ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ สาธารณสุข
เผยแพร่ครั้งแรก นสพ.โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความเป็นมา

วัตถุประสงค์ของการมีหลักประกันสุขภาพ ก็เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้เมื่อยามเจ็บป่วย และป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากภาระค่ารักษาพยาบาล ซึ่งพัฒนามาเป็นลำดับ เช่น การมีสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการและครอบครัว โครงการบัตรสุขภาพระบบประกันสังคมที่ครอบคลุมด้านการรักษาพยาบาล จนกระทั่งมี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ทำให้คนไทยเข้าถึงหลักประกันสุขภาพด้านการรักษาพยาบาลทุกคน

ปัจจุบันมีระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทย 4 ระบบหลัก ได้แก่ 1.สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว (4.94 ล้านคน)2.ระบบประกันสังคม (9.4 ล้านคน) 3.ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (47.7 ล้านคน) และ4.ระบบอื่นๆ (0.68 ล้านคน) เช่น บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ สส. สว. องค์กรอิสระ เป็นต้น

ความเหลื่อมล้ำของระบบประกันสุขภาพ

ระบบประกันสุขภาพของไทยมีความเหลื่อมล้ำอย่างมาก มีหน่วยงานบริหารที่แตกต่างกัน ค่าใช้จ่ายรายหัว สิทธิประโยชน์ก็แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงปัญหาการจัดสรรทรัพยากรของประเทศที่กลายเป็นความเหลื่อมล้ำของสังคม คนจนได้รับการดูแลที่ด้อยกว่า ขณะที่ สส. สว. ได้รับการดูแลอย่างอภิสิทธิ์ชน

นอกจากนั้น คนไทย 65 ล้านคนทั้งประเทศกว่า 55 ล้านคน รัฐบาลเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด โดยจ่ายให้ สส. สว. คนละ 2 หมื่นบาท/คน/ปี ข้าราชการ 1.2 หมื่นบาท/คน/ปี บัตรทอง 2,546.5 บาท/คน/ปี มีผู้ประกันตนเพียงกลุ่มเดียวที่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลร่วมกับนายจ้างและรัฐบาล คนละ 1 ใน3 เท่ากับรัฐบาลจ่ายเพียง 700 บาท ให้กับผู้ประกันตนเท่านั้น จึงเกิดคำถามสำหรับความไม่เป็นธรรม (Inequity) ต่อรัฐบาลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องว่า ทำไมผู้ประกันตนจึงเป็นคนเพียงกลุ่มเดียวที่จะต้องจ่ายสมทบในการรักษาพยาบาล ขณะที่คนอื่นๆ ไม่ต้องจ่าย

ดูแลผู้ประกันตนเพียงด้านรักษาพยาบาลขาดอีก 3 ด้าน

บริบทด้านการแพทย์จะต้องประกอบด้วย1.การส่งเสริมสุขภาพ 2.การป้องกันโรค 3.การรักษาพยาบาล และ 4.การฟื้นฟูสุขภาพ ระบบประกันสังคมถูกกฎหมายบัญญัติให้ดูแลเฉพาะการรักษาพยาบาลเท่านั้น ขณะที่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าดูแลทั้งหมด 4 ด้าน สำนักงบประมาณจึงจัดงบประมาณสำหรับการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสุขภาพของผู้ประกันตนมาให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นผู้ดูแลแทน การดูแลด้านรักษาพยาบาลของระบบประกันสังคมจึงไม่เป็นองค์รวม ขาดอีก3 ส่วน ทำให้ผู้ประกันตนไม่ได้รับการดูแลทั้งหมดต้องไปขอรับบริการด้านอื่นๆ จากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

จ่ายเงินแต่สิทธิประโยชน์ด้อยกว่าของฟรี

จากการเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ระหว่างประกันสังคมและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ผู้มีสิทธิและผู้ประกันตนได้รับ ณ วันที่ 1 ม.ค.2554 พบว่าผู้ประกันตนเป็นเพียงคนกลุ่มเดียวที่ถูกจำกัดสิทธิให้เจ็บป่วยฉุกเฉินที่ไม่สามารถไปรับบริการที่หน่วยบริการขึ้นทะเบียนได้ไม่เกิน 2 ครั้ง/คน/ปี ทำฟันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง/คน/ปี และมีความแตกต่างอื่นๆ ดังนี้

