ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เปิดตำแหน่งสายงานประเภทวิชาการจะเกษียณมากที่สุด 10 อันดับใน 10 ปีข้างหน้า ด้านกรรมการสภาเภสัชกรรม ชี้เรื่องน่าเศร้า แม้มีตำแหน่งเกษียณแต่เสี่ยงถูกยุบ กลุ่ม “พนักงานราชการ” ชวดไม่ได้บรรจุ แม้รอคอยมายาวนาน เผยข้อมูลเภสัชกร 50%เป็นระดับชำนาญการ ล้วนไม่ได้รับความก้าวหน้าในวิชาชีพ

 

 

ภก.วัชรินทร์ แท่งทอง กรรมการสภาเภสัชกรรม โพสต์เฟซบุ๊กจากกรณีเฟซบุ๊ก LIRT : คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เผยแพร่ข้อมูลจาก กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระบุถึง ตำแหน่งในสายงาน(ประเภทวิชาการ) ที่จะเกษียณอายุมากที่สุด 10 อันดับ ในระยะ 10 ปี (พ.ศ.2566-2575)   

 

เรื่องน่าเศร้า พนักงานราชการ รอคอยบรรจุ แต่บางครั้งถูกยุบเลิกตำแหน่งเกษียณ

 

โดยภก.วัชรินทร์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า  เรื่อง ตำแหน่งที่จะเกษียณในอีก 10 ปีข้างหน้า สายงานต่าง ๆ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน( ก.พ.) ในอนาคต มีความสำคัญจำเป็นอย่างไร ซึ่งในประเด็นนี้ ตำแหน่งที่เกษียณนั้นจะทำให้ตำแหน่งนั้นว่างลง เเละเอามาให้น้อง ๆ ที่ยังรอตำแหน่งอยู่ ได้บรรจุเข้าเป็นข้าราชการ ซึ่งปัจจุบันยังอยู่เป็น ตำแหน่งที่เรียกว่า พนักงานราชการ อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงเเต่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น รวมถึงกระทรวงอื่น ๆ ด้วย หรือบางครั้งตำแหน่งนั้นอาจโดนยุบเลิกโดยไม่ได้ให้คนอื่นครองต่อเเต่อย่างใด

เนื่องจากในกรอบการคิดอัตราของจำนวนข้าราชการนั้น คำนวณต่อเนื่องต่อหนึ่งคน ว่าต้องใช้จ่ายในเท่าไหร่จนอายุครบ 60 ปี และบำนาญหลังเกษียณ ซึ่งรวมถึงสิทธิสวัสดิการของตนเอง ครอบครัวด้วย

ความก้าวหน้าบุคลากรจำกัด  

ทั้งนี้ ส่วนนี้เกี่ยวเนื่องกับความก้าวหน้าของข้าราชการสังกัด สธ. ด้วยที่มีอยู่อย่างจำกัด ด้วยเพราะการคำนวณสัดส่วนค่าใช้จ่ายดังกล่าว ที่ต้องสอดคล้องกันในมิติต่าง ๆ ทั้งส่วนของงบประมาณแผ่นดินในอำนาจการอนุมัติของรัฐบาล สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. รวมถึงภาคการศึกษาในการผลิตนักศึกษาในเเต่ละปีการศึกษาด้วย เป็นแผนระยะยาวทุก 3-5 ปี ที่ได้กำหนดตัวเลขออกมา ทั้งหมดมันเป็นสัดส่วนวงกลมที่เกี่ยวเนื่องกันในเเต่ละมิติ

