ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

เคยสงสัย.หรือไม่ว่า ยาที่ใช้อยู่ หรือได้รับมาจากโรงพยาบาลนั้น มาจากไหน เป็นยาอะไรกันบ้าง และมีผลข้างเคียงอย่างไร ซึ่งนอกจากชื่อยาจะยากแล้ว หากลืมเขียนวันหมดอายุมาให้ เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าไม่ได้หยิบยาเสื่อมคุณภาพมารับประทาน และหากเกิดปัญหาขึ้นมา จะสืบค้นถึงแหล่งที่มาของยานั้น ๆ ได้อย่างไร

นี่ก็คือที่มาของ "โครงการพัฒนาฐานข้อมูลยาระดับชาติและระบบสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต" เพื่อการเชื่อมโยงของข้อมูลในโซ่อุปทานสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพและยกระดับความปลอดภัยในการใช้ยาของประชาชน

ผลงานวิจัยของ "ภญ.ดร.จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ" จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ดร.ดวงพรรณ ศฤงคารินทร์ และอ.โสภณ เมืองชู ที่ปรึกษาของวงการโลจิสติกส์ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช)

"ภญ.ดร.จิรพรรณ" เภสัชกรที่สนใจทาง ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ผู้เป็นหัวหน้าโครงการนี้บอกว่า ปัจจุบันการใช้รหัสยาหลากหลายรูปแบบของหน่วยงานต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุปทานสุขภาพ ทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถสื่อสารกันได้ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งมีตั้งแต่ผู้ผลิต บริษัทยา โรงพยาบาล จนกระทั่งถึงคนไข้ ปัญหาดังกล่าวถือเป็นภาระงานต่อโรงพยาบาลเป็นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและประสิทธิภาพการให้บริการของโรงพยาบาล 

ดังนั้นทีมวิจัยจึงเริ่มศึกษาวิจัยถึงรหัสยาที่เหมาะสม โดยเรียกว่า "รหัสยามาตรฐาน"หรือ แนชั่นแนล ดรัก โคด (National Drug Code : NDC) เบื้องต้นใช้รหัสยามาตรฐานของสถาบัน
ฐานข้อมูลยาระดับชาติรหัสสากล หรือที่เรียกว่าจีทิน (GTIN) เป็นตัวอ้างอิง 

แต่การมีรหัสยามาตรฐานอย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลยาควบคู่กันไป ซึ่งฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นนี้จะเรียกว่า "ดรักเน็ต" (DRUGNET) โดยข้อมูลที่จะรวบรวมในฐานข้อมูล ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของยา ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนยา ข้อมูลทางด้านการรักษา โดยมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และข้อมูลทางด้านโลจิสติกส์ 

"ภญ.ดร.จิรพรรณ" บอกว่า จุดเด่นของงานวิจัยนี้คือ รหัสยามาตรฐานที่เลือกใช้จะมีความเป็นอัตลักษณ์  (Unique) สามารถใช้สื่อสารข้อมูลระหว่างหน่วยงานและองค์กรในระดับประเทศ และทั่วโลกได้ ซึ่งตอบโจทย์กระแสการประเทศ และทั่วโลกได้ ซึ่งตอบโจทย์กระแสการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังอยู่ในความสนใจ อ่านได้โดยใช้เครื่องอ่าน เพื่อลดความผิดพลาดจากคน 

ส่วนฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นจะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนโรงพยาบาลได้ประโยชน์ และนำไปสู่การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดต้นทุนรวม และเกิดความปลอดภัยกับผู้ป่วยและประชาชนชาวไทยอย่างเรา ๆ ทุกคน ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้บริโภครายสุดท้ายของซัพพลายเชน

ปัจจุบัน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่หาดใหญ่ และองค์การเภสัชกรรม จะเริ่มโครงการนำร่องในการนำเอาระบบฐานข้อมูล ดังกล่าวไปทดลองใช้จริง กับการเก็บข้อมูลยาของโรงพยาบาล และเมื่อโครงการสำเร็จจะมีการขยายผลสู่โรงพยาบาลอื่นที่ร่วมในโครงการต่อไป 

และจากการนำเอารหัสยามาตรฐานและฐานข้อมูลยา ไปใช้อย่างแพร่หลาย จะนำไปสู่การเกิดเป็น "ฐานข้อมูลยาแห่งชาติ" ในอนาคต

ที่มา : นสพ.เดลินิวส์ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เรื่องที่เกี่ยวข้อง