ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค เผยข้อมูลโรค SFTS หรือไวรัสจากเห็บเป็นพาหะ หลังญี่ปุ่นเจอติดต่อจากคนสู่คน 

ตามที่ก่อนหน้านี้สำนักข่าวญี่ปุ่น รายงานว่า สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของญี่ปุ่น (NIID) พบการติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อโดยเห็บ จากผู้ป่วยไปยังแพทย์ที่เข้ารับการรักษา โดยผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาต่อมาและได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค SFTS ซึ่งถือเป็นการติดเชื้อดังกล่าวจากคนสู่คนครั้งแรก จนเกิดคำถามว่า ในส่วนของประเทศไทยมีการเฝ้าระวังโรคนี้อย่างไร

ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 เมษายน กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูลเกี่ยวกับโรคดังกล่าว  “ความรู้ทั่วไป และคำแนะนำเกี่ยวกับโรค Severe fever with thrombocytopenia syndrome (SFTS) โดยระบุว่าภูมิหลังและข้อมูลทั่วไป

 

โรค Severe fever with thrombocytopenia syndrome (SFTS) คือ

-Severe fever with thrombocytopenia syndrome (SFTS) หรือ Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome Virus (SFTSV) ยังไม่มีชื่อเรียกในระดับสากล แต่นิยมเรียกว่าโรค SFTS และ/หรือ SFTSV ซึ่งเป็นโรคที่ เกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง มีเห็บเป็นพาหะ ปัจจุบันยังไม่มีชื่อเรียกในภาษาไทย มีการใช้ชื่อว่า โรคไวรัสเห็บ ทางสื่อหลัก และสื่อออนไลน์แต่ทั้งนี้ยังมิได้ถูกกำหนดให้เป็นชื่อโรคอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

-โรค SFTS เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิด RNA คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานวิทยา ของไวรัส (International Committee on Taxonomy of Viruses ) ได้กำหนดให้อยู่ genus Bandavirusใน family Phenuiviridae ไม่ใช่ไวรัสสายพันธุ์ใหม่และไม่ได้เป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า การติดเชื้อ SFTSV พบมากใน 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้สำหรับประเทศไทย เคยมีการรายงานพบ ผู้ป่วยในปี 2562 และ 2563

-เชื้อ SFTSV ติดต่อโดยมีเห็บ (tick) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีประวัติถูกเห็บกัดก่อนเกิดอาการ และ สามารถตรวจพบเชื้อ SFTSV ในเห็บ และในสัตว์ที่อยู่บริเวณที่อยู่อาศัยของผู้ป่วย ส่วนสัตว์ที่เป็นรังโรค ได้แก่ แพะ แกะ หมู วัว ควาย สุนัข ไก่ นกบางชนิด หนู และสัตว์ป่าชนิดต่างๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานการก่อโรคในสัตว์

-การติดต่อสู่คน เชื้อ SFTSV ติดต่อโดยมีเห็บ (tick) เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีประวัติถูกเห็บกัดก่อน เกิดอาการ เชื้อชนิดนี้มีวงจรการติดต่อระหว่างเห็บและสัตว์ที่เป็นรังโรค ได้แก่ แพะ แกะ หมู วัว ควาย สุนัข ไก่ นก บางชนิด หนู และสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ซึ่งสามารถติดต่อมาสู่คนได้ ยังไม่มีหลักฐานการก่อโรคในสัตว์และการติดต่อ จากคนสู่คนยังไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่มีการรายงานการเกิดโรคในครอบครัวเดียวกัน และมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยก่อน เกิดอาการของโรคโดยในรายงานระบุความเสี่ยงคือการสัมผัสกับเลือด (Blood or blood respiratory secretion) ของผู้ป่วย ผ่านทางเยื่อบุผิวในช่องจมูก ปาก หรือตา และบาดแผลบริเวณผิวหนัง

-ลักษณะทางคลินิกของโรค SFTS เช่น ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน ถ่ายเหลว ตรวจพบเกล็ดเลือดต่ำ ในกรณีที่โรคมี ความรุนแรงผู้ป่วยอาจมีอาการของภาวะอวัยวะภายในล้มเหลวหลายระบบ (Multiple Organ Failure) เช่น มี อาการเลือดออกในตับและไต การทำงานของหัวใจและปอดล้มเหลว รวมถึงอาการผิดปกติทางระบบประสาท ส่วนกลาง (CNS) ได้ มีรายงานอัตราการเสียชีวิตโดยเฉลี่ยประมาณ 20%

-การวินิจฉัยโรค การตรวจหาไวรัส โดยวิธี virus isolation และ reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT–PCR) (ในเลือด ปัสสาวะ Throat swab) และการตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM และ IgG (ในซีรั่ม)

-ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสนี้ จะมีอาการและอาการแสดงคล้ายโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya fever) จึงมักสร้างความสับสนในการวินิจฉัยโรคได้

