ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ตั้งหลักใหม่กันเถอะ...อย่าหลงทางกับวาทกรรมประกอบสร้างของอุตสาหกรรมน้ำเมาเมื่องานวิจัยล่าสุด ชี้ชัดไม่มีระดับที่ปลอดภัยในการดื่มแอลกอฮอล์

มีข้อมูลที่เขย่าสังคม ให้กลับมาพิจารณากันอย่างจริงจังอีกครั้งในประเด็นเรื่อง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยงานวิจัยการแพทย์ระดับโลกที่ ชี้ว่า ไม่มีปริมาณที่ปลอดภัยในการดื่มแอลกอฮอล์ โดยรายงานวิเคราะห์การดื่มแอลกอฮอล์และความเสี่ยงของโรคภัยต่างๆในปี 2016 ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์รายสัปดาห์ The Lancet เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2018 โดยระบุว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องมึนเมา มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชากรทุกช่วงวัย จำนวน 2.8 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2016

โดยสาเหตุการเสียชีวิตเหล่านั้น มาจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคติดเชื้อ วัณโรค ฆ่าตัวตาย ตลอดจนอุบัติเหตุบนท้องถนน หรืออุบัติเหตุอื่นๆ ที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าว ได้ศึกษาข้อมูลรายงาน Global Burden of Disease ปี 2016 ที่ได้รับรวบรวมสถิติการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและทุพพลภาพ จากโรคภัยไข้เจ็บรวม 200 โรค ใน195 ประเทศ ในช่วงปี 1990 -2016 แล้ววิเคราะห์มุ่งไปที่ผลกระทบจากแอลกอฮอล์ที่มีต่อสุขภาพ รวมถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องต่อประชากรในช่วงอายุ 15-95 ปี ในปี 2016

ขณะที่เมืองไทย ดูเหมือนจะมีการพยายามขยับข้อมูลจากงานวิจัยที่สำคัญชิ้นนี้ สื่อสารความรู้สู่สาธารณะ โดยล่าสุดได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวมาเสวนาในงาน ดื่มในระดับที่ปลอดภัย..มีจริงหรือ โดยสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ร่วมกับศูนย์ศึกษาปัญหาสุรา (ศวส.) เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา และเครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยแอลกอฮอล์

โดย ผศ.นพ.อุดมศักด์ แซ่โง้ว นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยระบบสุขภาพและการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ขยายความเพื่อความเข้าใจจากงานวิจัยชิ้นนี้ ทีมแพทย์สหรัฐฯ ซึ่งชี้ชัดว่า ไม่มีระดับการดื่มที่ปลอดภัย

ผศ.นพ.อุดมศักด์ ระบุว่า เคยมีคำแนะนำในการทานอาหาร นั้นคือดื่มแอลกอฮอล์ ได้ไม่เกิน 1-2ดริงค์ ต่อวัน หรือ 1-2 กระป๋อง ซึ่งมันเคยมีความเชื่อแบบนี้ ในต่างประเทศ 80 เปอร์เซนต์ดื่มแอลกอฮอล์ แม้มีจำนวนมากแต่ดื่มปริมาณไม่เยอะ แต่คนไทยดื่มแค่ 30 เปอร์เซนต์ แต่ปริมาณการดื่มเยอะมาก นั่นคือ ต่างประเทศเขามีคนดื่มมาก แต่เขาดื่มปริมาณน้อย ไม่เมา ซึ่งแตกต่างจากคนไทยมาก

นอกจากนี้งานวิจัยดังกล่าว ยังได้เก็บข้อมูลภาระจากโรคแอลกอฮอล์ ตลอดระยะเวลา30 ปี แล้ววิเคราะห์ภาพรวมทั่วโลก ในปี 2016 มีการตายของประชากร 2.8 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์ แบ่งเป็น 6.8 เปอร์เซนต์เป็นชาย และ 2.2 เปอร์เซนต์เป็นผู้หญิง

“ไม่นับรวมภัยเหล้ามือ 2 ที่เกิดขึ้นหลังการดื่ม นั้นคือ ผลจากการดื่มเหล้า แล้วคนที่ไม่ได้ดื่ม ซึ่งเราเรียกว่าภัยเหล้ามือ 2 ไม่ได้ดื่มแต่เขาได้รับภัย หรือผลกระทบจากคนดื่มเหล้ามือ1” ผศ.นพ.อุดมศักดิ์ ระบุ

อายุ 90 ปี ถึงจะเห็นประโยชน์เล็กน้อย

ผศ.นพ.อุดมศักดิ์ ได้ระบุข้อมูลหักล้างที่น่าสนใจจากชุดงานวิจัย โดยชี้ว่า ดื่มในวัยไหนผลดี ก็ไม่ชนะผลเสียโดยในผู้หญิงจะเห็นผลดีจากการดื่มเล็กน้อยในวัยกลางคน นั้นคือลดความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจอุดตัน แต่จะเสี่ยงมากกว่าเป็นอันดับ 1 คือ มะเร็งเต้านม ตามมาด้วยเส้นเลือดในสมองแตก ความดัน หัวใจวาย

ขณะที่เพศชาย น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งว่า แอลกอฮอล์ พบทุกความเสี่ยงไม่ว่าอยู่ในอายุช่วงไหน ตั้งแต่เกิดจน อายุ 90 ปี ไม่มีผลดี ความเสี่ยงสูงลิ่วมากกว่าผู้หญิง 4 เท่า

“ในผู้ชาย ที่มีข้ออ้างกันว่า ดื่มเพื่อสุขภาพ การดื่มลักษณะนี้ตามความเชื่ออาจจะส่งผลดีบ้าง แต่จากข้อมูลงานวิจัยบ่งชี้คือ จะได้ประโยชน์ ผลดีเล็กน้อยก็ต่อเมื่อช่วงวัย 90 ซึ่งในวัยขนาดนี้ก็คงไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว”

ผศ.นพ.อุดมศักด์ ระบุด้วยว่า ผลประโยชน์ที่อ้างถึง ไม่เคยชนะความเสี่ยงจากโรคอื่นๆได้เลย ซึ่งนี้คือช่องทางของกลุ่มธุรกิจที่เข้ามาหยิบฉวยแค่ประโยชน์มานำเสนอในทางการตลาด แค่ด้านที่ได้รับผลประโยชน์จากแอลกอฮอล์อันน้อยนิดซึ่งมันเทียบไม่ได้กับความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากโรคกว่า 200 โรค

“นี้คืองานวิจัยระดับโลกที่ชี้ชัดว่า ไม่มีระดับปลอดภัยในการดื่ม ไม่ว่าจะปริมาณเท่าใดก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เสี่ยงต่อการเสียชีวิต ดื่มเบียร์ 1 กระป๋อง หรือ ไวน์ 1 แก้ว ต่อวันเพิ่มอัตราการตาย 4 คนในประชากร 1 แสนคน ขณะเดียวกันยังมีหลายงานวิจัย ที่ยืนยันไปในทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น UK 2016 ที่ระบุมาตั้งแต่ 2 ปีก่อนหน้านี้ว่า ไม่มีระดับการดื่มในระดับไหนที่ปลอดภัยจากมะเร็ง และงานวิจัยหลายชิ้น ก็ระบุว่า การป้องกันมะเร็ง ด้วยการไม่ดื่มแอลกอฮอล์ดีที่สุด ซึ่งมันหมายถึงทำให้ห่างไกลโรคมะเร็งมากที่สุด” ผศ.นพ.อุดมศักดิ์ ระบุ

เท่าทันการตลาดในคราบนักบุญ

ขณะที่นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา ชี้ว่า นี้คืองานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลกที่หักล้างมาตรฐานการดื่ม ว่า ไม่มีระดับหรือมาตรฐานการดื่มที่ปลอดภัยเลย เพราะที่ผ่านมามีการหยิบยกวาทกรรม บวกงานวิจัยสนับสนุนการทำตลาด นำมาเป็นช่องทางในการสร้างแคมเปญโฆษณาของกลุ่มธุรกิจน้ำเมา

เขาระบุว่า สิ่งที่อันตรายที่สุดในตอนนี้ คือ การใช้ช่องทางการตลาดผ่านออนไลน์ โซเชียลมีเดียส์ สร้างวาทกรรมการสื่อสาร โดยไม่ต้องมีการเสนอผ่านงานวิชาการที่ครบถ้วน หยิบยกข้อมูลบางส่วนที่เป็นประโยชน์ทางธุรกิจ แล้วปล่อยข้อมูลในโลกออนไลน์ เช่น ดื่มนิดหน่อยดีต่อหัวใจ สร้างวาทกรรม เพื่อน มิตรภาพ แล้วส่งสารออกไป เป็นการรุก หรือทำเคมเปญของเขา ในช่วงนี้ที่หนักมาก พลิกแพลง การสื่อสาร เพราะหากทำการโฆษณาทางตรงไม่ได้ ก็หันไปใช้รูปแบบอื่นๆ ซึ่งเราต้องเท่าทันกลุ่มธุรกิจ ทุนแอลกอฮอล์ ซึ่งมีความซับซ้อน

นายคำรณ อธิบายว่า มีทั้งที่แปลงร่างมาในคราบนักบุญ ทำ CSR กิจกรรมทางสังคม หรือแม้กระทั่งการออกผลิตภัณฑ์ สร้างแบรนด์อื่นที่ไม่ใช่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ตราสินค้านั้นใกล้เคียงกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งคนทั่วไปเมื่อเห็นก็เข้าใจไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ที่ยังแยกไม่ออก ไม่ใช่การคิดถึงโซดา หรือน้ำดื่มแต่อย่างใด ที่แท้เบื้องหลังคือต้องการขายแอลกอฮอล์ เป็นช่องว่างที่กฎหมายยังเอื้อมมือไปไม่ถึง ซึ่งตรงนี้อาจต้องอาศัยกฎหมายอื่นมาช่วยในการปิดช่องว่างตรงนี้ ที่ผ่านมากลุ่มทุนทั้งในและระดับโลก เขาทำงานครบวงจร ทั้งการสื่อสาร และขบวนการล็อบบี้ ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านนอมินี ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องตระหนัก โดยเฉพาะรัฐบาลเองก็ต้องเท่าทัน ไม่ว่าจะมาเป็นสมาคมการค้า หรือ คณะทูต ต่างๆที่เข้ามาเจรจา เราต้องระมัดระวังว่า พวกเขาซ่อนอะไรเอาไว้บ้าง

“ก่อนหน้านี้เครือข่ายฯพยายาม ผลักดันมาตรการฉลาก เหมือนเช่น ที่ระบุบนซองบุหรี่ ขวดเหล้า ซึ่งถ้าทำสำเร็จประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในโลกที่ทำได้ แต่สุดท้ายก็โดนขบวนการล็อบบี้ จากกลุ่มทุน คัดค้าน ซึ่งเป็นขบวนการทำงานที่ครบวงจรเพื่อยุติมาตรการนี้ของเรา” นายคำรณ ทิ้งท้าย

งานวิจัยระดับโลกชิ้นนี้คือ ชุดความจริง ที่ขุดรากถอนโคนวาทกรรมโฆษณาชวนเชื่อ ตอกฝาโลงพิษภัยแอลกอฮอล์อีกครั้ง ว่าไม่มีปริมาณหรือระดับไหนเลยที่ปลอดภัยในการดื่มแอลกอฮอล์ มีแต่ความเสี่ยงตาย โรคภัยตามมาเป็นขบวน และจะเป็นบทพิสูจน์ น้ำยาของรัฐบาล คสช.ว่าจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปล่อยให้กลุ่มทุนธุรกิจน้ำเมา จูงจมูกไปเรื่อยๆตามกลิ่นผลประโยชน์ กลาย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง