ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

โควิด-19 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ทุกฝ่ายต้องกลับมามองระบบสุขภาพในองค์รวมท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทั้งภาวะโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในกระแสโลก สำหรับประเทศไทยพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 กําหนดให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) จัดทำ “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” เป็นกรอบและแนวทางในการกําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และ การดําเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ ซึ่งมีการทบทวนอย่างน้อยทุก 5 ปี และล่าสุดคือการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 ซึ่งในครั้งนี้มีเป้าหมายแนวคิดที่สำคัญคือ ‘การสร้างระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 30 องค์กร ได้จัดเวทีสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ‘ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นนำไปปรับแก้ก่อนเสนอคณะกรรมการสุขภาสพแห่งชาติพิจตารณาและเสนอคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาพิจารณาต่อไป

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรองประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ธรรมนูญสุขภาพ เปรียบเสมือนภาพอนาคตของระบบสุขภาพ โดยฉบับที่ 3 นี้ ได้ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทั้งเทคโนโลยี การระบาดใหญ่ สังคมสูงวัย เห็นได้ว่าสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่กว้างมาก ไม่ใช่แค่กระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงชุมชนเพื่อขับเคลื่อนให้เป็นจริง

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ประธานกรรมการจัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 กล่าวถึงการจัดทำว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปมาก มีความผันผวนไม่แน่นอน มีภัยคุกคามร่วมต่างๆ มากมาย เป็นหนึ่งโลกหนึ่งชะตากรรมร่วม ทุกคนเมื่อสุขก็สุขด้วยกัน เวลาทุกข์ก็จะทุกข์ด้วยกัน นอกจากโควิด-19 ที่ยังส่งผลกระทบแล้ว สิ่งที่คุกคามเข้ามาเรื่อยๆ ก็คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก หรือ Climate Change ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของความเหลื่อมล้ำ

“โควิด-19 ส่งผลกระทบแต่ละคนไม่เท่ากัน คนได้โอกาสก็แบบหนึ่ง คนด้อยโอกาสก็อีกแบบหนึ่ง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 จึงเน้นในเรื่องของระบบสุขภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นธรรม ทุกคนจะต้องได้รับในลักษณะที่ครอบคลุม ทั่วถึง มีคุณภาพประสิทธิภาพเท่าๆ กัน อนาคตจะมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น          ทางกายภาพจากภาวะโลกร้อน ซึ่งกระทบต่อความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพ หากกายและใจไม่ดีการประกอบอาชีพก็จะมีปัญหา ธรรมนูญสุขภาพจึงไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สุขภาวะที่ดี นอกจากสุขภาวะบุคคลแล้ว ต้องพูดถึงสุขภาวะรวมในการอยู่ร่วมกันด้วย เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืน ความเท่าเทียม ให้แต้มต่อผู้เสียเปรียบ”

ประธานจัดทําธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 กล่าวว่า 17 เป้าหมาย (SDGs) ของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ มีข้อหนึ่งที่พูดถึงการมีสุขภาพที่ดี แต่ทั้ง 17 เป้าหมายต้องมองเป็นองค์รวม มีบางาส่วนใน 17 ข้อที่ตอบโจทย์การปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม อีกมิติหนึ่งคือระหว่างคนกับคน แต่จริงๆ แล้ว ทั้ง 17 ข้อคือการสร้างความมั่งคั่ง และกระจายความมั่งคั่ง ถ้าสร้างความมั่งคั่งไม่ได้ก็สร้างสุขภาวะที่ดีไม่ได้ หรือสร้างความมั่งคั่งำด้แต่กระจายความมั่งคั่งไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบสุขภาพที่เป็นธรรมก็ไม่มีประโยชน์

นพ.ณรงศักดิ์ อังคะสุวะพลา ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 3 ในฐานะที่ก่อตั้งกลไกสุขภาพแห่งชาติ มองถึงธรรมนูญฉบับที่ 3 นี้ว่าตอบโจทยืปัญหาที่ผ่านมาทั้วง 2 ฉบับได้ดีพอสมคใร สอดคล้องสถานการณื ควสามต้องการสังคมปัจจุบัน แต่ที่ต้องให้ความสำคัฯคือกระบวนการสร้าวงการมีส่วนร่วมและอภิบาลระบบ ให้เกิดกาสรบริการที่เป็นธรรม ที่สำคัญจะไปสร้างคิมมิต การเข้ามาแบบเป็นพันธสัญญาร่วมกับภาคีเครือข่าย ซึ่งท้าทายมาก 

นพ.ณรงศักดิ์กล่าวว่า ธรรมนูญสุขภาพช่วยสร้าง ในการเชิญผู้เคลื่อนไหวหลักมาร่วม ขับเคลื่อนในลักษณะภาคีเครือข่าย ธรรมนูญพื้นที่ซึ่งปรากฎในสฉบับที่ 2  ในฉบับที่ 3 แปลงโฉมเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมุมชนเขตเมือง

พระเทพเวที (พล อาภากโร) เจ้าคณะภาค 6 เล่าถึงการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ซึ่งเป็นจุดผลักดันใมห้เกิดธรรมนูญสุขภาพเชิงประเด็นอื่นๆ ตามมาอีกหลายประเด็น โดยมองว่า หลักคิดของธรรมนูญฉบับที่ 3 คือ ระบบสุขภาพที่เป็นธรรมไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ซึ่งไม่ทิ้งชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และหนึ่งในกลุ่มชนเหล่านั้นคือพระสงฆ์กว่า 3 แสนรูป ซึ่งกระบวนการนี้เริ่มมาตั้วแต่ธรรมนูญฉบับที่ 2 พัฒนาเรื่อยมาสอดคล้องกับมติของมหาเถรสมาคมที่ให้ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาว่าด้วยเรื่องสาธารณสงเคราะห์ การมีสุขภาพที่ดี ทำให้เกิด พระคิลานุปัฎฐาก ช่วยดูแล เพราะเมื่อพระสงชราญาติโยมดูแลอาจไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย พระสงฆ์ก็ต้องช่วยกันดูแลซึ่งกันและกัน ซึ่งช่วยให้พระคิลานุปัฎฐาก มีงบประมาณ เครื่องมือ ในการไปช่วยดูแล ใช้งบประมาณจากองคืกรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะสงฆ์สามารถใช้สิทธินี้ได้

นพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภสพแห่งชาติกล่าวเสริมว่า มีการทำงานร่วมกันหลายภาคส่วนเพื่อให้พระสงฆ์เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ ทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) การลงทะเบียนเลข 13 หลัก การสำรวจทะเบียนพระ กระทรวงสาธารณสุขได้อบรมพระคิลานุปัฎฐาก รวมถึงการตรวจสุขภาพพระสงฆ์ มีการทำงานร่วมกับวัดเป้าหมายในพื้นที่คู่กับโรงพยาบาลในระดับพื้นที่ โดยเฉพาะในระดับพื้นที่มีการใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ รูปธรรมหนึ่งที่ชัดเจนคือในช่วงโควิด-19 เราใช้กรอบความร่วมมือทำงาน วัดเข้ามามีบทบาท เช่นจัดงานศพ ฌาปนกิจ และอันหนึ่งคือ Community Isolation (CI) ซึ่งในหลายพื้นที่วัดเป็นศูนย์กลางทำหน้าที่นี้

สำหรับการเชื่อมโยงในระดับพื้นที่นั้น รองเลขาฯคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกล่าวว่า ความเชื่อมโยงการทำงานระหว่างรพ.สต. กองทุนสุขภาพตำบล ใช้กลไกนี้เกือบทุกตำบล ภาพที่ชัดเจนคือโควิก-19 ต่างคำว่าธรรมนูญฯในการทำงานร่วมกัน อีกทั้งจังหวะที่กำลังจะมีการถ่านยโอนรพ.สต.ไปให้ท้องถิ่น ธรรมนูญจะเป็นกลไกในการดึงพลังทุกภาคส่วนมาทำงานร่วมกัน

พล.ต.อ.สมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)นครสวรรค์ ในฐานะตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ซึ่งจะเป็นกลไกระบบสุขภาพในพื้นที่ ยกตัวอย่างจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อล้นจากกทม.กลับไปยังภูมิเนาโดยไม่ผ่านกระบวนการคัดกรอง อบจ.ก็พยายามหาระเบียบว่าจะใช้งบประมาณส่วนไหนมาคัดกรองคนก่อนกลับบ้าน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีแนวทางมาว่าให้อปท.สามารถใช้งบประมาณส่วนใดได้บ้าง จากนั้นก็มาถึงการตั้ง CI ทุกตำบล ซึ่งอปท.เล็กๆ อย่างองค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถทำได้เองโดยลำพัง อบจ.ก็ต้องเข้ามาช่วย สำหรับธรรมนูญสุขภาพฉบับนี้เนื้อหาครอบคลุม สามารถลงไปขับเคลื่อนได้จริง สามารถนำมาเป็นหลังพิงได้ง่าย ซึ่งดีกว่าที่ท้องถิ่นจะต้องไปหาวิธีการต่างๆ เอง

“พลังงานในสังคมพร้อมที่จะขยับรอการหนุนเสริมการกระตุ้นชี้แนะแนวทาง ทุกอบจ.สามารถนำไปทำ Soft Power ในพื้นที่ได้เลย ผมถือธรรมนูญฯไป ผมก็มีเครดิต ไม่ต้องไปคิดเอง และรายละเอียดก็ครอบคลุมแค่เรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและความเป็นธรรม 2 เรื่องนี้ถือลงไปก็สง่างามแล้ว”