ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

คมชัดลึก - แม้เผชิญอุปสรรคมากมายจากความพยายามสกัดกั้นและเหนี่ยวรั้งทางการเมือง แต่กฎหมายประกันสุขภาพที่เข้าถึงได้  Affordable Care Act หรือที่รู้จักกันในชื่อเล่นว่า โอบามาแคร์  ผลงานที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ภาคภูมิใจที่สุด ได้เดินทางมาถึงวันที่เปิดให้ชาวอเมริกันหลายล้านที่ไม่มีประกันสุขภาพ ลงทะเบียนซื้อประกันผ่านช่องทางออนไลน์ เมื่อวันอังคารที่ 1 ตุลาคม วันเดียวกับการเริ่มต้นปิดหน่วยงานรัฐบาลกลาง หรือ government shutdown เป็นวันแรก และครั้งแรกในรอบเกือบ 18 ปี หลังจากที่สภาคองเกรส หรือรัฐสภาสหรัฐ ไม่สามารถทำความตกลงผ่านร่างกฎหมายจัดสรรงบประมาณประจำปี 2557 แก่หน่วยงานรัฐบาลกลาง ได้ก่อนเส้นตายเที่ยงคืนวันที่ 30 กันยายนได้ โดยมี  "โอบามาแคร์" ถูกนำมาผูกโยงเป็นเงื่อนไข

แม้กฎหมายนี้ได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรสแล้ว ประธานาธิบดีลงนามแล้ว และศาลสูงสุดก็ได้ตัดสินแล้วว่า การบังคับพลเมืองซื้อประกันสุขภาพ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แต่แกนนำของพรรครีพับลิกันยังไม่วายพยายามให้เลื่อนการบังคับใช้ หรือตัดการสนับสนุนจนถึงโอกาสสุดท้าย ด้วยการนำมาพ่วงเป็นเงื่อนไขแลกการอนุมัติงบประมาณ ทั้งที่สองกฎหมายนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง ซึ่งการทำเช่นนี้ เพื่อเพิ่มฐานเสียงของฝ่ายอนุรักษนิยม ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาคองเกรสกลางสมัยในปี 2557 แต่ฝ่ายเดโมแครตก็ไม่ยอมให้อีกฝ่ายมาบั่นทอนนโยบายที่ถือเป็นจุดขายของโอบามาได้เช่นกัน

อย่างไรก็ดี งบประมาณที่ยังค้างอยู่ในคองเกรส ทำให้หน่วยงานภาครัฐบางส่วนเบิกจ่ายงบก้อนใหม่ไม่ได้จนต้องปิดทำการ ลูกจ้างรัฐตกงานกว่า 8 แสน กับกระทบชีวิตชาวอเมริกันในรูปแบบต่างๆ อีกหลายล้านคนครั้งนี้ มิได้กระทบต่อโอบามาแคร์ เพราะงบสนับสนุนมาจากภาษีและค่าธรรมเนียมใหม่ๆ ตลอดจนการลดค่าใช้จ่ายในโครงการอื่นๆ อย่างระบบประกันสังคมเมดิแคร์ และทุนสนับสนุนในรูปแบบอื่นๆ ที่ยังดำเนินการได้ตามปกติแม้มีการปิดหน่วยงานภาครัฐ

ก่อนหน้านี้ คองเกรสชันแนล รีเสิร์ช หน่วยวิจัยของสภา คองเกรส ได้ส่งหนังสือถึงส.ว.รีพับลิกัน ทอม โคเบิร์น จากรัฐโอคลาโฮมา แกนนำกลุ่มอนุรักษนิยมสุดขั้ว  ที ปาร์ตี แล้วว่า ความพยายามที่จะใช้ชัตดาวน์ มาเป็นเครื่องต่อรอง บังคับให้เดโมแครต ชะลอการบังคับใช้โอบามาแคร์ จะไม่ได้ผล เพราะกฎหมายนี้จะเดินหน้าได้ไม่ว่าจะ ชัตดาวน์หรือไม่

เป้าหมายของโอบามาแคร์ คือ การทำให้บริการระบบสาธารณสุขเป็นสิทธิที่ทุกคนควรมี ให้ชาวอเมริกันหลายสิบล้านคนสามารถซื้อหาประกันสุขภาพในราคาตามกำลังจ่ายได้ตามชื่อกฎหมาย  โดยที่รัฐบาลจะใช้เงินอุดหนุนให้ประชาชนซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทเอกชน และปรับเงินคนที่ไม่ซื้อประกัน

