ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

หนึ่งในบริษัทบัญชีนวัตกรรมไทยและสิ่งประดิษฐ์ไทย คิดค้นระบบดูดละอองฝอยจากการทำ ช่วยทันตแพทย์ลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 เป็นต้นมา ทำให้ทันตแพทย์และโรงพยาบาลที่มีแผนกทันตกรรมทั่วประเทศได้รับผลกระทบและเกิดความกังวลถึงเรื่องการติดเชื้อในห้องทำฟันและยังไม่มีเครื่องมือแพทย์เพื่อป้องกันโควิด-19 ติดต่อจากคนไข้สู่ทันตแพทย์

นายประพันธ์ วิไลเลิศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเด็นทอล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หนึ่งในบริษัทที่ได้ขึ้นบัญชีนวัตกรรมไทยและสิ่งประดิษฐ์ไทย ได้เริ่มวิจัยพัฒนาเครื่องมือแพทย์ของทันตกรรมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยได้ผลิตเครื่องมือแพทย์ออกมาจำนวน 2 ชนิด ประกอบด้วย 1.เครื่องดูดละอองน้ำจากบริเวณปากคนไข้ ระบายอากาศออกสู่นอกอาคาร โดยนวัตกรรมนี้จะช่วยดูดละอองฝอย (Aerosal) จากการทำหัตถการกรอฟันที่มีละอองน้ำจำนวนมากฟุ้งกระจายออกมาจากบริเวณปากของคนไข้ออกไปนอกอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบแรงดูดสุญญากาศแรงดูดสูง พลังของมอเตอร์แรงดูดสุญญากาศที่ 500W และระบบแรงดูดสุญญากาศที่มีความเร็วลมด้วยอัตราการไหลของอากาศที่มีความเร็วสูงที่ 50.4 กม./ชม. หรือความเร็วลมที่ 14 เมตร/วินาที จึงทำให้เกิดแรงดูดละอองน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยละอองน้ำจะถูกดูดผ่านท่อดูดขนาด 3 นิ้วซึ่งติดตั้งบริเวณฝ้าเพื้อให้ความสะดวกและคล้องตัวในการใช้งานกับทันตแพทย์และผู้ช่วยและกับคนไข้ด้วย

2.ระบบ motor suction ที่มีแรงดูดสูงได้ถึง - 640 mmHg ซึ่งในตลาดทั่วๆ ไปมีแรงดูดอยู่ที่ -100ถึง-200 mmHg เท่านั้น แรงดูดที่น้อยจึงไม่สามารถดูดละอองน้ำที่ลอยอยู่ในอากาศได้ บริษัทจึงพัฒนา motor suction รุ่น TDI-MS-01 ขึ้นมาเพื่อให้มีแรงดูดที่สูงได้ถึง -640 mmHg เพื่อให้สามารถดูดละอองน้ำได้ โดยมาพร้อมกับระบบฟอกอากาศทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพในการฟอกอากาศเสียให้เป็นอากาศบริสุทธิ์บริเวณลำตัวและปลายเท้าของคนไข้ มีกรอง Hepa Filter ที่มีคุณภาพสูงเพื่อกรองเชื้อโรค นอกจากนี้ ระบบเครื่องฟอกอากาศนี้ยังมีระบบควบคุมทิศทางการไหลของอากาศให้วิ่งไปทางปลายเท้าของคนไข้เท่านั้น เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่ฟุ้งกระจายอยู่ในห้องทำฟัน ให้ไหลไปกับอากาศให้ไหลไปทางปลายเท้าคนไข้เท่านั้น ทันตแพทย์จึงปลอดภัยมากขึ้น

นายประพันธ์ กล่าวต่อว่า จุดเด่นอีกประการของนวัตกรรมดังกล่าวคือเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศไทย ต้นทุนจะต่ำกว่าของต่างประเทศประมาญ 30-50% เช่น ระบบ motor suction ของต่างประเทศราคาจะขายอยู่ที่ 55,000-100,000 บาท แต่บริษัทผลิตได้เองภายในประเทศจึงสามารถขายราคาได้ต่ำกว่าต่างประเทศ ขณะที่บริการหลังการขายและอะไหล่จะมีราคาที่ถูกกว่า สามารถมีอะไหล่บริการหลังการขายให้กับลูกค้าได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมดังกล่าวได้ส่งตรวจกับสถาบัน PTEC หรือศูนย์ทดสอบผลิดตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทดสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพต่างๆ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง