ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

"เครือข่ายสาธารณสุขไทย ห่วงใยพี่น้องประชาชน" ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอยับยั้ง/ชะลอ การถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้ อบจ. เหตุหวั่นกระทบระบบสาธารณสุขโดยรวม  พร้อมเสนอให้ทดลอง ทำ Sandbox ตามแนวทางของท่านสมาชิกวุฒิสภา(สว.) ที่ได้เสนอแนวทางนี้มาตั้งแต่แรก

หลังจากเมื่อปลายปีที่แล้วสมาชิกวุฒิสภาและคณะ ได้ยื่นหนังสือให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิจารณาทบทวนถ่ายโอนฯ ทั้งสิ้นรวม 4 ฉบับ ล่าสุดวันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2565) เครือข่ายสาธารณสุขไทย ห่วงใยพี่น้องประชาชน โดยการรวมตัวของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี โดยได้ระบุดังนี้

เรื่อง ขอให้ชะลอการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด

เรียน ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร

ผู้ยื่น เครือข่ายสาธารณสุขไทย ห่วงใยพี่น้องประชาชน

นำโดย
1. นายประพันธ์ ใยบุญมี สาธารณสุขอำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
2. นายจอมชัย คงมณีกาญจน์ กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 2 (จังหวัดพิษณุโลก, เพชรบูรณ์, อุตรดิตถ์, สุโขทัย และจังหวัดตาก)
3. นางสาวธีรนันท์ ศรีตองอ่อน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าไชย อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
4. นางสุมาลัย คำอาจ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.บ้านหนองไผ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
5. นายไพศาล บัวกลิ่น สาธารณสุขอำเภอ จังหวัดกาญจนบุรี
6. นายจารึก หนูชัย สาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์จังหวัดปัตตานี

หลักการเหตุผลในการขอให้ประธานคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาชะลอการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด(โดยสังเขป)

ทั้งนี้ นายจอมชัย คงมณีกาญจน์ กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 2ได้ให้ข้อมูลกับ Hfocus เพิ่มเติมว่า  ขอให้ชะลอการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด เนื่องด้วย มีผลกระทบโดยตรงต่อระบบสาธารณสุข อาทิเช่น ในช่วงของการระบาดของโควิด-19 การดำเนินการที่ได้ผลนั้น ส่วนใหญ่เราจะขึ้นอยู่กับผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ควบคุมสั่งการ ทำให้การสั่งการทุกอย่างเป็นไปอย่างมีเอกภาพ รวมถึงความห่วงใยความรู้สึกของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่อยู่ในพื้นที่มานานและยังไม่ต้องการถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในขณะนี้ เพราะในกฎหมายระบุไว้ว่า หากไม่ถ่ายโอนจะต้องย้ายออกจากพื้นที่ หรือไปทดลองงานกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด

นอกจากนี้ อีกส่วนหนึ่งเป็นความกังวลของระบบสุขภาพ เช่น ในเรื่องของการส่งต่อผู้ป่วยนั้น ซึ่งแต่เดิมจะส่งต่อกันในระบบพวงบริการ คือ ตั้งแต่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถึงโรงพยาบาลชุมชนและส่งต่อถึงโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลจังหวัด และสิ่งหนึ่งที่ต้องพูดถึงคือ “ การถ่ายโอนครั้งนี้ ประชาชนได้รับการบริการที่ดีจริงหรือไม่ และไม่เป็นเครื่องมือทางการเมือง  เป็นต้น

ขอบคุณรูปภาพจาก นายจอมชัย คงมณีกาญจน์ กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 2

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org