ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

โรคลมร้อนเกิดจากสาเหตุอะไร

ข้อความในโลกออนไลน์แจ้งเตือนให้ ระวัง! โรคลมแดดเป็นอันตรายถึงชีวิต ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า เป็นเรื่องจริง โรคลมร้อนเกิดจากสาเหตุอะไร โรคลมแดด โรคลมร้อน หรือฮีทสโตรก (Heat Stroke) สาเหตุเกิดจากร่างกายไม่อาจปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ส่งผลให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น และเมื่อเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง แสงแดดจัดในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิในร่างกายจะค่อย ๆ สูงขึ้นจนเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมได้ โรคลมแดดหรือ โรคลมร้อน อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากปล่อยเอาไว้หรือได้รับการรักษาที่ล่าช้าจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

"โรคลมร้อนเกิดจากสาเหตุอะไร"

สัญญาณเตือน โรคลมร้อนเกิดจากสาเหตุอะไร

  • อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
  • ไม่มีเหงื่อออก หรือตรงกันข้าม คือ เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • ผิวหนังแดง ร้อน แห้ง
  • ชีพจรเต้นเร็วและแรง
  • สับสน กระวนกระวาย พูดไม่รู้เรื่อง
  • ชัก
  • ซึมลง หมดสติ

ในบางรายเมื่อร่างกายเกิดโรคลมร้อนอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ตัวแดงได้

"สัญญาณเตือน โรคลมร้อนเกิดจากสาเหตุอะไร"

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้ป่วยโรคลมร้อน

 

  1. นำตัวผู้ป่วยโรคลมแดดเข้ามาในที่ร่ม
  2. ให้ผู้ป่วยโรคลมแดดนอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง คลายเสื้อผ้าให้หลวม
  3. ลดอุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยโรคลมแดดให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด เช่น ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งเช็ดตามตัว ซอกคอ รักแร้ และศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
  4. ไม่ควรใช้ผ้าเปียกคลุมตัวเพราะจะขัดขวางการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย
  5. หากยังไม่ฟื้น ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล

"วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้ป่วยโรคลมร้อน"

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวัง โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด

  • ผู้สูงวัย
  • เด็กเล็ก
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน 
  • ผู้ที่ร่างกายไม่แข็งแรง นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงอากาศร้อน

"กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระวัง โรคลมร้อนหรือโรคลมแดด"

วิธีป้องกันโรคลมแดดหรือโรคลมร้อน

โรคลมแดดหรือโรคลมร้อน เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย จึงต้องระมัดระวังและป้องกันก่อนเกิดโรค

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด 
  2. ดื่มน้ำให้มากขึ้นและเพียงพอในแต่ละวันโดยไม่ต้องรอให้กระหาย กรณีออกกำลังกายหรือทำงานใช้แรงควรดื่มน้ำ 2-4 แก้วทุกชั่วโมง 
  3. สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี
  4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือมีปริมาณน้ำตาลสูง เนื่องจากจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ง่าย 
  5. กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ควรจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศระบายได้ดี และไม่ควรปล่อยให้เด็กหรือคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพัง

"วิธีป้องกันโรคลมแดดหรือโรคลมร้อน"

เมื่อทราบแล้วว่า โรคลมร้อนเกิดจากสาเหตุอะไร ก็สามารถป้องกันได้ นอกจากนี้ กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา แนะนำเพิ่มเติมว่า ทุกคนควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานาน ใช้เวลาทำกิจกรรมในช่วงเช้ามืด หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดินแทน สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หมวก ร่ม พกอุปกรณ์เตรียมตัวไปเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัดในกลางแจ้ง ไม่ควรอยู่ในรถที่ติดเครื่องยนต์กลางแจ้ง เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงของการได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งมีผลต่อระบบประสาท และเลือกดื่มเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน กาแฟ เหล้า เบียร์ หากไม่สามารถชดเชยน้ำได้มากพอจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคได้ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เตือนประชาชนช่วงฤดูร้อน เสี่ยง "ฮีทสโตรก" ภาวะขาดน้ำ

 

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org

เรื่องที่เกี่ยวข้อง