ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ประเทศไทยเริ่มมีพิธีฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกในประเทศไทยจัดขึ้นวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ที่สถาบันบำราศนราดูร จ.นนทบุรี มีขึ้น 4 วันหลังจากที่ซิโนแวคจัดส่งวัคซีน "โคโรนาแวค" ล็อตแรกจำนวน 2 แสนโดสถึงไทยเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ตามคำสั่งซื้อของรัฐบาลไทย และผ่านการตรวจรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้วกระทรวงสาธารณสุขจึงได้เริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19ให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มแรกตามแผนจัดการวัคซีนของคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ทางจังหวัดขอนแก่นจึงได้มีนโยบายรณรงค์ให้ประชาชนทั้งกลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปได้รับวัคซีนโควิด-19

เรื่องเล่า

จากบทนำที่ข้าพเจ้าได้เกริ่นนำมานั้นฟังดูคร่าวๆก็ไม่น่าจะเกี่ยวอะไรกับเภสัชกรงานคุ้มครองผู้บริโภคที่จะต้องมาเป็นผู้บริหารวัคซีนหลักอย่างเป็นทางการของศูนย์ฉีดวัคซีนใดๆ  แต่ดุจสวรรค์บัญชาให้ต้องมาบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 ทั้งตื่นเต้นระคนกังวลใจไม่น้อย จึงได้เริ่มศึกษาเอกสารวิชาการเกี่ยวกับประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด-19 ทุกชนิดและทุกประเทศและเริ่มวางแผนเตรียมการตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2564 ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองขอนแก่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มงานเภสัชกรรม กลุ่มงานเวชกรรมสังคมและหน่วยงานอื่นๆ เป็นความตื่นตาเร้าใจของเราเภสัชกรในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิคนหนึ่งและทีมยิ่งนัก “นิเราจะมีหน่วยงานอุบัติใหม่ภายใต้โรคใหม่ที่ใครๆก็รู้จักในนาม โรคโควิด19  แล้ว”

ภายใต้การจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนย่อยชื่อ ศูนย์ฉีดวัคซีนเทศบาลศิลาและศูนย์ฉีดวัคซีนโรงพยาบาลขอนแก่น2  โดยมีเภสัชกรในกลุ่มงานเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลขอนแก่นดูแล เอาละสิ! พวกเราจะบริหารจัดการแบบไหนกัน ทั้งระบบColdchainของวัคซีน ระบบการเตรียมยาเพื่อพร้อมฉีด ระบบเอกสาร ระบบโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบการติดตาม AEFI ฯลฯ พวกเราจะไหวมั้ย! งานประจำเดิมเราก็ต้องทำ ภายใต้ความเป็นลูกน้องท่านอาจารย์พญ.รุจิราลักขณ์ พรหมเมือง รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่นและนพ.นิทิกร สอนชา หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมสังคม ไม่มีอะไรที่จะทำไม่ได้ ลุยค่ะ! นับตั้งแต่เริ่มเปิดบริการวัคซีนณ.ศูนย์ฉีดวัคซีนเทศบาลศิลาและศูนย์ฉีดวัคซีนโรงพยาบาลขอนแก่น2  ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564-ตุลาคม2564 สรุปรูปแบบแนว

และด้วยพลังที่มุ่งมั่นพร้อมกับการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียวของเหล่าเภสัชกรภายใต้กลุ่มงานเวชกรรมสังคมจึงทำให้ภารกิจที่แสนจะดูจะเป็นไปไม่ได้ก็สามารถเป็นไปได้แถมประชาชนในความรับผิดชอบได้รับการปกป้องจากไวรัสร้ายนามว่าโควิด-19ได้ โดยมีปัจจัยของความสำเร็จดังนี้ ปัจจัยหลัก ผู้บริหาร ทั้งระดับประเทศ ระดับจังหวัด สู่ระดับโรงพยาบาล ที่พร้อมสนับสนุนทั้งคน เงิน ของ ที่สำคัญ “กำลังใจ” ปัจจัยรอง ผู้ร่วมงาน ทั้งวิชาชีพเภสัชกรและสหสาขาทั้งนอกกระทรวงสาธารณสุขและภายในกระทรวงสาธารณสุข ที่พร้อมจะนำเอาหลักวิชาการตั้งแต่ การบริหารเวชภัณฑ์ เภสัชกรรมการผลิตยา การบริบาลเภสัชกรรม ระบบบริหารจัดการทั่วไป เป็นต้น มาผสมผสานเพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยสูงสุดจากโรคโควิด-19 และขาดไม่ได้คือ ประชาชนชาวขอนแก่นที่ร่วมมือร่วมใจมารับวัคซีนจนยอดรับวัคซีนมีอัตรารวมสูงสุดร้อยละ 90 สูงกว่าทุกหน่วยฉีดย่อยในเดือนแรกๆที่มีการรณรงค์

“บางครั้งสิ่งเราคิดว่าเป็นไปยากก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นไปไม่ได้ หากเรามุ่งมั่นที่จะลงมือทำ”

 

ภญ.รัตติกาล แสนเย็น หัวหน้างานคุ้มครองผู้บริโภค กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลขอนแก่น