ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

เครือข่ายควบคุมการบริโภคยาสูบอาเซียน (SEATCA) เผยว่าชาวไร่ยาสูบไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการบริโภคยาสูบตามที่มีการกล่าวอ้าง

องค์กร SEATCA กล่าวว่าบริษัทผลิตยาสูบข้ามชาติยักษ์ใหญ่ ได้สนับสนุนการดำเนินงานของ สมาคมผู้ปลูกยาสูบนานาชาติ (International Tobacco Growers Association, ITGA) ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาสมาคมนี้ได้ให้ข้อมูลว่ามาตรการต่างๆ ในการควบคุมการบริโภคยาสูบที่องค์การอนามัยโลกเสนอ จะทำลายอาชีพของชาวไร่ยาสูบ และปลุกระดมให้ชาวไร่ยาสูบลุกขึ้นมาคัดค้านมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยกลุ่มชาวไร่ยาสูบได้ลุกขึ้นมาคัดค้านร่างกฎหมายการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยอ้างว่ากฎหมายฉบับใหม่นี้จะสร้างผลกระทบต่อชาวไร่ยาสูบ

ศ.นพ.ประกิจ วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เผยว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีมาตรการและกิจกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบที่มีประสิทธิภาพในภูมิภาค ทำให้อัตราการบริโภคยาสูบในเพศชายลดลงมาจาก 60% ในปี พ.ศ.2544 เหลือ 42% ในปี พ.ศ.2554 ขณะที่จำนวนผู้สูบบุหรี่ยังอยู่ที่ 10 ล้านคน เพราะประชากรที่เพิ่มขึ้น ผลก็คือปริมาณการขายยาสูบไม่ได้ลดลง แต่ยอดผลิตของโรงงานยาสูบลดลง เพราะส่วนแบ่งตลาดของโรงงานยาสูบลดลงเนื่องจากยาสูบนำเข้าได้เข้ามาตีตลาดยาสูบภายในประเทศมากขึ้น

องค์กร SEATCA กล่าวว่าในหลายสิบปีที่ผ่านมาการปลูกยาสูบทำให้ชาวไร่ติดอยู่ในกับดักของความยากจน ขณะที่การปลูกยาสูบไม่ก่อให้เกิดผลบวกต่อระบบเศรษฐกิจที่มีนัยยะสำคัญต่อระบบการจ้างงานและการเกษตรกรรมโดยรวมในประเทศกลุ่มอาเซียน ตัวเลขการจำนวนชาวไร่ยาสูบมีสัดส่วนเท่ากับ 0.42% ของการจ้างงานโดยรวมของชาติข้อมูลจากงานวิจัยทั้งหลายยังพบว่ารายได้จากการทำไร่ยาสูบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีมูลค่าต่ำและไม่มีนัยยะสำคัญ โดยมีสัดส่วน 0.82% ในประเทศมาเลเซีย 0.42% ในประเทศฟิลิปปินส์และ 0.35% ในประเทศไทย

Mary Assunta ที่ปรึกษาด้านนโยบายอาวุโสของ SEATCA ให้คำแนะนำว่าประเทศทั้งหลายควรปฎิบัติตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ ประเทศภาคีจำนวน 176 ประเทศได้ตกลงร่วมกันเพื่อเสนอทางเลือกทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพให้แก่ผู้ปลูกยาสูบ Mary กล่าวว่ายังมีพันธุ์พืชอื่นๆ อีกหลายประเภทที่จะให้ค่าตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า  ชาวไร่ยาสูบหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนเริ่มเปลี่ยนไปทำเกษตรกรรมกับพืชชนิดอื่น เช่น

-         ชาวไร่ยาสูบในประเทศมาเลเซียได้เปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชประเภทอื่นโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลตั้งแต่ปีพ.ศ.2548  รองรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการค้ากล่าวเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วว่า ชาวไร่ยาสูบในประเทศมาเลเซียได้เปลี่ยนไปเป็นพืชตระกูลปอ และรัฐบาลก็ได้สนับสนุนงบประมาณจำนวน 751 ดอลลาห์สหรัฐฯต่อ 1เฮคเตอร์ รวมโบนัสแก่ชาวไร่ยาสูบ เมื่อพวกเขาเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่น

-         งานวิจัยในประเทศกัมพูชาเมื่อปีพ.ศ. 2552 พบว่าเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา 40% ของชาวไร่ยาสูบได้เปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่น ชาวไร่พบว่าการเพาะปลูกยาสูบได้กำไรน้อยกว่าการเพาะปลูกพืชชนิดอื่นเนื่องจากมีต้นทุนสูงและราคายาสูบเปลี่ยนแปลงไปตามราคายาสูบในตลาดโลก

องค์กร SEATCA ได้สร้างเว็บไซด์ WWW.SAVEOURFARMER.ORG เพื่อนำเสนอข้อมูลและสถิติที่เป็นจริงเกี่ยวกับการปลูกยาสูบ และไม่มีความประสงค์ที่จะสร้างความตื่นตระหนกให้แก่ชาวไร่ยาสูบแต่อย่างใด พวกเขายังคงมีสิทธิเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของเขา  เว็บไซด์นี้ยังนำเสนอข้อมูลและประสบการณ์จริงจากหลายประเทศเรื่องการทำเกษตรและการทำไร่ทางเลือก

เรื่องที่เกี่ยวข้อง