ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงแรงงาน นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตนได้เรียกผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม (สปส.) มาสอบถามถึงระเบียบในการเรียกเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตน เนื่องจากพบว่า การเก็บเงินสมทบในปัจจุบัน ไม่ได้มีการแยกเงินเดือนกับสวัสดิการออกจากกัน เพื่อคำนวณเงินสมทบ ซึ่งส่งผลให้ทั้งผู้ประกอบการและผู้ประกันตนมาตรา 33 ต้องส่งเงินสมทบสูงกว่าอัตราที่กำหนดของอัตราเงินเดือน เช่น เงินเดือน 13,000 บาท นายจ้างจ่ายสวัสดิการเพิ่มอีก 2,000 บาท สปส.ก็นำรายได้ทั้ง 2 ส่วนมารวมกันเพื่อคำนวณอัตราเงินสมทบ ส่งผลให้ ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบอัตราร้อยละ 5 อยู่ที่ 750 บาทต่อเดือน แต่หากคิดเฉพาะเงินเดือน 13,000 บาท ผู้ประกันตนจะส่งเงินสมทบลดลง 100 บาท คือจ่าย 650 บาทต่อเดือน

นายสง่ากล่าวว่า ที่ผ่านมาศาลแรงงาน กลางได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ ว่า เงินเดือน กับสวัสดิการเป็นคนละส่วนกัน ไม่สามารถ นำมาคำนวณอัตราเงินสมทบได้ ดังนั้น จึงมองว่าไม่เป็นธรรมกับทั้งนายจ้างและ ลูกจ้าง ซึ่งได้แนะนำให้ผู้บริหาร สปส.ไปปรับปรุงวิธีการเก็บเงินสมทบใหม่ แต่หาก เกรงว่าจะขัดกับระเบียบ ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ.2533 ก็ควรมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ในการเก็บเงินสมทบใหม่ เพื่อความเป็นธรรมกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556