ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

จากดราม่าสาวโพสต์ประณามหมอไม่มีจรรยาบรรณ หลังไอ เจ็บคอ ไปหาหมอเกือบเที่ยงคืน แต่หมอไม่ออกใบรับรองแพทย์ของวันถัดไป ล่าสุด รพ.บ้านบึงโพสต์ จำแนกระดับการเข้ารักษา "ผู้ป่วยฉุกเฉิน" วิธีสังเกตอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ที่สามารถรักษาได้ตลอด 24 ชม.

เพจเรื่องเล่าจากโรงพยาบาล ได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีหญิงสาวโพสต์ว่า หมอไม่มีจรรยาบรรณ หลังไปโรงพยาบาลเมื่อเวลา 23.45 น. ด้วยอาการเจ็บคอ แสบคอมาก ไอ มีเสมหะ มีน้ำมูกใส พร้อมขอใบรับรองแพทย์ในวันถัดไป แต่ได้ใบรับรองแพทย์ตามจริงในวันที่ตรวจ  

ทั้งนี้ แพทย์ที่ถูกอ้างถึงได้ไปแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีตามกฎหมาย "ทำให้ผู้แจ้งได้รับความเสียหาย" ที่ สภ.บ้านบึง เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา

จากโพสต์ดังกล่าว มีผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายคนแสดงความเห็นที่แตกต่างกันไป เช่น พล.อ.ท.นพ.อิทธพร คณะเจริญ  เลขาธิการแพทยสภา โพสต์เฟซบุ๊กว่า 

"ห้องฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน และอุบัติเหตุ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย.. เจ็บป่วยไม่ฉุกเฉินรบกวน ใช้ช่องทางตรวจรักษาตามเวลาปกติ 
ส่วนใบความเห็นแพทย์ จะต้องออกตามข้อเท็จจริงว่ามารักษาจริงได้ แต่ควรจะต้องหยุดงานหรือไม่ เป็นวิจารณญาณแพทย์ ตามข้อเท็จจริงของโรคครับ"

ล่าสุด เพจโรงพยาบาลบ้านบึง ได้โพสต์ถึง การให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉิน ว่า เจ็บป่วยฉุกเฉิน สามารถรักษาได้ตลอด 24 ชม.

ผู้ป่วยฉุกเฉิน คือ บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน แล้วผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง อาจทำให้การบาดเจ็บนั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้ว ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต จะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0-4 นาที

จำแนกระดับการรักษา

สีแดง: ผู้ป่วยวิกฤต ต้องตรวจรักษาทันที
สีชมพู: เจ็บป่วยรุนแรง
สีเหลือง: เจ็บป่วยปานกลาง
สีเขียว: เจ็บป่วยเล็กน้อย
สีขาว: เจ็บป่วยทั่วไป

อาการแบบไหนเข้าข่ายฉุกเฉิน

  • หมดสติ ไม่หายใจ ไม่รู้สึกตัว
  • หายใจเร็ว เหนื่อย หอบรุนแรง
  • เจ็บหน้าอกรุนแรง
  • ซึมเหงื่อแตก ตัวเย็น มีอาการชัก
  • แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  • อาการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิตและสมอง

นอกจากนี้ เพจเรื่องเล่าจากโรงพยาบาล ยังได้โพสต์ถึงปัญหาห้องฉุกเฉิน คือ ที่มา...ไม่ฉุกเฉิน ที่ฉุกเฉิน ดันไม่มา โดยมีคอมเมนต์หมอหรือเจ้าหน้าที่เคยเจอกรณี ทำไมเป็นขนาดนี้ ถึงเพิ่งมา รวมถึงผู้ที่มาแชร์ในมุมอื่น ๆ เช่น

มุมของผู้ป่วย

มุมมองของแพทย์และเจ้าหน้าที่

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

- แพทยสภาเตือนหมอระวังออก ใบรับรองแพทย์(เท็จ) หลังวันหยุดยาว เผย 5 ข้อสังเกต

- แพทยสภาเผยวิธีตรวจสอบใบรับรองแพทย์ จาก “หมอจริงหรือปลอม..”

เรื่องที่เกี่ยวข้อง