ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

เกิดเป็นคำถามต่อบทบาทขององค์กรพัฒนาเอกชนในไทยมาสักระยะ ถึงบทบาทการทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา หรือวัฒนธรรมในสังคม เมื่อแนวคิดและกระบวนการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร หรือซีเอสอาร์ในภาคธุรกิจ ขยับเข้ามา เป็นผู้ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาด้านการศึกษา ช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ลดผลกระทบและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเอ็นจีโอ (Non-Government Organization) ในทั้งสายงานพัฒนาและสายงานติดตามตรวจสอบนโยบายรัฐ ในวันนี้มีที่ อยู่ที่ยืนตรงจุดไหนในการแก้ปัญหา ลดผลกระทบ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมไทย ?

ซีเอสอาร์ลดบทบาทเอ็นจีโอ

ในฐานะผู้สังเกตการณ์และการทำงานด้านวิชาการ "ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ" ผู้อำนวยการสถาบันไทยพัฒน์ ได้ชี้ให้เห็นสถานการณ์การทำงานของซีเอสอาร์และเอ็นจีโอไทย ณ ปัจจุบันว่า ภาพที่เกิดขึ้นวันนี้คือ องค์กรที่มีการทำซีเอสอาร์จะ ลุกขึ้นมาทำเองมากขึ้น หลังจากก่อน หน้านี้ที่ส่วนใหญ่จะเป็นการบริจาคเงินผ่านมูลนิธิหรือเอ็นจีโอ

เพราะนอกจากองค์กรธุรกิจจะมีความเข้าใจในการทำซีเอสอาร์เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว ภาคธุรกิจยังมองเห็นว่า การใช้ความเชี่ยวชาญที่ธุรกิจมีลงไปทำในโครงการซีเอสอาร์นั้นจะสร้างผลกระทบด้านบวกแก่สังคม และเป็นการตอบโจทย์ธุรกิจได้มากกว่าการใช้ความเชี่ยวชาญของเอ็นจีโอลงไปทำงานแทนผ่านการบริจาคเงิน เพียงเพราะเป็นเรื่องที่ธุรกิจอยากทำแต่กลับไม่ใช่สิ่งที่ถนัดอีกทั้งธุรกิจยังสามารถจัดการโครงการ และวัดผลการดำเนินงานของโครงการ ที่แท้จริงเองได้อีกด้วย

"ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา มีการ ล้มหายตายจากของเอ็นจีโอเป็นจำนวนมาก และคนที่ทำงานมีฝีมือก็กระจายไปอยู่ตามองค์กรเอกชนและเอเยนซี่ที่ให้ความสำคัญกับการทำซีเอสอาร์ เนื่องจากขาดเงินอุดหนุนในการดำเนินการ นับตั้งแต่รัฐบาลในสมัยนั้นประกาศว่า ไทยเป็นประเทศที่ไม่ต้องการรับเงินบริจาคจากต่างชาติ ทำให้เอ็นจีโอต้องหันกลับมาหาแหล่งเงินทุนเอง"

"ขณะนี้แหล่งเงินทุนของเอ็นจีโอก็ได้ไปกระจุกอยู่ที่ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) กองทุนที่ได้รับเงินจากภาษีธุรกิจสีเทา ดังนั้นถึงเวลานี้ ถ้าเอ็นจีโอแห่งไหนไม่มีการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานก็จะอยู่ลำบาก ซึ่งความสำคัญของเอ็นจีโอนั้นไม่ได้อยู่ที่ขนาดหรือความมีชื่อเสียง แต่จะต้องประกอบด้วยส่วนที่ช่วยดูแลปัญหาในภาพกว้างระดับประเทศและเอ็นจีโอที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นด้วย"

เป็นพันธมิตรไม่ใช่เพียงบริจาค

แล้วเมื่อพิจารณาถึงบทบาทของ เอ็นจีโอในสถานการณ์ปัจจุบันจากคนคลุกวงใน กลับได้มุมมองที่น่าสนใจอีกด้านของการทำงานระหว่างเอ็นจีโอกับภาคธุรกิจที่ทำโครงการซีเอสอาร์ จากมุมมองของ "พร้อมบุญ พานิชภักดิ์" เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย ที่บอกว่า เมื่อบริษัทมาทำซีเอสอาร์มากขึ้น เป็นโอกาสให้เอ็นจีโอ มีแหล่งทุนความร่วมมือใหม่ ๆ ในการดำเนินโครงการจากเดิมที่มีอยู่น้อย เนื่องจากซีเอสอาร์ในปัจจุบันมี 2 แบบคือ การทำโครงการกับผู้รับโดยตรง กับที่บริษัททำโครงการร่วมกับเอ็นจีโอ

ส่วนประเด็นที่ว่า บริษัทมาทำงานพัฒนาสังคมด้วยกระบวนการซีเอสอาร์แทน เอ็นจีโอหรือไม่นั้น พร้อมบุญบอกว่าทั้งใช่และไม่ใช่ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา เอ็นจีโอในประเทศไทยบางส่วนก็ได้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศลดลง ประกอบกับการที่บริษัทเข้ามาสนับสนุนการ ทำงานของเอ็นจีโอมากขึ้น ซึ่งหลายบริษัทเริ่มเข้าใจว่าโครงการพัฒนาที่จะทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนนั้นต้องทำในระยะยาว และเริ่มมามีบทบาทเป็นพันธมิตร (partner) ในการดำเนินการกับเอ็นจีโอมากกว่าการเป็นเพียงผู้บริจาคทุนสนับสนุนการทำงาน

อย่างไรก็ตาม "พร้อมบุญ" ยอมรับว่า เงินทุนสนับสนุนการทำงานของ เอ็นจีโอในประเทศไทยที่เคยได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศนั้นลดลงจริง โดยมีสาเหตุหลายส่วน ไม่ว่าปัจจุบันโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่เคยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเดนมาร์กต้องปิดตัวไป หรือการที่กองทุนโลกที่เคยให้ทุนเพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยวัณโรค เอชไอวี/เอดส์ มาลาเรีย ก็มีประกาศออกมาว่า ภายใน 2-4 ปีนี้โครงการจะหมดสัญญาและไม่ให้ต่อแล้ว เป็นต้น

อีกสาเหตุหนึ่งคือ ปัจจุบันทั้งหน่วยงานภายใต้สหประชาชาติ (ยูเอ็น) เห็นว่า ประเทศไทยได้ยกฐานะทางเศรษฐกิจเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง หรือ upper middle income country แล้ว หน่วยงานเหล่านี้จึงค่อย ๆ ลดการช่วยเหลือออกไป ส่วนบทบาทของ ซีเอสอาร์จากบริษัทกลับเป็นปัจจัยหนุนเสริมให้เอ็นจีโอได้ทำงานต่อไปได้มากกว่า

"งานพัฒนาเป็นงานวิชาชีพ และเอ็นจีโอต้องทำระยะยาว การที่บริษัทหันมาทำงานร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไทย เป็นอีกแนวทาง หนึ่งที่เกิดจากความเข้าใจในเรื่องการ พัฒนาของบริษัทเอกชนถึงการสร้างความจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลก เช่น ต่อเนื่องและยั่งยืนในโครงการมากกว่า เพราะยังมีหลายชุมชนที่มีประสบการณ์ว่า บริษัทที่ทำซีเอสอาร์กลับมีโครงการที่ไม่ตรงตามความต้องการของชุมชน ไม่มีความต่อเนื่อง"

อย่างไรก็ตาม "พร้อมบุญ" ได้ชี้ให้เห็นประเด็นที่สำคัญในการทำงานของ เอ็นจีโอว่า ในหลายโครงการไม่ได้ขาดแคลนเงิน แต่ขาดแคลนองค์ความรู้ในการ พัฒนา เพราะโครงการพัฒนาสังคมที่ต้องการให้เห็นผลที่ชัดเจนจำเป็นต้องใช้เวลา 2-3 ปี เช่น โครงการ 84 พรรษา 84 โรงเรียน ทำดีถวายในหลวง ที่มูลนิธิรักษ์ไทยดำเนินการอยู่ ต้องส่งเจ้าหน้าที่ไปในพื้นที่ กระตุ้นและฝึกกระบวนการคิดของเด็ก ๆ กว่าจะเกิดเป็นรูปเป็นร่างก็ต้องใช้เวลากว่า 3 ปี

เอ็นจีโอปรับตัว-เอกชนปรับวิธีคิด

"โจทย์อย่างหนึ่งของเอ็นจีไอไทย การทำงานของเอ็นจีโอที่ทำงานพัฒนา กับเอ็นจีโอที่ทำงานเชิงนโยบาย ขณะที่ ซีเอสอาร์เป็นกลไกหนึ่งที่จะทำให้งานพัฒนาเหล่านี้เดินต่อไปได้ โดยต้องมีการปรับแนวความคิดทั้งของเอ็นจีโอและเอกชนที่จะทำงานร่วมกัน"

เป็นคำกล่าวจาก "พร้อมบุญ" ภายใต้สถานการณ์การทำงานของเอ็นจีโอ ที่ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่ามีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ขณะที่เอ็นจีโอที่อยู่ได้เป็น กลุ่มที่ทำเรื่องที่สังคมสนใจมาก ๆ อาทิ เรื่องเด็ก คนพิการ ซึ่งส่วนใหญ่มักดำเนินการในรูปแบบสังคมสงเคราะห์มากกว่าการพัฒนา ขณะที่ปัจจุบันมีประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องภัยพิบัติที่ยังต้องการคนเข้ามาดูแลและให้การสนับสนุนในการทำงานเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและลดผล กระทบต่อสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และระบบเศรษฐกิจอีกมาก

ดังนั้นยังมีช่องว่างเพื่อเติมเต็มกันและกันอีกมาก ระหว่างการทำงานของเอ็นจีโอและเอกชนในเรื่องการพัฒนา แล้วในอีก มุมหนึ่ง การที่เอ็นจีโอได้ร่วมงานกับ บริษัทที่มีซีเอสอาร์ยังเป็นการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพการจัดการทั้งด้านการเงิน การประเมินผล เนื่องจากบริษัทจะมีการตรวจสอบที่ชัดเจน ทำให้การทำงานของเอ็นจีโอและเอกชนเกิดความรับผิดชอบร่วมกัน

การใช้ความเชี่ยวชาญที่ธุรกิจมีลงไปทำในโครงการซีเอสอาร์จะสร้างผลกระทบด้านบวกแก่สังคม

 

ที่มา: นสพ.ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 18 - 20 มิ.ย. 2555--

เรื่องที่เกี่ยวข้อง