ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ประเทศใดมีประชากรที่เต็มไปด้วยความพร้อมทั้งสติปัญญา อารมณ์ สังคม คงเต็มไปด้วยคุณภาพและพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

เมื่อเร็วๆ นี้ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สุขภาพจิต ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และสถาบันราชานุกูล เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบการจัดการเชิงพื้นที่ในการเชื่อมต่อข้อมูลและการให้บริการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและเชาวน์ปัญญาหรือไอคิวเด็กไทย ให้เด็กไทย IQ เกิน 100

ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาของ ไทยก็ถือว่าอาการเพียบหนัก เด็ก ที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หรือ IQ ต่ำกว่า 100 จุดนั้น พบสูงถึง 49 เปอร์เซ็นต์ เด็กสมาธิ สั้น แอลดี เรียนช้า และออทิสติก มีถึง 12-13 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรเด็กทั้งหมด

ฉะนั้น โอกาสทองที่จะพัฒนาเด็ก คือ ช่วงวัย 0-5 ขวบ ที่จะเร่งสร้างสติปัญญา หรือ IQ สร้างพัฒนาการทางอารมณ์ หรือ EQ ไปควบคู่กัน ดร.อมร วิชช์ นาครทรรพที่ปรึกษาวิชาการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน อธิบายว่า สถาน การณ์สังคมไทยในปัจจุบันครอบครัวไทย 20 ล้านครอบครัว ต้องเผชิญหน้ากับปรากฏการณ์  "แม่วัยใส ยายวัยซ่า ย่าวัยซิ่ง" ทำให้ครอบครัวไม่พร้อมในการกระตุ้น พัฒนาการ จึงจำเป็นต้องสร้างระบบการช่วยเหลือเพื่อไม่ให้ต้นทุนชีวิตเด็กแย่ลงจากความไม่พร้อม

กลไกการทำงานเพื่อพัฒนา IQ EQ และพัฒนาการของเด็กต้องเป็นกระบวนการทำงานในลักษณะเครือข่ายระดับพื้นที่ ที่เกิดการประสานความร่วมมือของหน่วย งานต่างๆ

อาทิ สาธารณสุขจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เขตพื้นที่การศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และอื่นๆ เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรก จากสาธารณสุข ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลศูนย์เด็กเล็กไปจนถึงโรงเรียน ซึ่งเป็น การรับไม้ต่อทั้ง ด้านข้อมูลและการให้บริการ

โครงการกระตุ้นพัฒนาการฯ ได้เริ่ม ในพื้นที่นำร่อง4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ จ.เชียงราย ภาคกลาง จ.พระนคร ศรีอยุธยา ภาคอีสาน จ.สุรินทร์ และภาคใต้ จ.ภูเก็ต เพราะหากปล่อยไว้และไม่มีการดูแลเด็กที่ดีในช่วงอายุ 0-5 ขวบ ก็จะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปจน โต เด็กที่เป็นสมาธิสั้นก็จะกลายเป็นเด็กก้าวร้าว และทะเลาะวิวาท กลายเป็นปัญหาสังคมในอนาคต

โดยพบปัญหาสำคัญคือ การส่งต่อข้อมูลเด็กจากบันทึกสุขภาพแม่และเด็กหรือสมุดสีชมพูที่ไม่ถูกส่งต่อไปยังศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กหรือโรงเรียนอนุบาล ไม่ถูกส่งต่อไปยังโรงเรียน ส่งผลให้เด็กที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องด้านการเรียนรู้ไม่ถูกดูแลด้านพัฒนาการที่ต่อเนื่อง ทั้งที่ 90% ของเด็กที่บกพร่องการเรียนรู้สามารถแก้ไขได้หากได้รับการพัฒนาที่ต่อเนื่องตั้งแต่วัย 0-5 ขวบ

อนาคตประเทศจะเป็นอย่างไร ช่วยหาทางแก้วันนี้ยังพอทัน

ที่มา--ข่าวสด ฉบับวันที่ 20 มิ.ย. 2556 (กรอบบ่าย)--