-การรักษา คือ การรักษาตามอาการ ปัจจุบันยังไม่มียาจำเพาะสำหรับโรคนี้

คำแนะนำ 

- สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ การดูแลผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการติดเชื้ออย่างละเอียด รวมถึงการ ใช้อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าเพื่อป้องกันเลือดและสารคัดหลั่งกระเด็ดจากผู้ป่วย แพทย์ผู้รักษาควรตรวจวินิจฉัยแยกโรคนี้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไข้ร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำและตรวจไม่พบการติดเชื้อของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อ ยุงลาย การรายงานโรคในระบบเฝ้าระวังให้รายงานผ่านระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ (Event base surveillance) ของกอง ระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 

- สำหรับประชาชนทั่วไป ให้หลีกเลี่ยงการถูกเห็บกัด หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่เป็นรังโรค ได้แก่ แพะ แกะ หมู วัว ควาย สุนัข ไก่ นกบางชนิด หนู และสัตว์ป่าชนิดต่างๆ หลีกเลี่ยงพื้นที่ป่าและเป็นพุ่มไม้ที่มีหญ้าและใบสูง เพื่อหลีกเลี่ยงการ เพิ่มโอกาสในการสัมผัสกับเห็บ

- สำหรับผู้เดินทาง

ก่อนการเดินทาง

- หากมีแผนการเดินทางไป พื้นที่ที่มีการรายผู้ป่วย เช่น ประเทศจีน (ตอนกลางและตะวันออก) ญี่ปุ่น(ตะวันตก) และพื้นที่ชนบทของเกาหลีใต้แนะนำตรวจสอบสถานการณ์โรคในพื้นที่ที่จะเดินทางไป หรือติดตามประกาศ คำแนะนำจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

- หากมีแผนท่องเที่ยวในป่า ล่าสัตว์หรือตั้งแคมป์ซึ่งมีความเสี่ยงในการถูกเห็บกัด ควรเตรียมยากันแมลง ที่มี ส่วนผสมของ DEET ความเข้มข้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 สวมใสเสื้อผ้าให้มิดชิด หรือพิจารณาเลือกใช้เสื้อผ้า และอุปกรณ์เช่น รองเท้าบู๊ท อุปกรณ์แคมป์ปิ้ง ที่เคลือบสารเพอร์เมทริน(Permethrin)

- เตรียมอุปกรณ์ในการป้องกันตนเองเบื้องต้นให้พร้อม เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ อุปกรณ์ทำ ความสะอาดบาดแผล เป็นต้น

- แนะนำซื้อประกันสุขภาพล่วงหน้าก่อนการเดินทาง

 

ระหว่างการเดินทาง

- โดยการหลีกเลี่ยงพื้นที่ป่าและเป็นพุ่มไม้ที่มีหญ้าและใบสูง เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มโอกาสในการสัมผัสกับเห็บ

- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่เป็นรังโรค ได้แก่แพะ แกะ หมูวัว ควาย สุนัข ไก่ นกบางชนิด หนูและสัตว์ป่าชนิด ต่างๆ

- อาบน้ำทันทีหลังจากกลับเข้าที่พัก (ภายในสองชั่วโมงหลังจากกลับเข้าที่พัก) การอาบน้ำอาจช่วยชะล้างเห็บที่ ติดอยู่ออกไปได้รวมถึงการตรวจดูเห็บตามร่างกาย เช่น ใต้วงแขน ในและรอบหูสะดือด้านใน หลังเข่า เส้นผม หว่างขา รอบเอว เป็นตัน

- สังเกตอาการผิดปกติของตนเอง หากมีอาการเบื้องต้น ได้แก่ ไข้ปวดกลา้มเน้ือ อาเจียน ถ่ายเหลว ให้รีบพบแพทย์และ แยกตัวเองจากบุคคลใกล้ชิด

- แนะนำให้ซื้อประกันสุขภาพล่วงหน้าก่อนการเดินทาง

หลังกลับจากการเดินทาง

- กรณีท่าน มีอา การผิดปกติเข้าได้กับอาการของ SFTS เช่น ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน ถ่ายเหลว ให้รีบพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบ

- สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากรู้สึกไม่สบาย หรือมีอาการเบื้องต้น ได้แก่ ไข้ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน ถ่ายเหลว ให้รีบพบ แพทย์และแจ้งประวัติการเดินทางให้แพทย์ทราบ

** เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อสื่อสารอย่างเร็ว ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์โปรดตรวจสอบข้อมูลที่ เป็นปัจจุบัน ข้อมูลเพิ่มเติม 
https://wwwnc.cdc.gov/eid/article/28/12/22-1183_article#r3 
https://www.cdc.gov/ticks/avoid/on_people.html 
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8310018/
https://www.pidst.or.th/A581.html

เรื่องที่เกี่ยวข้อง