ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กระทรวงสาธารณสุข ลงนามบันทึกความเข้าใจกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) เป็นครั้งที่ 4 แก้ปัญหาสาธารณสุขกลุ่มประชากรต่างด้าวในไทย เพิ่มการเข้าถึงบริการ   ด้านสาธารณสุข 9 ด้าน

 

เมื่อวันที่ 24 เมษายน  ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)   นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ คุณเจรัลดีน อองซาร์ค (Ms. Géraldine Ansart) หัวหน้าภารกิจองค์การระหว่างประเทศเพื่อการ โยกย้ายถิ่นฐานประจำประเทศไทย (Chief of Mission for International Organization for Migration, Thailand) ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในกลุ่มประชากรต่างด้าวในประเทศไทย เพื่อให้เกิดความมั่นใจในระบบและเพิ่มการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขสำหรับประชากรต่างด้าวอย่างเป็นมิตร โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจมาแล้ว 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2552 ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 24 เมษายน 2567 – 31 ธันวาคม 2568

 

นพ.โอภาสกล่าวว่า การให้บริการสาธารณสุขแก่ประชากรต่างด้าวภายใต้ความร่วมมือนี้ มุ่งเน้น 9 ด้าน คือ 1.สาธารณสุขมูลฐาน การตรวจและการประเมินสุขภาพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 2.การรักษาพยาบาลฉุกเฉินสำหรับผู้ย้ายถิ่นที่อยู่ในภาวะวิกฤติ 3.อนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศและสุขภาพเด็ก เช่น การวางแผนครอบครัว การมีบุตรอย่างปลอดภัย โภชนาการ การให้ภูมิคุ้มกันเด็ก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเอดส์

4.การให้บริการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ผ่านการรณรงค์ฉีดวัคซีน รวมถึงการให้ความรู้และความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ 5.สุขภาพจิตและการสนับสนุนด้านจิตสังคม 6.การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะโรคประจำถิ่น เช่น โรคไข้เลือดออก มาลาเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง และโรคติดต่ออุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ เช่น โควิด 19 ไข้หวัดนก 7.อนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลชุมชน และการจัดให้มีแหล่งน้ำที่สะอาดปลอดภัย 8.การเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น และ 9.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งวัณโรค และโควิด 19

เรื่องที่เกี่ยวข้อง