สิทธิประโยชน์ต่างกัน 13 รายการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าดีกว่า 12 รายการยกเว้นรากฟันเทียมที่ประกันสังคมดีกว่า

สิทธิประโยชน์เหมือนกัน แต่บริหารจัดการต่างกัน 15 รายการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีระบบบริหารจัดการดีกว่าประกันสังคม 14 รายการ ยกเว้นการผ่าตัดสมองที่ประกันสังคมมีการจัดการเฉพาะ แต่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจ่ายแบบกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG)

ยาราคาแพง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีการจัดการให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาราคาแพงมากกว่าประกันสังคม 15 รายการ

อุปกรณ์และอวัยวะเทียม ประกันสังคมมี81 รายการ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามี 270 รายการ

อย่างไรก็ตาม ระบบประกันสังคมยังมีจุดเด่นในเรื่องการชดเชยรายได้ในกรณีเจ็บป่วย หรือลาคลอด ซึ่งเป็นส่วนดีที่ควรมีอยู่ต่อไปสำหรับผู้ที่จ่ายเงินสมทบเอง แต่โดยสรุปในภาพรวมสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าดีกว่าประกันสังคม

กฎหมายประกันสังคมต้องปรับปรุง

พ.ร.บ.ประกันสังคม เกิดขึ้นในปี 2533 กว่า20 ปีมาแล้ว ที่ผู้ประกันตน นายจ้าง และลูกจ้างจ่ายเงินสมทบแล้วจะได้สิทธิประโยชน์ 7 อย่างได้แก่ รักษาพยาบาล คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร และว่างงาน ช่วงนั้นระบบประกันสังคมถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ก้าวหน้า มีหลักคิดสร้างความมั่นคงของสังคม และเป็นสิ่งที่น่ายกย่องชมเชย เพราะกฎหมายฉบับนี้เป็นผลจากการต่อสู้อย่างยาวนานของผู้นำแรงงานและแรงงานทั้งประเทศ แต่ปัจจุบันบริบทของสังคมไทยเปลี่ยนไป เรามี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยทุกคนควรได้รับ ไม่เพียงเท่านั้นรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 51 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และยังมีหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ดูแลด้านสุขภาพโดยเฉพาะ และทำให้คนไทยกว่า55 ล้านคน ไม่ต้องกังวลเมื่อยามเจ็บป่วย วันนี้จึงน่าจะถึงเวลาที่กฎหมายประกันสังคมปี 2533 ต้องทบทวน และปฏิรูปสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระเสียที

ผู้ประกันตนจ่ายเท่าเดิม เพิ่ม 3 ต่อ

ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ก็ยังจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเช่นเดิม โดยผู้ประกันตน 9.4 ล้านคน จะได้เพิ่ม 3 ต่อ คือ 1.ได้สิทธิเท่าคนไทยคนอื่นๆ อีก 55 ล้านคน ที่ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล 2.ได้สิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลอย่างน้อยเท่าบัตรทอง และ 3.นำเงินส่วนที่เหลือกว่าปีละ 2.8 หมื่นล้านบาท ที่เคยต้องจ่ายสำหรับค่ารักษาพยาบาลและค่าคลอด ไปเพิ่มสิทธิประโยชน์อย่างอื่น เช่น การเพิ่มบำนาญชราภาพ เพื่อการสร้างความมั่นคงระยะยาวให้กับผู้ประกันตนยามเกษียณอายุ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงของสังคมในระยะยาวเพราะประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในไม่ช้า หรือนำไปให้ผู้ประกันกู้ในการซื้อบ้านดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น

ถึงเวลาปฏิรูประบบแล้วหรือยัง

หากย้อนไปดูในอดีตที่ผ่านมา ระบบประกันสุขภาพของไทยมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญอยู่ 3 ครั้ง ครั้งแรก ปี 2518 สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ให้สิทธิการรักษาพยาบาลแก่คนจนฟรี ครั้งที่ 2 ปี 2533 ระบบประกันสังคมที่ให้สิทธิการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบ และครั้งที่ 3 ปี 2545 โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เหตุการณ์ทุกครั้งที่ผ่านมาล้วนแต่ส่งผลต่อคนจำนวนมหาศาล และย่อมส่งผลต่อคะแนนนิยมของรัฐบาลอย่างปฏิเสธไม่ได้

