ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

เทรนตัน-รัฐบาลสหรัฐลงดาบแกล็กโซสมิทไคล์นผิดทั้งแพ่งและอาญา ทำตลาดยา 10 ชนิดโดยไม่ ผ่านการอนุมัติสรรพคุณ สั่งปรับ 9หมื่นกว่าล้านบาท ทุบสถิติค่าปรับคดีฉ้อการสาธารณสุขในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา

กระทรวงยุติธรรมสหรัฐแถลงเมื่อวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น (2 ก.ค.) ว่า แกล็กโซสมิทไคล์น บริษัทเภสัชกรรมยักษ์ใหญ่ แห่งประเทศอังกฤษ จะต้องจ่ายค่าปรับ 3,000 ล้านดอลลาร์ (ราว9.3หมื่นล้านบาท) หลังจากยอมรับว่าได้ทำการตลาดสำหรับยาสองตัว โดยไม่ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยา (เอฟดีเอ)และปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของยา

บริษัทยอมรับว่า ทำการส่งเสริมการตลาดสำหรับยาบรรเทาอาการซึมเศร้ายี่ห้อแพ็กซิล ช่วงปี 2561-2546 ว่าใช้บรรเทาอาการซึมเศร้าในเด็กได้ ทั้งที่เอฟดีเอไม่ได้อนุมัติให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปีใช้ ส่วนยาเวลบูทริน ซึ่งอนุมัติให้ใช้รักษาอาการซึมเศร้ารุนแรงเท่านั้น แต่บริษัทโฆษณาว่าช่วยลดนั้นหนัก แก้ปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และ สมาธิสั้น

นอกจากนี้ บริษัทไม่ได้ส่งรายงานปัญหาความปลอดภัยของยารักษาโรคเบาหวานยี่ห้ออาแวนเดียต่อเอฟดีเอในช่วงเวลา 7 ปี ถึงปี 2550 ปีเดียวกับที่ยาอาแวนเดียถูกสั่งห้ามใช้ในสหรัฐและยุโรปหลังพบว่าการใช้ยาชนิดนี้เพิ่มความเสี่ยงต่ออาการหัวใจวาย  ทั้งยังติดสินบนแพทย์เพื่อให้จ่ายยาบางตัวแก่ผู้ป่วย เช่น ให้แพ็กเพจท่องเที่ยวตากอากาศราคาแพง หรือแม้แต่บัตรชมคอนเสิร์ตของมาดอนนา

นายพอล วิตตี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ออกมาขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้น และกล่าวว่า ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดที่ทำไป และระบุว่าบริษัทได้ปรับปรุงระเบียบวิธีทำการตลาดและจำหน่ายยานับจากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น

ค่าปรับซึ่งแยกเป็นพันล้านดอนลาร์สำหรับการตกลงยอมความนอกศาลในความผิดทางอาญาและ 2,000 ล้านสำหรับค่าชดเชยทางแพ่ง ถือเป็นโทษปรับครั้งใหญ่ที่สุดในวงการสาธารณสุขของสหรัฐ ทำลายสถิติของไฟเซอร์ ผู้ผลิตยารายใหญ่ที่สุดของโลกที่เคยจ่ายค่าปรับคดีทำการตลาดสำหรับยา 13 ชนิด อย่างไม่เหมาะสมรวม 2,300 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ71,300ล้านบาท) จำนวนนี้รวมทั้งไวอากร้า และยาลดคอเลสเตอรอล ลิพิเทอร์ ยาขายดีสุดติดอันดับโลกมานานหลายปี

การดำเนินคดีกับแกล็กโซสมิทไคล์นตอกย้ำว่ากระทรวงยุติธรรมสหรัฐเดินหน้ากวาดล้างการทำการตลาดของบริษัทที่มุ่งแสวงหาผลกำไรมากกว่าความปลอดภัยของคนไข้

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แอ็บบอตลาบอแรตอรีส ได้ยอมรับผิดและตกลงจ่ายค่าปรับแก่รัฐบาล ได้ยอมรับผิดและตกลงจ่ายค่าปรับแก่รัฐบาล 700 ล้านดอลลาร์ ฐานทำการตลาดยาตัวหนึ่งเกินเลยไปจากสรรพคุณที่ได้รับอนุมัติเช่นกัน

ที่มา: นสพ.คมชัดลึก 4 ก.ค. 55

เรื่องที่เกี่ยวข้อง