ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2563 จำนวน 190,601.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.97% ได้จัดสรรแบ่งเป็น 8 รายการ ดังนี้

1.บริการเหมาจ่ายรายหัวดูแลประชากร 48.26 ล้านคน จำนวน 173,750.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 7,305.17 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.39% หลังหักเงินเดือนบุคลากรหน่วยบริการภาครัฐ จำนวน 49,832.58 ล้านบาท เป็นเงินสู่การบริหารโดย สปสช.จำนวน 123,917.82 ล้านบาท

2.บริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ รวมการควบคุมป้องกันการติดเชื้อ จำนวน 3,596.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 550.52 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.1%

3.บริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง จำนวน 9,405.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 1,123.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.6%

4.บริการป้องกันความคุมแรงของโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน จำนวน 1,037.57 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 จำนวน 97.46 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 8.6

5.บริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และพื้นที่ชายแดนไต้ จำนวน 1,490.29 ล้านบาท จัดสรรเท่าปี 2562

6.บริการผู้ป่วยติดเตียงที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 1,025.56 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 108.76 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.9%

7.บริการเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว จำนวน 268.64 ล้านบาท จัดสรรเท่ากับปี 2562

8.งบชดเชยวัคซีนป้องกันหัด คางทูมและหัดเยอรมัน เพื่อแก้ปัญหาการระบาดในภาคใต้ปี 2561-2562 จำนวน 27 ล้านบาท

สำหรับในส่วนการจัดสรรงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว โดยอัตราเฉลี่ยปี 2563 อยู่ที่จำนวน 3,600 บาทต่อประชากรสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีการจัดสรรแยกตาม 9 รายการ ดังนี้

1.บริการผู้ป่วยนอกทั่วไป จำนวน 1,251.68 บาทต่อประชากร

2.บริการผู้ป่วยในทั่วไป จำนวน 1,371.07 บาทต่อประชากร

3.บริการกรณีเฉพาะ จำนวน 359.24 บาทต่อประชากร

4.บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค จำนวน 452.60 บาทต่อประชากร

5.บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ จำนวน 17.43 บาทต่อประชากร

6.บริการแพทย์แผนไทย จำนวน 14.80 บาทต่อประชากร

7.ค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน จำนวน 128.69 บาทต่อประชากร

8.เงินช่วยเหลือผู้รับบริการและผู้ให้บริการ จำนวน 2.49 บาทต่อประชากร

9.บริการจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ จำนวน 2 บาทต่อประชากร