ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เครือข่ายองค์กรประชาชน-ผู้บริโภคภาคอีสาน ร่วมคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่ ชี้ไม่ได้เกิดประโยชน์กับประชาชน แต่อุตสาหกรรมยาได้ประโยชน์แทน เป็นความพยายามของกลุ่มทุนที่ต้องการกินรวบ ผูกขาดระบบทั้งหมด

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2561 เวลา 12.00-16.00 น. ที่ห้องประชุมอาคาร 1 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมแสดงจุดยืน “คัดค้าน (ร่าง) พ.ร.บ.ยา” โดยมี เครือข่ายเภสัชกร, ชมรมเภสัชกรชุมชน , ชมรมเภสัชสาธารณสุขจังหวัด, ชมรมเภสัชกรโรงพยาบาลทั่วไป, เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน, สมาคมผู้บริโภค จ.ขอนแก่น, สมาคมผู้สูงวัยภูมิปัญญาไทย จ.ขอนแก่น, ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จ.ขอนแก่น, เครือข่ายคนพิการ จ.ขอนแก่น, เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคอีสานและชมรมผู้ประกอบการวิทยุ จ.ขอนแก่น มีการรวมตัวกันทั้งภาคประชาชนและเครือข่ายเภสัชกรแสดงสัญลักษณ์และอ่านแถลงการณ์จากนั้นมีการเสวนาในห้องประชุมเพื่อวิเคราะห์ร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งจะเข้าสู่ สนช.ช่วงเดือนธันวาคมนี้

นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคอีสาน กล่าวว่า เมื่อช่วงปี 2557 เราก็ร่วมคัดค้านกฎหมายนี้ที่อำนาจรัฐเป็นใหญ่หรือเพิ่มอำนาจรัฐ ลดอำนาจประชาชน ที่ผ่านมามีการออกกฎหมายและแก้ไขกฎหมายที่กระทบต่อประชาชนหลายประการ เช่น การแก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ยิ่งแก้ยิ่งแย่ และต้องยุติเพราะเจอแรงต้านจากประชาชน เหตุการณ์ต่อมาคือให้รัฐบาลยกเลิกการใช้สารเคมีทางการเกษตร รัฐบาลเอาใจแต่นายทุนไม่กล้าแบนสารเคมี ที่กำลังผลักดันรณรงค์อยู่ในขณะนี้ และการแก้ไข พ.ร.บ.ยาฉบับใหม่นี้ โดยเนื้อหาแล้วไม่ได้เกิดประโยชน์กับประชาชน อุตสาหกรรมยาซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทำกำไรมากที่สุด จึงเป็นความพยายามของกลุ่มทุนนิยม ทุนข้ามชาติที่ต้องการกินรวบ ผูกขาดระบบทั้งหมด โดยอาศัยกฎหมายผ่านการจดสิทธิบัตร เป็นต้น

ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชนต่อการใช้ยา เช่น การโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง หลอกลวง มอมเมาประชาชน หรือการซื้อยาชุดส่งผลให้ประชาชนมีการใช้ยาเกินความจำเป็น ใช้ยาฟุ่มเฟือย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนก็ยังสร้างปัญหาแก้ไขกันยังไม่ได้ในปัจจุบัน

สิ่งที่ภาคประชาชนตั้งข้อสังเกตต่อการออกกฎหมายยาฉบับใหม่นี้คือ เปิดให้เกือบจะทุกวิชาชีพทางการสาธารณสุขมีการขายยาได้ เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายทุนทั้งนั้น ซึ่งยาไม่ใช่สินค้าทั่วไปที่จะให้มีการจ่ายยาโดยไม่มีการควบคุมและกำกับ การจ่ายยาผิด จ่ายยาเกินความจำเป็นย่อมส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนในการใช้ยา ไร้การควบคุมยิ่งเพิ่มปัญหาจากการใช้ยาหรือด้านสุขภาพให้กับประชาชน ดังนั้นเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเห็นว่า หาแก้แล้วแย่กว่าเดิม อย่าแก้ดีกว่า และเครือข่ายฯ พร้อมที่จะเคลื่อนไหวกับเครือข่ายเภสัชกรต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เภสัชค้านร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับ อย. ให้วิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่เภสัชขายยาได้ ไม่ปลอดภัยต่อ ปชช.

แนะถอยคนละก้าวร่าง พ.ร.บ.ยา เขียนให้ชัดยาอะไรที่วิชาชีพอื่นสั่งจ่ายได้บ้าง

อย.ยันแก้ กม.ยา ยึดหลัก ปชช.ปลอดภัย เตรียมแจงความคืบหน้า 27 ส.ค.นี้

ชมรมเภสัชฯ ค้านร่าง พ.ร.บ.ยา แจง 6 ช่องโหว่สุดเสี่ยง จี้ อย.ทบทวนด่วน

สภาพยาบาลหนุนร่าง พ.ร.บ.ยา ชี้เอื้อทุกวิชาชีพทำงานร่วมกันได้ แจงหลักสูตรมีสอนเรื่องยา

ชี้ร่าง พ.ร.บ.ยาอ่อนด้อยยิ่งกว่าของเดิม ยันผ่อนปรนไม่ได้ เพราะเป็นความปลอดภัยของ ปชช.

อย.แจงร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

อย.เตรียมตั้ง คกก.ถกร่าง พ.ร.บ.ยา “เปิดช่องวิชาชีพอื่นจ่ายยาได้”

สภาเภสัชกรรมชี้ร่าง พ.ร.บ.ยา ซ้ำรอยเดิม อย.ทำปัญหาวนกลับจุดเดิม หนุนใช้ระบบใบสั่งยา 

เภสัชกรอีสานยืนยันค้านร่าง พ.ร.บ.ยา เพื่อ ปชช.ใช้ยาปลอดภัย ไม่ได้ปกป้องวิชาชีพ

อย.ชี้เข้าใจร่าง พ.ร.บ.ยาผิด โดยเฉพาะประเด็น ‘จ่ายยาและขายยา’ ยืนยันมีข้อดีหลายด้าน