Published on Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ (https://www.hfocus.org)

Home > อย.ย้ำรายชื่อยา 11 รายการ ห้ามนำเข้าญี่ปุ่นโดยเด็ดขาด

อย.ย้ำรายชื่อยา 11 รายการ ห้ามนำเข้าญี่ปุ่นโดยเด็ดขาด

Wed, 2019-08-28 15:10

อย.เผยรายชื่อยาต้องห้าม 11 รายการ ที่ห้ามนำเข้าประเทศญี่ปุ่นอย่างเด็ดขาด เป็นกลุ่มยาบรรเทาอาการหวัดที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสมและยาแก้ท้องเสีย ซึ่งญี่ปุ่นไม่ให้นำเข้ายาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ไม่ว่าจะนำเข้าไปเพื่อรักษาตัว หรือใช้ทางการแพทย์ หากนำเข้าจะถูกยึดและดำเนินคดีได้

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่มีรายงานกรณีคนไทยถูกเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นควบคุมตัวเนื่องจากนำยาแก้ปวดชนิดหนึ่งเข้าประเทศญี่ปุ่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงได้ทำการตรวจสอบพบว่ายาแก้ปวดชนิดนั้นเป็นยาที่รัฐบาลญี่ปุ่นห้ามนำเข้าประเทศ เพราะเป็นยาที่มีส่วนผสมต้องห้ามภายใต้กฎหมายของญี่ปุ่น และขอเตือนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นว่าห้ามนำยาที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน 11 รายการ *อ้างอิงรายชื่อยาจากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นประจำนครซีแอทเทิล ได้แก่

1. TYLENOL COLD

2. NYQUIL

3. NYQUIL LIQUICAPS

4. ACTIFED

5. SUDAFED

6. ADVIL COLD & SINUS

7. DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS”

8. DRISTAN SINUS

9. DRIXORAL SINUS

10. VICKS INHALER

11. LOMOTIL

ทั้ง 11 รายกานี้ห้ามเข้าประเทศโดยเด็ดขาด หากนำเข้าอาจโดนดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งยาในกลุ่มดังกล่าวเป็นยาที่ใช้บำบัด บรรเทารักษาอาการเจ็บป่วยใน 2 กลุ่มอาการ คือ กลุ่มยาบรรเทาอาการหวัด ได้แก่ ยาที่มีชื่อการค้าตามรายการที่ 1 – 10 เป็นยาที่มีตัวยาสำคัญในการใช้แก้ปวด ลดไข้ บรรเทาอาการไอ คัดจมูก แพ้อากาศ ลดน้ำมูก เป็นต้น โดยยาหลายรายการมีสารซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) เป็นส่วนผสม ส่วนยาในลำดับที่ 11 ใช้สำหรับบรรเทาอาการท้องเสีย มีสารสำคัญที่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท 3

ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ฝากข้อแนะนำสำหรับผู้ที่จะต้องนำยาติดตัวเพื่อใช้เฉพาะตนเมื่อเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นว่า ให้นำใบรับรองแพทย์ติดตัวไปด้วย และที่สำคัญอย่าแกะยาออกจากแผงบรรจุยาที่มีชื่อยาระบุไว้ และปริมาณไม่ควรเกินการใช้ 30 วัน ในการรักษาตนเอง ส่วนในกรณีที่จำเป็นต้องใช้เกิน 30 วัน หรือเป็นยาที่มีส่วนผสมของยาเสพติดให้โทษที่ใช้ทางการแพทย์ต้องมีมาตรการควบคุมเป็นกรณีพิเศษ เช่น ยาแก้ปวดที่มีส่วนประกอบเฟนทานิล (Fentanyl) เพทิดีน (Pethidine) เป็นต้น ต้องทำเรื่องขอและได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อใช้รักษาเฉพาะตัวก่อนออกเดินทาง พึงระลึกไว้เสมอว่ากลุ่มยาต้องห้ามนำเข้าเด็ดขาด คือ ยาเสพติดให้โทษ ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง เช่น ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นมีระบบการตรวจสอบการนำเข้ายาอย่างเข้มงวด ทั้งยาที่นำมาด้วยตัวเองทางเครื่องบินโดยสารหรือยาที่ส่งมาทางพัสดุไปรษณีย์ หากนำเข้าไปก็มีความเป็นไปได้ที่จะถูกควบคุมตัวและดำเนินคดีตามกฎหมายของญี่ปุ่น

ทั้งนี้ สามารถหาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.mhlw.go.jp [1] อย่างไรก็ตาม ในแต่ละประเทศมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน จึงควรศึกษารายละเอียดของข้อห้าม ข้อจำกัดของแต่ละประเทศให้เข้าใจก่อนออกเดินทางเพื่อที่จะได้ไม่ทำผิดกฎหมาย

เอกเขนก [2]
ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ [3]
สุภัทรา บุญเสริม [4]
ญี่ปุ่น [5]
ยาห้ามนำเข้าญี่ปุ่น [6]
อย. [7]

Source URL: https://www.hfocus.org/content/2019/08/17608

Links
[1] https://www.mhlw.go.jp/english/policy/health-medical/pharmaceuticals/01.html
[2] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%81
[3] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A8-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A9%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C
[4] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2-%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1
[5] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99
[6] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99
[7] https://www.hfocus.org/topics/%E0%B8%AD%E0%B8%A2