สาเหตุทำบุคลากรลาออก ไหลออกนอกระบบ

เมื่อมีตำแหน่งที่ว่างลง ด้วยความที่มีตำแหน่งจำกัด ความก้าวหน้าจำกัด สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ความเเบ่งเเยก แบ่งเเย่ง ลำดับอาวุโส เพื่อให้ได้รับความก้าวหน้าดังกล่าว ซึ่งเป็นอีกเหตุผลสำคัญของการขาดอัตรากำลังที่สำคัญ คือ การลาออกไหลไปนอกระบบหมด ซึ่งตอบสนองต่อรายได้ เเละสวัสดิการต่าง ๆ ที่พึงได้รับ ที่เมื่อเทียบกับราชการเเล้ว มีความเเตกต่างกันมากในเกือบทุกมิติ

เภสัชกร 50% ระดับชำนาญการ แต่ไม่ได้รับความก้าวหน้า 

จากข้อมูลเภสัชกรผู้ประกอบวิชาชีพในปัจจุบัน 49,250 คน ( ข้อมูล ณ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ) จำนวนผู้เชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาต่าง ๆ นั้น ได้รับวุฒิบัตร จำนวน 103 คน หนังสืออนุมัติบัตร 274 คน ประกาศนียบัตร 6,552 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมจำแนกตามช่วงอายุระหว่าง 30 - 40 ปี 15,943 คน เป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯจำแนกตามช่วงอายุระหว่าง 41 - 50 ปี 7,066 คน เป็นเภสัชกรโรงพยาบาล 7,507 คนเเละสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 1,058 คน สัดส่วนของเภสัชกร แยกตามสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 8,889 คน , เภสัชกรสังกัดสำนัก/กรม ในกระทรวงสาธารณสุข 1,276 คน , เภสัชกรสังกัดกรุงเทพมหานคร 215 คน

 
สัดส่วนของเภสัชกรในสังกัดต่าง ๆ พบว่า สัดส่วนดังกล่าว กว่าร้อยละ 50 นั้นเป็นเภสัชกรระดับชำนาญการ ดังนี้ ตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการในสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข 5,680 ตำแหน่ง คิดเป็นร้อยละ 63.9 ตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการในสังกัดสำนัก/กรม กระทรวงสาธารณสุข 696 ตำแหน่ง คิดเป็นร้อยละ 54.5 และ ตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการสังกัดกรุงเทพมหานคร 36 ตำแหน่ง คิดเป็นร้อยละ 16.7 ในสัดส่วนทั้งหมดนี้ยังไม่ได้รับความก้าวหน้าเลื่อนไหลในวิชาชีพเภสัชกรรม เมื่อเทียบกับ วิชาชีพอื่นในสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ข้อมูลจากหน่วยงานในสังกัด สธ./กทม. ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2566)

 
ขณะที่วิชาชีพแพทย์ จำนวนข้าราชการทั้งหมด 21,417 ตำแหน่ง เลื่อนไหลได้ทุกตำแหน่ง วิชาชีพทันตแพทย์ 5,990 ตำแหน่ง เลื่อนไหลทุกตำแหน่ง (ข้อมูลจากรายงานข้อมูลบุคลากรด้านสาธารณสุข ประจำปี 2565) ขณะที่เภสัชกรมีความจำเป็นและเป็นบทบาทสำคัญเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นข้างต้น ไม่มีความก้าวหน้าเลื่อนไหลดังกล่าว

 
จากที่ได้สื่อสาร ผ่าน Tiktok อีกช่องทางเมื่อคืน พบว่ามีผู้เเสดงความคิดเห็นถึงประเด็นความก้าวหน้าต่าง ๆ ในสาขาวิชาอาชีพของตนเองกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นกระบอกเสียงสำคัญ อีกเรื่องของการสื่อสาร ที่ปกติเเล้วได้ให้ข้อมูลในเเต่ละประเด็นเเต่ละมิติตามสื่อต่าง ๆ เรื่องนี้อยู่เป็นประจำ เเละไม่เคยได้รับการเยียวยาดูเเลเลย เเม้จะเป็น นโยบายสำคัญของรัฐบาลก็ตาม

       ความก้าวหน้าไม่มี ค่าตอบเเทนน้อย ตำแหน่งหด ลดปริมาณ  

ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก  LIRT : คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร