ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

การจัดสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ ด้วยการนำระบบประกันเข้าไปช่วย หรือโครงการประกันสุขภาพข้าราชการทั้งระบบ กลายเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อ “วิรุฬ เตชะไพบูลย์” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาเปิดเผยแนวคิดเพิ่มเติมจากเดิมที่จะให้ระบบประกันสุขภาพเข้ามารองรับทั้งหมด แต่ติดปัญหาต่อรองอัตราเบี้ยแพงเกินไป จึงเสนอแนวคิดที่จะให้ระบบประกันเข้ามารองรับเฉพาะส่วนคุ้มครองโรคร้ายแรงเท่านั้น พร้อมทั้งสั่งให้กรมบัญชีกลาง ทบทวนผลศึกษาก่อนหน้านี้ เพื่อนำไปหารือกับบริษัทประกันภัยต่อไป

ทั้งนี้ โครงการประกันสุขภาพข้าราชการ เป็นแนวคิดที่กรมบัญชีกลางเริ่ม หารือกับสมาคมประกันชีวิตไทยเมื่อ 2-3 ปีก่อน ผ่านทางสภาธุรกิจประกันภัยไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อควบคุมงบประมาณรายจ่ายประจำไม่ให้เกิน 60% ตามแผนการจัดทำงบสมดุล แต่ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล นโยบายก็เปลี่ยน โดยให้กรมบัญชีกลางไป ศึกษาเรื่องระบบการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานที่ปัจจุบันมีอยู่ 3 กลุ่มหลัก ประกอบ ด้วยข้าราชการ ระบบประกันสังคม และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ให้มีบริการขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นกรมบัญชีกลางจึงได้มอบ หมายให้บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่กระทรวงการคลัง เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ไปศึกษาแนว ทางเบื้องต้น เพื่อให้การรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานของประชาชนคนไทยทั้งหมดอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

ดังนั้น โครงการประกันสุขภาพข้าราชการจึงปรากฏชื่อของทิพยประกันภัย เป็นผู้เข้ามาศึกษาโครงการไปโดยปริยาย แทนที่สมาคมประกันชีวิตไทยที่เท่ากับหลุด จากโครงการนี้ไปเลย เพราะไม่มีการหารือ กันถึงโครงการนี้อีกเลยนับจากนั้น

 “ทิพย” ยึดนโยบาย “ทำเท่าทุน” พร้อมประกันขรก.ทุกรูปแบบ

อย่างไรก็ดี เมื่อกระทรวงการคลังมีแนวคิดใหม่จะทำประกันเฉพาะคุ้มครอง โรคร้ายแรง ในฐานะที่ทิพยประกันภัยเป็น ผู้ศึกษาโครงการในขณะนี้ “สมพร สืบถวิลกุล” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ว่า ขึ้นกับกระทรวงการคลังว่าต้องการจะให้เข้าไปรับประกันอะไรบ้าง ซึ่ง หากว่าจะให้รับประกันเฉพาะโรคร้ายแรง บริษัทก็จะมาประเมินความเสี่ยง โดยนำสถิติค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคร้ายแรงของข้าราชการมาศึกษาว่าเป็นเท่าไร เพื่อที่จะหารูปแบบความคุ้มครองที่เหมาะสม

“ถามว่าหากทิพยฯ จะประกันสุขภาพ ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ ทั้งระบบได้หรือไม่ จริงๆ หากเอางบค่ารักษาพยาบาล ข้าราชการทั้งหมดที่ใช้อยู่ประมาณ 60,000 ล้านบาทต่อปีมาจัดทำประ กันก็ถือว่าทำได้ โดยทางเราก็จะประเมินความเสี่ยง เอาสถิติค่าใช้จ่ายมาดูว่าเป็นเท่าไร แล้วก็นำมาจัดสวัสดิการ ซึ่งหากทำก็จะเป็นโครงการ “ทำเท่าทุน” (ททท) ของทิพยฯ อีกโครงการหนึ่งด้วย”

ทั้งนี้ ค่ารักษาพยาบาลข้าราชการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10-15% ต่อปี โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา งบประมาณค่ารักษาพยาบาลเติบโต 15-18% หรือเพิ่มจาก 40,000 ล้านบาท มาเป็น 60,000 ล้านบาท หากไม่มีการ บริหารจัดการก็จะต้องเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นทิพยฯ จึงเสนอให้นำมาทำประกันโดยไม่หวังผลกำไร แต่เพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย

 “ที่กล้าเสนอแนวคิดนี้ เพราะทำได้จริงมาแล้ว เมื่อครั้งที่ผมอยู่บริษัทกลางคุ้ม ครองผู้ประสบภัยจากรถ ที่เข้าไปรับประกันรถจักรยานยนต์ ซึ่งตอนนั้นไม่มีบริษัทใด อยากรับเพราะขาดทุน แต่เมื่อบริษัทกลางฯ เข้าไปบริหารจัดการก็ทำให้ไม่ขาดทุน โดยกำไรจะมาจากการลงทุนก็นำมาช่วยเสริมในการบริหารจัดการไม่ให้ขาดทุนได้”

วินาศภัยส้มหล่น! ทิพยฯ แบ่งเค้กสเปก “เงินกองทุน” ปึ้กร่วม “พูล”

 “สมพร” กล่าวว่า เนื่องจากเป็นโครง การขนาดใหญ่ ทิพยฯ จึงไม่อาจจะรับเสี่ยง ภัยเองได้ หรือหากจะรับเองที่สุดแล้วก็ต้อง ส่งงานประกันต่อให้กับรีอินชัวเรอส์ ดังนั้น จึงจะตั้งพูล (Pool) ขึ้นมาร่วมรับประกัน โดยทิพยฯ เป็นแกนกลางร่วมกับบริษัทประกันวินาศภัยรายอื่นๆ ที่สนใจจะเข้ามา ร่วมรับประกัน

 “เราได้เชิญบริษัทสมาชิกสมาคมประกันวินาศภัยมาหารือในเรื่องนี้ไว้ ใครสนใจจะเข้ามาร่วมรับประกันในสัดส่วนเท่าไร ก็ได้ โดยที่ทิพยฯ เป็นแกนกลาง ซึ่งส่วนที่ เหลือทิพยฯ ก็จะรับประกันไว้หมดก่อนที่จะรีต่อต่างประเทศ ส่วนการคัดเลือกบริษัท ที่จะเข้าร่วมนั้น จะพิจารณาคุณสมบัติประกอบ เช่น อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกอง ทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย (CAR Ratio) เป็นต้น เพราะเป็นงานขนาดใหญ่ จึงต้องมีระดับเงินกองทุนที่ดีรองรับด้วย ส่วนจะทำเมื่อไหร่นั้นขึ้นกับภาครัฐ”

--สยามธุรกิจฉบับวันที่ 15 - 17 ส.ค. 2555--

เรื่องที่เกี่ยวข้อง