ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เปิดห้องฉุกเฉินอัจฉริยะ รพ.ถ้ำพรรณรา โรงพยาบาลชุมชน พัฒนาระบบเพิ่มความปลอดภัยทั้งเจ้าหน้าที่ และผู้รับบริการ

นพ.ปกป้อง เศวตชนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลถ้ำพรรณรา  กล่าวภายหลังพิธีเปิด“ห้องฉุกเฉินอัจฉริยะ 4.0” เมื่อเร็วๆนี้ โดยมีท่านไกรสร วิศิษฏ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชให้เกียรติเป็นประธาน ว่า แรงบันดาลใจในการปฏิรูปห้องฉุกเฉินอัจฉริยะ 4.0 (smart ER 4.0) เป็นครั้งแรกของโรงพยาบาลชุมชนนั้น เพราะปัจจุบันเป็นยุค Digital Disruption จึงนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ป้องกันการประทุษร้ายกันในห้องฉุกเฉิน และลดปัญหาการร้องเรียนเรื่องต่างๆเช่น การรอคอย และอุบัติการณ์ และตอบโจทย์ 2P safety คือผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่มีความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งอยากให้โครงการดีๆนี้ได้เป็นต้นแบบให้โรงพยาบาลอื่นๆในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้นำไปปรับใช้ เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ


โดยห้องฉุกเฉินอัจฉริยะ 4.0 (Smart ER 4.0) มีนวัตกรรมดังต่อไปนี้

1) Digital triage คือการจัดลำดับความฉุกเฉินด้วยระบบดิจิตอล ญาติและผู้ป่วยสามารถอัพเดตสถานะการรับบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง แบบ real-time ผ่านทางจอมอนิเตอร์หน้าห้องฉุกเฉิน หรือแสกน QR code เมื่อเช็คสถานะทางมือถือได้ ทำให้รู้ว่าต้องรออีกประมาณกี่นาทีถึงจะได้ตรวจ หรือญาติที่อยู่ในห้องฉุกเฉินกำลังได้รับการรักษาอยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว เป็นการลดข้อร้องเรียน

2) ระบบ Pateint Tag เป็นการสแกนข้อมือ โดยมีสายรัดข้อมือ (Wrist band) จำแนกตามสีของความฉุกเฉิน และมี QR code สำหรับใช้เครื่องสแกน เพื่อระบุตัวตนผู้ป่วย ป้องการให้ยาผิดขนาด ผิดประเภทและผิดคน อีกทั้งยังสามารถอัพเดตสถานะผู้ป่วย โดยเชื่อมโยงกับจอมอนิเตอร์หน้าห้องฉุกเฉิน เป็นการตอบโจทย์ Pateint Safety Goal คือผู้ป่วยต้องมีความปลอดภัยสูงสุด

3) ระบบ Big data และ Algoritm ห้องฉุกเฉินสามารถนำข้อมูลเชิงลึกทั้งหมดของผู้ป่วยทุกคนมาวิเคราะห์ได้อย่างละเอียด แสดงเป็นกราฟและแผนภูมิดิจิตอล เช่น ห้องฉุกเฉินในแต่ละวัน ช่วงเวลาไหนที่ผู้ป่วยมารับบริการเยอะที่สุด มีผู้ป่วยกลุ่มโรคใดบ้าง คิดเป็นสัดส่วนกี่ % ผู้ป่วยแต่ละกลุ่มโรค เช่นโรคหัวใจ ใช้เวลารักษาเฉลี่ยกี่นาที, ระยะเวลาคอยเฉลี่ยนานกี่นาที ระยะเวลารอคอยระหว่างส่งต่อนานกี่นาทีหัตถการอะไรที่ทำบ่อยที่สุดในห้องฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำ Data ที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ไปพัฒนาระบบบริการที่เป็นประโยชน์กับคนไข้ในอนาคตได้อีกมากมาย เช่น การประกันเวลา door to needle ในกลุ่มโรคหลอดเลือดหัวใจ

4) ระบบประตูล็อค เปิดปิดอัติโนมัติ แบบสั่งการด้วยรีโมท และแสกนลายนิ้วมือ ญาติหรือคนนอกไม่สามารถเข้าไปภายในห้องฉุกเฉินได้ ก่อนได้รับอนุญาต เพื่อป้องกันการประทุษร้าย และลดความตึงเครียด และในอนาคตจะมีการต่อยอด ในเฟสที่ 2 ของห้องฉุกเฉินอัจฉริยะ 4.0 ต่อไป

ภาพจากรพ.ถ้ำพรรณรา 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง