ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

หมอจุฬาฯ เผยรายงานการศึกษากรณีฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น ชนิด mRNA ฉีดมากเสี่ยงภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ชูตัวอย่างการศึกษาแพทย์รามาธิบดีพบข้อมูลน่าสนใจ ย้ำ! แต่กลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยงอาจยังต้องกระตุ้นตามความจำเป็น

 

ประชาชนทั่วไปจำเป็นหรือไม่ ฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้น

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม  ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงกรณีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 เข็มกระตุ้น ว่า วัคซีนโควิด19 เข็มกระตุ้น ณ ขณะนี้ ไม่จำเป็นต้องฉีดในประชาชนทั่วไป แต่ยกเว้นกลุ่มเสี่ยงต่างๆตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดก็ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การระบาดโควิดปัจจุบันไม่ได้น่ากังวล การจะกลายพันธุ์จนมีความรุนแรงถือว่าน้อยมาก อย่างหลายประเทศถอดหน้ากากอนามัยแล้ว ส่วนของไทยไม่ได้มีการบังคับใส่หน้ากากอนามัย แต่ยังแนะนำกรณีหากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง พื้นที่ระบายอากาศไม่ดี หรือป่วยอยู่ก็อาจยังต้องสวมใส่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป็นกรณีไป เพราะอย่างคนที่เป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับเชื้ออาจมีอาการรุนแรง หรือไม่รุนแรงก็ได้

“ปัจจุบันข้อมูลจากกรมควบคุมโรคระบุว่า โรคโควิด19 ไม่ใช่โรคติดต่ออันตราย แต่เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ก็คล้ายๆ โรคประจำถิ่นแล้ว ดังนั้น จึงไม่ได้น่ากังวลว่า จะระบาดหนัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าประมาท เราก็ต้องระมัดระวังตัว แต่ในเรื่องการฉีดวัคซีนโควิดสำหรับคนทั่วไปที่มีการฉีดกระตุ้นมาก่อนแล้ว ณ ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นอีก” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

 

"ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา"

ตัวอย่างการศึกษาผลจากวัคซีนโควิด19 mRNA

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติม ว่า รายงานในวารสาร Science ตั้งแต่เดือนมิ.ย.-ธ.ค.2565 มีการอธิบายว่าเมื่อมีการฉีดวัคซีนชนิด mRNA มากขึ้น ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อและการป้องกันอาการหนักจะยิ่งลดลงกว่าที่คิดและน่าจะอธิบายถึงว่าทำไมในยุคโอมิครอน จึงมีการติดซ้ำอยู่เรื่อยๆ ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมได้ ดังนี้

1. จาก hybrid immune damping วัคซีนเมื่อฉีด ไปแม้จะมากเข็มก็ตาม การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ทั้ง แอนติบอดี ระบบ บีและทีเซลล์ จะเป็นต่อสายพันธุ์บรรพบุรุษอู๋ฮ้่น และเมื่อติดเชื้อโอไมครอนก็เป็นในลักษณะเช่นเดียวกัน

 อ้างอิงข้อมูลจาก วารสารวิทยาศาสตร์ฯ   

2.รายงานล่าสุด เมื่อได้รับวัคซีนมากขึ้น แอนติบอดีจะปรับเปลี่ยนเป็น IgG4 ซึ่งทำให้หน้าที่ในการฆ่าไวรัสด้อยลงเมื่อเทียบกับ IgG 1 และ 3 และ อาจอธิบายประสิทธิภาพที่ถูกจำกัดลง

อ้างอิงข้อมูล คลิกที่นี่

 

“ ยังเป็นไปได้ว่ายังมีระบบต่อสู้กับไวรัสที่ไม่ผ่านทางเส้นทางดังกล่าว ที่ เป็นระบบนักฆ่า จาก innate immunity ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติมากกว่าที่ได้จากวัคซีน หมายความว่า ถ้าติดตามธรรมชาติและอาการไม่หนักและไม่เกิดภาวะลองโควิด ก็จะส่งผลดีได้” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ รายงานจากอาจารย์ปารวี ชีวะอิสระกุล   รามาธิบดี ใน วารสาร Nature Scientific report วันที่ 15 มกราคม 2566 พูดถึง vaccine หลังเข็ม 3 จะทำให้ T cell exhaustion หรือ T เซลล์ หมดแรง แม้ว่า แอนติบอดีจะขึ้นก็ตาม โดยในคนที่ใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อมีถึง 24.4% ที่มีการติดเชื้อโดยไม่มีอาการใดๆทั้งสิ้น และผลของการติดเชื้อแม้ว่าไม่มีอาการ จะทำให้มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเหมือนคนที่ติดเชื้อ

“จุดใหญ่สำคัญในรายงานนี้ก็คือ เมื่อพิจารณาถึงการตอบสนองในระบบทีเซลล์ T cell ซึ่งเป็นตัวสำคัญในระบบความจำและเป็นระบบเพชฌฆาตการฉีดวัคซีนหลายเข็ม และเมื่อมีการติดเชื้อกลับ ทำให้ทีเซลล์หมดแรง เรียกว่า T cell exhaustion”ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

อ้างอิงข้อมูลจากวารสาร Nature Scientific report