาน

98,142

0.3

3,462.30

7.48

รวม

32,807,586

100

46,293.51

100

 

                                                                    ที่มา : รายงานประจำปี 2554, สำนักงานประกันสังคม

 

Hfocus -แต่ละปีสำนักงานประกันสังคมใช้จ่ายเงินเพื่อดูแลสิทธิประโยชน์ 7 ด้าน ของผู้ประกันตนปีละประมาณ 46,000 ล้านบาท

งบประมาณที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดคือ สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย 24,517 ล้านบาท คิดเป็น 53% ของกองทุน หรือกว่าครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เงินจำนวนนี้เป็นของลูกจ้างที่สมทบ 1 ใน 3 และส่วนใหญ่ไม่เคยได้ใช้สิทธิประโยชน์นี้ เพราะเป็นวัยแรงงานที่ไม่ค่อยเจ็บป่วย เมื่อถึงวัยเกษียณซึ่งเป็นวัยที่เจ็บป่วยง่าย ผู้ประกันตนจะไม่ได้รับการดูแลด้วยสิทธิประกันสังคม เพราะกฎหมายบังคับให้ไปใช้บริการบัตรทอง ที่รัฐบาลสมทบให้ 100 %   

ประเด็นที่น่าสนใจคือ จำนวนเงิน 24,517 ล้านบาทต่อปีนี้ จ่ายแล้วจ่ายเลย ไม่ว่าใช้หรือไม่ ก็ไม่ได้คืน สิทธิประโยชน์อื่นๆแม้จะน้อยแต่จ่ายตรงที่ผู้ประกันตน แต่สิทธิประโยชน์นี้จ่ายผ่านโรงพยาบาล เมื่อเป็นเช่นนี้ คำถามคือ ทำไมต้องจ่าย?

การที่ระบบประกันสังคมมีแต่คนแข็งแรงที่ไม่เจ็บป่วย บวกกับวิธีเหมาจ่ายรายหัว ทำให้โรงพยาบาลอยากจะดูแลแต่คนกลุ่มนี้ เพราะกำไรเห็นๆ ไม่อยากดูแลคนแก่และเด็กที่อยู่ในระบบอื่น การรวมและเฉลี่ยความเสี่ยงในโรงพยาบาลจึงไม่เกิด โรงพยาบาลที่เลือกได้ก็จะรับเฉพาะประกันสังคม ผลักภาระให้โรงพยาบาลที่เลือกไม่ได้ เช่น โรงพยาบาลรัฐรับผู้ที่มีค่าใช้จ่ายสูงไปดูแลแทน