Published on Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ (https://www.hfocus.org)

Home > จี้ อย.ยุติเปลี่ยนประเภทยาลดอาการแพ้ “ลอราทาดีน” เหตุเป็นยาอันตราย ไม่ควรทำให้ซื้อได้ง่ายขึ้น

จี้ อย.ยุติเปลี่ยนประเภทยาลดอาการแพ้ “ลอราทาดีน” เหตุเป็นยาอันตราย ไม่ควรทำให้ซื้อได้ง่ายขึ้น

Tue, 2018-11-20 11:20

อาจารย์คณะเภสัชฯ ม.ขอนแก่น ระบุ อย.ไม่ควรเปลี่ยนประเภทยาลดอาการแพ้ ลอราทาดีน เพราะเป็นยาที่มีข้อควรระวังในการใช้หลายข้อ รวมทั้งการวินิจฉัยอาการเพื่อใช้ยาก็ซับซ้อนเกินกว่าประชาชนทั่วไปจะทำได้ ย้ำควรจัดอยู่กลุ่มยาอันตรายที่ต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อน ไม่ใช่ให้ใครจ่ายยาก็ได้

รศ.ภญ.ดร.นุศราพร เกษสมบูรณ์

รศ.ภญ.ดร.นุศราพร เกษสมบูรณ์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เปลี่ยนประเภทยาลอราทาดีน (Loratadine) ซึ่งเป็นยาลดอาการแพ้ จากเดิมที่เป็นยาอันตราย จ่ายโดยแพทย์หรือเภสัชกร เป็นยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ ซึ่งมีผลให้สามารถซื้อหาได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องรับคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา ว่า ก่อนหน้านี้ทาง อย.ได้จัดรับฟังความคิดเห็น และทางสภาเภสัชกรรมได้ทำข้อคิดเห็นคัดค้านการเปลี่ยนประเภทยาดังกล่าวและเห็นว่าควรจัดให้อยู่ในกลุ่มยาอันตรายเหมือนเดิม เนื่องจากเป็นยาที่มีข้อควรระวังในการใช้ และการวินิจฉัยอาการก่อนใช้ยามีความซับซ้อนเกินกว่าที่ประชาชนทั่วไปจะวินิจฉัยเองได้

“ในส่วนของข้อควรระวังในการใช้นั้น ไม่ควรใช้ยาลอราทาดีนในกลุ่มผู้ป่วยโรคตับ ไต หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร และควรระวังกรณีใช้ร่วมกับยาต้านจุลชีพบางชนิด ยาต้านเชื้อรา ยาโรคหัวใจ เนื่องจากเกิด drug interaction หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่ายาตีกัน กล่าวคือถ้าใช้ร่วมกับยาตัวอื่นอาจส่งผลให้ยาตัวอื่นหรือตัวมันเองออกฤทธิ์ได้มากขึ้นหรือน้อยลง”

รศ.ภญ.ดร.นุศราพร กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นการวินิจฉัยว่าผู้ซื้อยาที่เป็นผู้ป่วยอยู่ในภาวะมีน้ำมูกเนื่องจากการแพ้หรือไม่ และควรใช้ยายาลอราทาดีนหรือไม่นั้น การวินิจฉัยก็มีความซับซ้อน เช่น ดูว่าจามหรือไม่ น้ำมูกใสหรือไม่ มีอาการคัน คัดจมูกหรือไม่ มีอาการมากขึ้นในช่วงกลางคืนหรือไม่ กลางคืนต้องหายใจทางปากหรือไม่ เหนื่อยง่ายหรือไม่ ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้มีเยอะมาก ประชาชนทั่วไปน่าจะวินิจฉัยเองไม่ได้

รศ.ภญ.ดร.นุศราพร กล่าวทิ้งท้ายว่า แนวโน้มการเปลี่ยนประเภทยาเพื่อให้ประชาชนใช้ยาด้วยตนเองได้ง่ายขึ้น เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก มาตรการนี้เพิ่มการเข้าถึงยา ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความเสี่ยงด้านยากับประชาชน แต่กลับเพิ่มยอดขายกับบริษัทยาเจ้าของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญว่าประเทศไทยจะมีมาตรการในการออกแบบกลไกการพิจารณาประเภทยาเพื่อที่จะคุ้มครองให้ประชาชนใช้ยาอย่างปลอดภัยได้อย่างไร

เรื่องเด่น [1]
นุศราพร เกษสมบูรณ์ [2]
ยาลดอาการแพ้ [3]
ลอราทาดีน [4]
Loratadine [5]
อย. [6]
ยาอันตราย [7]
สภาเภสัชกรรม [8]
เภสัชกร [9]

Source URL: https://www.hfocus.org/content/2018/11/16568

Links
[1] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%99
[2] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C
[3] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B9%89
[4] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%99
[5] https://www.hfocus.org/topics/loratadine
[6] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%AD%E0%B8%A2
[7] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2
[8] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
[9] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%A3