ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

แผนปลุกปั้น "โครงการประกันภัยนักท่องเที่ยวต่างชาติ" ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สนองนโยบายรัฐยกไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพ (Medical Hub) ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติทุกรายที่ขอรับการตรวจวีซ่าเข้าไทยจะต้องซื้อประกันภัย หวังลดภาระด้านค่ารักษาของรัฐ ส่อเค้าลากยาว เมื่อเจ้าของโครงการยังไม่ฟันธงจะให้นักท่องเที่ยวทำประกันแบบใดกันแน่

สธ.ไม่เอาพีเอนักท่องเที่ยวอยากได้ประกันสุขภาพคลุมเจ็บป่วย

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

(คปภ.) เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า จนถึงขณะนี้โครงการประกันภัยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติยังไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้เพราะกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ตัดสินใจ

จะให้นักท่องเที่ยวทำประกันภัยประเภทใดหลังจากคปภ. สมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยไทย นำเสนอรูปแบบเป็นการประกันภัยอุบัติเหตุ (ประกันพีเอ) พ่วงค่ารักษาพยาบาล

โดยจะคุ้มครองกรณีประสบอุบัติเหตุสูญเสียอวัยวะสองส่วน อาทิ แขน ขา สายตาหรือทุพพลภาพภาวรสิ้นเชิงจำนวนเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท หากสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งจะคุ้มครอง 600,000 บาทหากต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจ่ายตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงครั้งละไม่เกิน300,000 บาท เบี้ยประกัน 1,200 บาทต่อคน โดยนักท่องเที่ยวที่จะทำประกันจะต้องพำนักในประเทศไทยเกิน 30 วัน และต้องขอการอนุมัติเข้าเมืองหรือวีซ่าอย่างถูกกฎหมาย

"ทางเราเสนอไปแล้วอยู่ที่สธ.จะตัดสินอย่างไร ปัญหาในตอนนี้คือ สธ.อยากได้ประกันสุขภาพที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย มากกว่าประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่คุยกันไว้ในตอนแรก ตามโจทย์ที่สธ.ให้มาที่

อยากให้โครงการเกิดเร็ว ซึ่งประกันพีเอก็ตอบโจทย์ได้ แต่พอมาเป็นประกันสุขภาพคุ้มครองการเจ็บป่วย การบริหารเคลมจะยุ่งยากกว่าพีเอเยอะ เช่น ถ้านักท่องเที่ยวเคยเจ็บป่วยด้วยโรคบางโรคอยู่แล้วแถลงว่าไม่ได้เป็น พอเข้ามาไทยมาเคลมโรคนี้จะพิสูจน์อย่างไร หากบริษัทไม่จ่ายจะมีปัญหาตามมาและเบี้ยคงจะแพงกว่านี้"

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า อีกจุดที่ทาง

สธ.ต้องตัดสินใจคือจะให้บริษัทประกันเป็นคนรับประกันหรือทางสธ.จะรับประกันเองในลักษณะตั้งเป็นกองทุนขึ้นมาเก็บเบี้ยประกันเข้ากองทุนแล้วหาคนมาบริหารเหมือนกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติเพราะถ้าหากให้บริษัทประกันรับภายใต้โจทย์นี้ ต้องกลับไปตั้งต้นนับหนึ่งกันใหม่วินาศภัยมึน! รื้อใหม่ไม่ต่ำกว่า 3 เดือนหวั่นประกันสุขภาพเบี้ยแพงขายยาก

 ด้านแหล่งข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยไทย ให้ความเห็นเพิ่มเติมกับ"สยามธุรกิจ" ว่า ทางสธ.มองว่าประกันอุบัติเหตุไม่ตอบโจทย์ของสธ.ที่อยากได้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยมากกว่า ซึ่งในมุมของธุรกิจประกันวินาศภัยมองว่าค่ารักษาพยาบาลชาวต่างชาติรวมการส่งตัวกลับไปรักษาตัวต่อที่ต่างประเทศถ้าจะให้วงเงินเพียงพออยู่ระหว่าง 300,000-500,000 บาทต่อครั้ง

ซึ่งปัจจัยในการพิจารณาความเสี่ยงที่มีผลต่อการรับประกันมี 2-3 ประเด็นคือ1.ถ้าเป็นประกันภาคบังคับกำหนดให้ชาวต่างชาติทุกคนที่ขอวีซ่าเข้าประเทศไทยต้องทำประกันในเรื่องความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยมีมากน้อยแค่ไหน และไม่สามารถใช้อัตราเบี้ยประกันปกติได้ เพราะการรับประกันสุขภาพปกติต้องมีการพิจารณาก่อน อาทิ สอบถามประวัติการเจ็บป่วยถ้าคนเสี่ยงสูงอาจจะไม่รับทำประกันแต่ชาวต่างชาติต้องรับประกันทุกคนมีมิติความเสี่ยงต่างกัน

2.ในเชิงสถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามาประเทศไทยปีละเท่าไหร่ การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมีค่ารักษาเท่าไหร่ 3.ค่ารักษาพยาบาลอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะสมาคมโรงพยาบาลอยู่ระหว่าง ปรับเพิ่มค่ารักษาพยาบาลจะมีผลกระทบในเชิงต้นทุนค่าสินไหมทดแทน

"จากโจทย์ใหม่ของสธ.เท่ากับต้องกลับไปตั้งต้นกันใหม่ และยังมีเรื่องวิธีการขายด้วยคาดว่าน่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 เดือนถึงจะออกมาได้"ประกันชีวิตไม่เกี่ยงขยายคุ้มครองรุกสธ.เคาะ "ส่วนบวกเพิ่ม" คิดค่าเบี้ย

ด้านแหล่งข่าวจากสมาคมประกันชีวิตไทย ให้ความเห็น "สยามธุรกิจ" ว่าการเปลี่ยนมาเป็นประกันสุขภาพโดยเพิ่มค่ารักษาพยาบาลเจ็บป่วยไม่เป็นปัญหาเบี้ยประกันเพิ่มจากเดิมไม่มาก เพราะนักคณิตศาสตร์ประกันภัยคำนวณเบี้ยประกันตามต้นทุนจริงออกมาเป็นเบี้ยประกันภัยสุทธิ (Net Premium)ซึ่งในส่วนของประกันชีวิต คือ เบี้ยประกันภัยที่คำนวณขึ้นมาโดยอาศัยอัตรามรณะ และดอกเบี้ย ไม่รวมส่วนบวกเพิ่ม(Loading) เช่น กำไร และค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นอัตราเบี้ยประกันที่เป็นธรรมเอาแค่บริษัทประกันพออยู่ได้เท่านั้น

แต่ปัญหา คือ ส่วนบวกเพิ่ม ทางกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ได้บอกมาว่าจะมีค่าอะไรบ้าง เช่น หากจะให้ตม.ขายให้ก็ต้องบวกค่าใช้จ่ายให้กับตม. เป็นเท่าใดหรือกระทรวงสาธารณสุขเองจะคิดค่าใช้จ่ายเท่าใด หน่วยงานไหนจะคิดค่าใช้จ่ายเท่าใด ก็ต้องบอกมาให้หมด เพื่อกำหนดออกมาเป็นอัตราเบี้ยประกันที่จะขายจริง

"กระทรวงสาธารณสุขต้องบอกมาว่าจะคิดค่าใช้จ่าย หรือค่าบริการที่จะให้หน่วยงานต่างๆ เท่าใด จะได้บวกเพิ่มไปเพื่อคำนวณออกมาเป็นเบี้ยประกันภัยรวมเพื่อเสนอขาย ซึ่งตอนนี้ปัญหาไม่ได้อยู่ที่แบบประกัน หรือเบี้ยแพง แต่อยู่ที่วิธีการขายจะทำยังไง จะบังคับให้นักท่องเที่ยวซื้อได้ยังไง เรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุป มีคนเสนอบวกไปในค่าตั๋วเครื่องบินเลย แต่สายการบินที่มาไทยไม่ได้มีสายการบินเดียวการบังคับให้บวกเพิ่มเข้าไปในค่าตั๋วคงยากหรือจะให้ตม.ขายให้แล้วใครจะเป็นผู้เก็บค่าเบี้ยให้ใครจะรับผิดชอบจุดนี้มากกว่าที่เป็นปัญหา"

 ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 - 21 มิ.ย. 2556--