ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

องค์การอนามัยโลกประเมินในปี 2551 ว่า "ปัญหาการเจริญพันธุ์และการเจ็บป่วยทางเพศคิดเป็น 20% ของภาระการเจ็บป่วยสำหรับผู้หญิงทั่วโลก และ 14% สำหรับผู้ชาย" (1)

          สุขภาพการเจริญพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งของ "สิทธิสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์" หรือ Sexual and reproductive health and rights (SRHR) นั่นคือ แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนที่ใช้กับเรื่องเพศและการสืบพันธุ์  ตามรายงานของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ความต้องการด้านสุขภาพทางเพศและการเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้รับการตอบสนอง ทำให้ผู้หญิงขาดสิทธิในการ "การเลือกที่สำคัญเกี่ยวกับร่างกายและอนาคตของตนเอง" ซึ่งส่งผลต่อสวัสดิการครอบครัว ผู้หญิงแบกรับและมักจะเลี้ยงดูลูก ดังนั้นสุขภาพการเจริญพันธุ์ของพวกเธอจึงแยกออกจากความเท่าเทียมทางเพศไม่ได้ (2)

          อย่างที่เกริ่นไว้ตอนแรกสุด ปัญหานี้ไม่ใช่แต่กับผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายยังมีปัญหาเรื่องการไม่ได้รับสิทธิ์เรื่อง SRHR อย่างเต็มที่ด้วย ส่วนหนึ่งเพราะไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพทางเพศได้ แต่แน่นอนว่า ผู้หญิงได้รับผลกระทบด้านนี้มาก ไม่เฉพาะเรื่องความต้องการทางเพศที่ต้องได้รับการตอบสนองความพึงพอใจ แต่ยังรวมถึงการตั้งครรภ์ การคุมกำเนิด ระบบสืบพันธุ์ เช่น การมีประจำเดือน ฯลฯ

          ดังนั้น จะดีไหมหากจะมีบริการที่ตอบสนอง SRHR ทั้งหญิงและชาย (โดยเฉพาะผู้หญิง)?

          Mojocare อาจจะเป็นคำตอบนั้น

          Mojocare ก่อตั้งขึ้นโดย Ashwin Swaminathan และ Rajat Gupta ในเดือนพฤษภาคมปี 2564 ให้บริการดูแลส่วนบุคคลและครบวงจรในด้านสุขภาพทางเพศ สุขภาพของผู้หญิง สุขภาพจิต และผมร่วง โดยมีระบบการส่งมอบการดูแลส่วนบุคคลจะช่วยให้ผู้ใช้ในการจัดการความเจ็บป่วยเรื้อรังและไลฟ์สไตล์ที่ขับเคลื่อนด้วยสุขภาพเฉพาะทาง (3)

          บริการของพวกเขามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาออนไลน์ และรองรับโดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองทางคลินิก และมีบริการให้คำปรึกษา 24 ชั่วโมง 7 วัน หรือตลอดเวลา และสอดคล้องกับความต้องการส่วนบุคคล และความเป็นส่วนบุคคลจะได้รับการเคารพด้วยการส่งสินค้าและบริการเป็นความลับ เพราะเรื่องสุขภาพทางเพศ เป็นเรื่องสุดท้ายที่เราอยากให้คนภายนอกล่วงรู้

          เช่นปัญหาเรื่องสมรรถภาพทางเพจ Mojocare  บอกว่าผู้ชายอินเดียเกือบ 40% มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ความผิดปกติในบางช่วงของชีวิต และพวกเขามีบริการที่รองรับปัญหานี้ของผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและการใช้ผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ซึ่ง Mojocare โฆษณาว่า "91% ของผู้ใช้ของเราที่ทานผลิตภัณฑ์ Hard And Up รายงานว่าการแข็งตัวและประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างมากหลังจาก 3 เดือน" (4) เรื่องแบบนี้คงไม่มีใครอยากให้ใครอื่นล่วงรู้

          แต่ก็ไม่เสมอไป เพราะในเว็บไซต์ของ Mojocare ยังมีส่วนที่เรียกวา "ประจักษ์พยานประสิทธิผล" (testimonials) ของผู้ใช้บริการและผลิตภัณฑ์ของพวกเขา โดยมีทั้งภาพถ่าย ชื่อ และที่อยู่คร่าวๆ รวมถึงความเห็นหลังการใช้บริการของ Mojocare

          แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นหลัก ประเด็นหลักที่ทำให้ผู้ก่อตั้งริเริ่มสตาร์ทอัปนี้ขึ้นมานั้น Rajat Gupta ผู้ร่วมก่อตั้ง Mojocare กล่าวว่าในอินเดีย ผู้ใช้ 400 ล้านคนกำลังต่อสู้กับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคผิวหนัง สุขภาพจิต ภาวะเจริญพันธุ์ และสุขภาพของผู้หญิงและทางเพศ ผู้บริโภคขาดความไว้วางใจอย่างร้ายแรง และการเข้าถึงถูกจำกัดอย่างรุนแรงเนื่องจากระดับการดูแลที่แทบไม่มีอยู่เลย นอกจากนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่ไม่ชำนาญและไม่ซื่อสัตย์ยังมีจำนวนมากจนเรื่องที่น่าตกใจ และยังไม่นับที่มีโอกาสที่ผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบจะขายแบบออฟไลน์ได้มาก (3)

          ความต้องการธุรกิจที่ตอบสนอง "สิทธิสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์" จึงมีอยู่ และเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2565 Mojocare ใกล้จะระดมทุนได้ 20 ล้านดอลลาร์ในการระดมทุนซีรีส์ A ที่นำโดย B Capital Group บริษัทร่วมทุนที่ก่อตั้งโดย Eduardo Saverin และ Raj Ganguly ผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook Inc นั่นหมายความว่ามันมีอนาคตที่น่าจับตาถึงขนาดบริษัทของผู้ร่วมก่อตั้ง  Facebook  ยังมาร่วมลงทุนด้วย

          เรื่องเพศยังเป็นเรื่องที่ยังไม่เปิดกว้างมากนักในอินเดียเมื่อเทียบสังคมเสรีนิยมตะวันตก ประเด็นสมัยใหม่ที่ส่งผลกระทบต่ออินเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติทางเพศ ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงระหว่างกองกำลังอนุรักษ์นิยมและกลุ่มเสรีนิยม เช่น พรรคการเมืองและกลุ่มกดดันทางศาสนา ประเด็นเหล่านี้ยังเป็นประเด็นที่มีความสำคัญทางจริยธรรมในประเทศอย่างอินเดีย ที่รัฐธรรมนูญรับรองเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน

          ตัวอย่างเช่น มีคำสั่งศาลสูงสุดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ระบุว่าการค้าประเวณีเป็นวิชาชีพอย่างหนึ่ง และระบุว่าผู้ให้บริการทางเพศมีสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับพลเมืองอินเดียคนอื่น ๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถเลือกปฏิบัติหรือจับกุมเพราะคนเหล่านั้นประกอบอาชีพของตนได้

 

อ้างอิง

1. "Reproductive Health Strategy". World Health Organization. Archived from the original on June 17, 2005. Retrieved 2008-07-24.

2. "Sexual reproductive health". UN Population Fund.

3. Medhi, Trisha. (August 23, 2022). "Digital Wellness startup Mojocare raises $20M in Series A funding round".  YourStory.

4. https://mojocare.com/category/hard-and-up

เรื่องที่เกี่ยวข้อง