ดร.ชัยชนะ อิงควัต จากคณะรัฐศาสตร์ รามคำแหง อธิบายว่า การต่อต้านโอบามาแคร์ของพรรครีพับลิกัน นอกจากเป็นเกมการเมืองแล้ว ยังมาจากหลักคิดที่ว่า คนต้องช่วยตัวเอง รัฐไม่ควรแทรกแซงในเรื่องไม่จำเป็น รัฐบาลจะต้องเล็ก (less government) สนับสนุนการลดภาษีเพื่อให้ธุรกิจเอกชนเติบโต เมื่อเติบโตก็จะนำไปสู่การจ้างงาน การปฏิรูประบบสาธารณสุขของโอมาบา จึงถูกมองว่าคือการแทรกแซงมากเกินไป จะทำให้คนง่อยเปลี้ย ไม่ทำงาน ไม่ต่อสู้  นอกจากนี้ ชาวอเมริกันยังมีความเชื่อโดยทั่วไปว่า การประกันสุขภาพเป็นเรื่องของภาคเอกชน รัฐไม่ควรเข้ามาเพราะไม่ใช่หน้าที่ ควรเป็นภาคประชาชนที่ดูแลตัวเอง เมื่อรัฐบาลเข้ามาอุ้ม นโยบายนี้จึงมีผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนไม่น้อยแม้ แต่คนที่จะได้รับประโยชน์ก็ตาม

การงัดข้อทางการเมืองในสหรัฐ จนพาสู่วิกฤติชัตดาวน์ นอกจากเป็นเรื่องระหว่างสองพรรคแล้ว ยังเป็นการต่อสู้กันของกลุ่มอนุรักษนิยมสุดขั้วภายใต้กลุ่มที ปาร์ตี้ ในรีพับลิกัน ที่มองเป้าหมายเชิงอุดมการณ์ระยะยาว กับสมาชิกสภานิติบัญญัติสายกลางที่ห่วงกังวลว่าจะสูญเสียที่นั่งในการเลือกตั้งกลางสมัยปีหน้า

ในตอนแรก นายจอห์น เบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ลังเลที่จะพ่วงโอบามาแคร์ กับร่างกฎหมายจัดสรรงบแก่หน่วยงานรัฐบาลกลาง เนื่องจากเกรงว่าผู้คนจะกล่าวโทษรีพับลิกันเป็นต้นเหตุของภาวะชัตดาวน์ที่ตามมา และตัดโอกาสเลือกตั้งเหมือนเมื่อครั้งที่นายนูวท์ กิงกริช ประธานสภา ต่อสู้เรื่องงบประมาณเดียวกันนี้กับประธานาธิบดีบิล คลินตัน จนต้องงานภาครัฐยาวนาน  21 วันเมื่อ 18 ปีก่อน  แต่ด้วยอิทธิพลของ  ที ปาร์ตี้ มุ้งอนุรักษนิยมสุดโต่งในสภาล่าง  ได้ผนึกกำลังกันบังคับให้นายเบห์เนอร์ ใช้ยุทธศาสตร์เผชิญหน้าในที่สุด

นายเบห์เนอร์ เคยทำข้อตกลงนาทีสุดท้ายกับรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในฐานะประธานวุฒิสภาสหรัฐ จนหลีกพ้นวิกฤติหน้าผาการคลังมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนมกราคม แต่ครั้งนั้นได้สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้แก่กลุ่มฝ่ายขวาในพรรคของเขา ในครั้งนี้ นายเบห์เนอร์จึงไม่ได้รับการสนับสนุนมากนักจากนายเอริค คันเทอร์ ผู้นำเสียงข้างมากในสภาผู้แทนฯ ซึ่งเชื่อกันว่าเล็งเก้าอี้ประธานสภาฯ อยู่ และนายเควิน  แมคคาร์ธี ผู้ประสานงานพรรครีพับลิกัน ที่ใกล้ชิดกับที ปาร์ตี้ กระนั้น เชื่อกันว่าเสียงส่วนใหญ่ในพรรครีพับลิกันเองก่อนหน้านี้ ไม่ได้ต่อต้านรัฐบาลแบบหัวชนฝาเหมือนที ปาร์ตี้ แต่นาย เบห์เนอร์กลับไม่ได้ใช้ข้อได้เปรียบเรื่องจำนวนเสียง กลุ่มนี้ให้เป็นประโยชน์

ขณะที่แกนนำคนสำคัญของพรรคทั้งหลายก็เต็มใจปล่อยให้ทีปาร์ตีชี้นำเพราะพวกเให้ ที ปาร์ตี ชี้นำ เพราะพวกเขาต้องการเสียงสนับสนุนจากฝ่ายขาอนุรักษนิยมในการเลือกตั้งกลาอนุรักษนิยมในการเลือกตั้งกลางสมัยปีหน้าเช่นกัน แต่นายแฮรรี รีด ผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาจากผู้นำเสียงข้างมากในวุฒิสภาจากเดโมแครต ก็ใช่ว่าจะรอดพ้นจากเสียงตำหนิ เพราะเป็นคนที่เรียเสียงตำหนิ เพราะเป็นคนที่เรียกร้องไม่ให้ประธานาธิบดีบารัก  โอบามา เจรจากับรีพับลิกัน

สภาคองเกรสงัดข้อกันเรื่องงบประมาณของรัฐบาลกลางมาตลอด นับตั้งแต่เดโมแครตเสียเสียงข้างมากในสภาล่าง เมื่อปี 2553 และเล่นเกมหมิ่นเหม่วิกฤติแต่ผ่านพ้นในนาทีสุดท้ายมาได้ แต่ครั้งนี้มีความแตกต่างตรงที่ความขัดแย้งยังยากประสานต่างฝ่ายต่างแสดงท่าทีแข็งกร้าวและเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าการปิดหน่วยงานภาครัฐครั้งหลังสุด การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐ ยังเปราะบาง และอาจกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้หากภาวะชัตดาวน์ยืดเยื้อหลายวัน

ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าคือ สภาคองเกรสจะต้องทำความตกลงเรื่องการเพิ่มเพดานหนี้ ในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ หากชัตดาวน์ยังไม่ยุติภายในหนึ่งสัปดาห์ และสถานการณ์การแบ่งขั้วทางการเมืองยังไม่เปลี่ยน เมื่อนั้น วิกฤติการเผชิญหน้าในสหรัฐจะไม่เดือดร้อนแค่ลูกจ้างรัฐบาลกลาง แต่จะรวมถึงเศรษฐกิจโลกอย่างแน่นอน

เหตุผลที่รีพับลิกันต่อต้าน

- สวนทางจุดยืนตลาดเสรี การที่รัฐบาลเข้ามาตั้งกฎบังคับบริษัทประกันชีวิตและโรงพยาบาลเอกชน ถือเป็นการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ

- บังคับให้ประชาชนต้องซื้อประกัน ด้วยการปรับคนที่ไม่ซื้อ ถือเป็นการละเมิดเสรีภาพส่วนบุคคล

- ทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ รัฐบาลโอบามาประเมินว่า ระยะ 10 ปีแรก รัฐบาลจะต้องใช้เงินไปกับ "โอบามาแคร์" ประมาณ 1.1 ล้านล้านดอลลาร์ แต่รีพับลิกัน บางคนประเมินว่าค่าใช้จ่ายจริงอาจสูงกว่านี้ ประมาณ 2 เท่าครึ่ง

- ทำให้คนตกงาน การบังคับบริษัทเอกชนต้องซื้อประกันให้ลูกจ้าง จะทำให้บริษัททั้งหลายพากันลดคนงาน และจ้างลูกจ้างพาร์ทไทม์ แทนลูกจ้างฟูลไทม์ เพียงเลี่ยงค่าประกันสุขภาพ

สาระสำคัญ โอบามาแคร์

- รัฐบาลใช้เงินอุดหนุนให้ประชาชนซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันเอกชน และปรับเงินคนที่ไม่ยอมซื้อประกัน

- บังคับให้บริษัทเอกชนที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป ต้องซื้อประกันสุขภาพให้ลูกจ้าง

- บังคับบริษัทประกันให้ขายประกันให้ทุกคนในราคาเดียวกัน โดยไม่แบ่งแยกระหว่างผู้อายุมากกับอายุน้อย พิการ/ไม่พิการ  มีโรคฐไม่มีโรค

- ขยายจำนวนผู้ที่จะใช้บริการรักษาพยาบาลของรัฐ ภายใต้โครงการเมดิเคดเพิ่มขึ้น (เดิมคนที่มีสิทธิใช้บริการนี้คือคนจน ที่รายได้ต่ำกว่าเส้นวัดระดับความยากจน 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป่น "โอบามาแคร์" คนที่มีรายได้สูงกว่าเส้นวัดระดับความยากจนไม่เกิน 33 เปอร์เซ็นต์ ก็ยังสามารถใช้บริการได้

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก  วันที่ 3 ตุลาคม 2556

เรื่องที่เกี่ยวข้อง