ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

หนังสือพิมพ์โลกวันนี้ - ศูนย์กลางทางการแพทย์ที่ให้ความ จากการที่รัฐบาลมีนโยบายสำคัญกับการพัฒนาบริการทางการแพทย์ครบวงจร ซึ่งรวมไปถึงธุรกิจสุขภาพอื่นๆเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นับว่าประเทศไทยมีความพร้อม เนื่อง จากปัจจุบันการให้บริการทางการแพทย์ของไทยมีพื้นฐานดีอยู่แล้ว

แต่โจทย์ใหญ่สำคัญของการก้าวไปสู่ Medical Hub คือการพัฒนางานด้านมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพ ซึ่งยังเป็นภารกิจที่มีความซับซ้อนและหลากหลายในเชิงข้อมูลเป็นอย่างมาก นอกจากความซับซ้อนและความหลากหลายในตัวข้อมูล อุปสรรคในการพัฒนามาตรฐานยังเกี่ยวเนื่องกับสภาพโครงสร้างพื้นฐานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระดับชาติที่มีความพร้อมและทรัพยากรแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน และต้องอาศัยการวางแผน การกำกับดูแล การวิจัยและพัฒนา การเจรจาหาข้อสรุป การเผยแพร่มาตรฐานเพื่อการนำไปใช้จริง และการประเมินผล

จึงมีความร่วมมือกันในระดับหน่วย ในประเด็นดังกล่าวข้างต้นงานหลายภาคส่วน ทั้งองค์กรภาครัฐ โรงพยาบาล โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ได้จัดงานสัมมนา "ทิศทางและอนาคตมาตรฐานข้อมูลสุขภาพไทย" เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพโดยการใช้มาตรฐาน HL7, HL7 CDA และรหัสยามาตรฐานไทย

ภายในงานได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ได้แก่ สุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มาบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง "Electronic Health Record Security and Patients' Data Privacy" ร่วมด้วย นพ.เทียม อังสาชน ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (ศมสท.) และ ดร.ภญ.อรลักษณ์ พัฒนาประทีป จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายเรื่อง "แนวทางการนำรหัสยามาตรฐานไทย (Thai Medicines Terminology-TMT) ไปใช้งานกับระบบมาตรฐานข้อมูลสุขภาพ"

พร้อมด้วย ดร.อุรัชฎา เกตุพรหม ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) บรรยายเรื่อง "Interoperability of Electronic Health Record" และ ดร. นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายเรื่อง "HL7 and HL7 CDA : The implementation of Thailand healthcare messaging exchange standard"

โดยในช่วงท้ายมีการเสวนาในหัวข้อ "แนวทางการเชื่อมโยงข้อ มูลสุขภาพไทย เพื่อยกระดับสาธารณสุขไทย" เพื่อร่วมแบ่งปันประสบการณ์และสร้างความตระหนักของการมีมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสาธารณสุข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับการให้บริการสาธารณสุขไทย ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่เข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ ได้แก่ โรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครกว่า 100 แห่ง

ที่มา: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้  วันที่ 17 กันยายน 2556