ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

แพทย์เผยผู้สูงอายุออกกำลังกายได้ แต่มีข้อควรระวัง ประเมินตัวเองก่อนป่วยโรคประจำตัวหรือไม่ พร้อมแนะวิธีเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสม หลังชายสูงวัยยกน้ำหนัก 120 กก. จนเสียชีวิต

ตามที่มีข่าวพบผู้สูงอายุ 60 ปี เสียชีวิตกลางฟิตเนส หลังยกน้ำหนัก 120 กิโลกรัม โดยเรื่องราวดังกล่าวเปิดเผยโดยสมาชิกเฟซบุ๊ก Chatmongkon Bright Thumrongsombut โพสต์ระบุว่า “ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจด้วยครับ ที่ผมโพสไม่ได้จะเจตนาโจมตีอะไร ก่อนที่คุณจะยุให้เขาเล่นน้ำหนักตามที่คุณเล่น คุณควรดูอายุ ความแข็งแรง ระบบหัวใจเขาด้วย ไม่ใช่จะให้เขาเล่นตามคุณอย่างเดียว ความแข็งแรงของเราไม่เท่ากันนะครับ ฝากถึงพวกอีโก้สูงนะครับ ยุกันจังเลย ไหวๆคุณอะไหว แต่เขาไม่ไหวไง อายุแกก็ปาไป 60 กว่าแล้ว ยังจะให้เขามา Squat 120 Kg อีกเหรอ ขนาดผมยังหนักเลยครับ ลงไว้เพื่อเป็นอุทาหรณ์นะครับ” โดยผู้โพสต์ได้ระบุเพิ่มเติมว่า ผู้ยกน้ำหนักรายดังกล่าว เกิดอาการช็อกและเสียชีวิต” ปรากฎว่าเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า จริงๆ แล้วผู้สูงอายุต้องออกกำลังกายอย่างไร และการยกน้ำหนักเป็นข้อหามหรือไม่

นพ.อุดม อัศวุตมางกุร

ความคืบหน้าเรื่องนี้วันที่ 8 พ.ย.2562 นพ.อุดม อัศวุตมางกุร ผู้อำนวยการกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวว่า ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า มีโรคประจำตัวอะไรหรือไม่ อย่างโรคหัวใจ ก็ต้องระวัง คือ ก่อนออกกำลังกายต้องประเมินตัวเองก่อนว่า ร่างกายเป็นอย่างไร มีโรคอะไรที่ห้ามออกกำลังกายหนักๆ อย่างการยกน้ำหนักมากๆ บางช่วงจะต้องกลั้นหายใจ ทำให้การหมุนเวียนเลือดผิดปกติ หากร่างกายไม่พร้อม ก็มีความเสี่ยงวูบ เพราะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ก็เหมือนกับคนทั่วไปเมื่อเรานั่งนานๆ แล้วลุกขึ้นอย่างรวดเร็วยังรู้สึกวูบได้ แต่ในผู้สูงอายุจะยิ่งอันตราย

“แต่ไม่ใช่ว่าห้ามผู้สูงอายุออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์สำหรับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ จะทำให้อายุยืนยาว อย่างคนไม่ป่วยก็จะยิ่งแข็งแรง หรือช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อม ที่สำคัญทำให้จิตใจสดชื่น และยังเป็นการปรับฮอร์โมนต่างๆ ทำให้นอนหลับสบายขึ้น และผู้สูงอายุเมื่อไปออกกำลังกายก็จะทำให้อยู่ในสังคม เจอเพื่อนฝูง มีชีวิตในสังคมได้นานขึ้น” นพ.อุดม กล่าว

นพ.อุดม กล่าวอีกว่า การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ต้องเริ่มจากเบาๆไปหนัก ช้าๆ ไปเร็ว แต่ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานความพอดี อย่างเริ่มจากการเดินก่อน เดินช้าๆ แล้วค่อยเดินไว หรือวิ่งเหยาะๆ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของร่างกาย แต่ที่ต้องระวังคือ หากระหว่างการออกกำลังกายแล้วรู้สึกแน่นหน้าอก ใจสั่น จุก ต้องหยุดพัก และหากควรไป