วันนี้จึงมีคำถามว่า ถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญของระบบประกันสุขภาพของไทยอีกครั้งแล้วหรือยัง ที่จะทำให้ผู้ประกันตน 9.4 ล้านคน ไม่ต้องจ่ายสมทบค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป และนำเงินสมทบของเขาไปสร้างหลักประกันความมั่นคงอื่นๆ ให้ดียิ่งขึ้น จุดเปลี่ยนครั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเรียกร้องรัฐบาล นักการเมือง หรือหน่วยงานราชการใดๆ เพราะเสียงของผู้ประกันตน 9.4 ล้านคน ที่ประสานเสียงเป็นหนึ่งเดียวกันนั้น ดังพอที่จะทำให้พรรคการเมืองทุกพรรคที่พร้อมจะเลือกตั้งนั้น...ทำตาม

ภาพที่ 1 ระบบสุขภาพและจำนวนประชากรที่ครอบคลุม ปี 2553

 

ตารางที่ 2 ค่าใช้จ่ายต่อหัว และสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสุขภาพต่างๆ

ระบบ

ระบบอื่นๆ

ข้าราชการ

ประกันสังคม

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

สส.

ศาลรัฐธรรมนูญ

สว.

ค่าใช้จ่าย/คน/ปี

(ปี 2554)

20,000

38,000

20,000

12,171

2,323

2,546.48

ผู้จ่ายเงิน

รัฐบาล

รัฐบาล

รัฐบาล

รัฐบาล

ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล

รัฐบาล

หน่วยงานบริหาร

บริษัทเอกชน

บริษัทเอกชน

บริษัทเอกชน

กรมบัญชีกลาง

สปส.

สปสช.

ประเภทหน่วยบริการ

ที่ใดก็ได้

ที่ใดก็ได้

ที่ใดก็ได้

รัฐบาลเท่านั้น

รัฐบาลหรือเอกชนที่เลือกลงทะเบียน

รัฐบาลหรือเอกชนที่เลือกลงทะเบียน

ประเภทของยา

ทั้งในและนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ

ทั้งในและนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ

ทั้งในและนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ

ทั้งในและนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ

ไม่ต่ำกว่ายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ

ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติและยานอกบัญชียาหลักได้ โดยหน่วยบริการเป็นผู้รับผิดชอบ

ผู้ป่วยใน

ค่าห้องและอาหาร/วัน

4,000

(31 วัน/ครั้ง)

6,500

(31 วัน/ครั้ง)

2,000

(31 วัน/ครั้ง)

600

700

อัตราสำหรับห้องสามัญ

ค่าห้อง ไอ ซี ยู

จ่ายตามจริง

13,000

(7 วัน/ครั้ง)

4,000

(15 วัน/ครั้ง)

ตามกลุ่มโรค (DRG)

เหมาจ่าย

ตามกลุ่มโรค (DRG)

ค่ารักษาทั่วไป/ครั้ง

500,000

100,000

30,000

ตามกลุ่มโรค (DRG)

เหมาจ่าย

ตามกลุ่มโรค (DRG)

ค่าผ่าตัด/ครั้ง

500,000 (ตามจริง)

120,000 (ตามจริง)

35,000

จ่ายตามจริง

เหมาจ่าย

ตามกลุ่มโรค (DRG)

ค่าแพทย์เยี่ยมไข้/วัน

3,000

(31 วัน/ครั้ง)

2,000

(31 วัน/ครั้ง)

1,000

(31 วัน/ครั้ง)

ไม่มี

ไม่มี

ไม่มี

ผู้ป่วยนอก

ค่ารักษาพยาบาล

8,000

(วันละ 1 ครั้ง)

2,000

(วันละ 1 ครั้ง)

1,900

(วันละ 1 ครั้ง)

จ่ายตามจริง

จ่ายตามจริง

เหมาจ่ายรายหัว ร่วมกับโครงการพิเศษ

ตรวจสุขภาพประจำปี

16 รายการ(กำหนดให้)

7,000

10 รายการ

ตามเงื่อนไขที่กำหนด

ไม่มี

มี

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง