ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนโครงการเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก เพื่อเป็นการสื่อสาร สร้างกระแส ความร่วมมือพัฒนาทักษะผู้อำนวยการเล่น (Play Worker) และสร้างพื้นที่ต้นแบบเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกที่เหมาะสมตามบริบท เอื้อให้เด็กได้เล่นอย่างเต็มศักยภาพครอบคลุมทุกตำบล

วันนี้ (17 กุมภาพันธ์ 2564) นายธนิตพล ไชยนันทน์ดร.สาธิต ปิตุเตชะ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานมหกรรมขับเคลื่อนต้นแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและชุมชน “เล่นเปลี่ยนโลก” ณ ลานจอดรถ อาคาร 5 กรมอนามัย ว่า การเล่นของเด็กเป็นการเล่นอย่างอิสระ (Free play) และเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เด็กจะมีส่วนร่วมในการออกแบบการเล่น ช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดความสนุกสนาน สร้างจินตนาการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะการเรียนรู้ทางด้านสมอง และเกิดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของเด็กให้มีวุฒิภาวะสมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ประกาศนโยบายเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก ปี 2564 ขึ้น เพื่อเป็นการสื่อสาร สร้างกระแสความร่วมมือพัฒนาทักษะผู้อำนวยการเล่น (Play Worker) และสร้างพื้นที่ต้นแบบเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกที่เหมาะสมตามบริบท เอื้อให้เด็กได้เล่นอย่างเต็มศักยภาพครอบคลุมทุกตำบลทั้ง 3 บริบท ได้แก่ บ้าน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และชุมชน ควบคู่กับการได้รับโภชนาการและการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมตามวัย ทั้งนี้ ผู้อำนวยการเล่น เป็นผู้ที่มีบทบาทช่วยให้การเล่นของเด็กประสบความสำเร็จ ซึ่งพ่อ แม่ ผู้สูงอายุ ครูพี่เลี้ยงเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทุกคนที่อยู่รอบตัวเด็กสามารถเป็นผู้อำนวยการเล่น และสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาต้นแบบเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก เพื่อสร้างเด็กไทยให้เป็นเด็กที่มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน มีทักษะชีวิตที่พร้อมเจริญเติบโตในสังคม และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

ทางด้าน นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก โดยได้มีการจัดอบรมพัฒนาทักษะผู้อำนวยการเล่น (Play Worker) ให้ครอบคลุมทุกเขตสุขภาพ ขณะนี้ได้ดำเนินการพัฒนา ครู ก ในระดับเขตสุขภาพ เพื่อนำไปขยายผลต่อในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายในปี 2564 ครอบคลุมทุกจังหวัด ดังนี้ 1. ผู้อำนวยการเล่นทั่วประเทศ อย่างน้อย 500 คน ในเขตสุขภาพ เขตละ 50 คน ซึ่งที่ผ่านมากรมอนามัยให้ความสำคัญในการพัฒนาทักษะผู้อำนวยการเล่น โดยพัฒนาหลักสูตรผู้อำนวยการเล่นในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งจะเป็นช่องทางที่ให้พ่อ แม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ครูผู้ดูแลเด็ก หรือผู้ที่สนใจต้องการเรียนรู้สามารถเข้าถึงเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง และเผยแพร่สู่ผู้อื่นได้ 2. พื้นที่เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกทั่วประเทศ อย่างน้อย 500 แห่ง เขตสุขภาพ เขตละ 50 แห่ง และ3. พื้นที่ต้นแบบเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกทั่วประเทศอย่างน้อย 300 แห่ง เขตสุขภาพ เขตละ 25 แห่ง นอกจากนี้ ได้มีการเผยแพร่สนับสนุนองค์ความรู้และสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คู่มือผู้อำนวยการเล่น (Play Worker) เด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก คู่มือเล่นเปลี่ยนโลกสำหรับสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และสื่อวีดีทัศน์ แก่ศูนย์อนามัยทุกแห่ง รวมทั้ง สามารถดาวน์โหลดสื่อต่าง ๆ ได้ทางเว็บไซต์ของกรมอนามัย

ทางด้าน นางสาวณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลกได้ส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดการรวมตัวขององค์กร เช่น มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนากลุ่มไม้ขีดไฟ และกลุ่ม WE ARE HAPPY เป็นเครือข่าย “เล่นเปลี่ยนโลก” ขับเคลื่อนดำเนินการสร้างความตระหนักเรื่องการเล่น ให้ใช้การเล่นอิสระเป็นเครื่องมือในการพัฒนา และแก้ไขปัญหาเด็กและครอบครัวในยุคศตวรรษที่ 21 ผ่านกระบวนการสร้างให้เกิด Play worker ที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนะของคนในสังคมจากการเล่น สนับสนุนให้ Play worker พัฒนาโมเดลการเรียนรู้ต้นแบบที่หลากหลาย ทั้งใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน ชุมชน มหาวิทยาลัย ฯลฯ มากกว่า 34 พื้นที่ใน 14 จังหวัด ซึ่งแต่ละพื้นที่ดำเนินการพัฒนาเด็กผ่านการเล่นอย่างต่อเนื่อง ร่วมเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลก สนับสนุนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเล่นอิสระ ช่วยเป็นทีมวิทยากรจัดอบรม Play worker และกระบวนการ Coaching ในขณะเดียวกันภาคีเล่นเปลี่ยนโลกยังช่วยเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นพื้นที่สาธิต ให้แก่เครือข่ายของกรมอนามัย

ทางด้าน นายเชษฐา มั่นคง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) กล่าวว่า การดำเนินงานที่ผ่านมาของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) และเครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก ได้ดำเนินงานผ่านแกนนำผู้ดูแลการเล่น Play worker จากทั่วประเทศกว่า 100 คน ที่ประกอบด้วย ครู ศพด. ครูโรงเรียนประถม แกนนำเยาวชน ชุมชน อาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษา และเจ้าที่หน่วยงานที่มีความเข้าใจแนวคิดการเล่นอิสระ สามารถเป็น Play Worker สร้างโอกาสให้เด็กได้เล่น โดยมีโมเดลเรียนรู้ต้นแบบรูปแบบการส่งเสริมการเล่นอิสระ และดำเนินการเล่นอิสระ พัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่องโดยการสร้างความร่วมมือกันของครอบครัว และชุมชน รวมทั้งมีรูปแบบการเล่นในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน โดยมีรูปแบบ อาทิ Play @home Play Room, Play day, Play park, Play center Play space (ที่ไหนก็เล่นได้), Play delivery, Play Festival ที่มีกระบวนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเล่นของเด็กในหลากหลายรูปแบบ โดยมีการอบรม Play worker มีสื่อให้ความรู้กับคุณครูและผู้ปกครองในการส่งเสริมการเล่น มีช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มครอบครัว และสังคมออนไลน์ มีเพจ Let’s play more เล่นเปลี่ยนโลก และเว็บไซต์ เพจเล่นเพื่อชีวิตเด็ก และมีรูปแบบการสื่อสารแบบเทศกาลการเล่น งานส่งเสริมสิทธิการเล่นในประเทศไทย โดยขับเคลื่อนนโยบายที่เอื้อต่อการส่งเสริมให้เกิดการเล่นอิสระในประเทศไทย คือ นโยบายเด็กไทยเล่นเปลี่ยนโลกของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และการขับเคลื่อนกับเครือข่ายระหว่างประเทศ ร่วมกับสมาคมส่งเสริมสิทธิการเล่นนานาชาติ (International Play Association) หรือ IPA ในการแลกเปลี่ยนและพัฒนาองค์ความรู้ในระดับโลก

ทางด้าน นายแพทย์รัฐพล เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตระหนักถึงความสำคัญของเด็กปฐมวัย ในการที่จะได้รับการพัฒนาสุขภาพทั้งด้านกาย ใจ สติปัญญา มาโดยตลอด โดยในปัจจุบันได้มีการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาลทั้งประเทศครอบคลุม 7,738 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป้าประสงค์สำคัญประการหนึ่งของกองทุนที่ตั้งขึ้น เพื่อการหนุนเสริม สนับสนุน ให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ชุมชน ได้นำงบจากกองทุนนี้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนา พัฒนาการของเด็กในพื้นที่ของท้องถิ่นตนเอง โดยในปีที่ผ่านมาจากรายงานพบว่า กองทุนฯ ได้มีการหนุนเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาพัฒนาการเด็ก ถึงจำนวน 3,317 กองทุน คิดเป็นร้อยละ 43 จำนวนโครงการ 16,832 โครงการ เป็นเงิน 344,598,229 บาท มีเด็กได้รับประโยชน์จากโครงการ 1,726,426 คน ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2563 ได้มีการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในพื้นที่ให้เป็นศูนย์ฯต้นแบบ ได้ถึง 178 แห่ง ครอบคลุมทุกจังหวัด กิจกรรม "เล่นเปลี่ยนโลก" ในวันนี้ เป็นหนึ่งกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในพื้นที่ได้ ดังนั้น หากมีการเผยแพร่โครงการไปสู่ชุมชนท้องถิ่นแล้วอาศัยการหนุนเสริมกิจกรรมนี้จากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นที่มีทั่วประเทศ จะทำให้โอกาสประสบความสำเร็จของการขยาย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง