ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ข้อเขียนของ นพ.ครรชิต ช่อหิรัญกุล อายุรแพทย์โรคหัวใจ ที่เขียนโต้ข่าว IHPP ชี้การรักษาไม่ทำผู้ป่วยบัตรทองตายมากกว่า ขรก. เผยอยู่ที่ครัวเรือน-การดูแล (ดู ที่นี่) ที่ นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ระบุว่า “IHPP ชี้ผู้ป่วยบัตรทองตายมากกว่าข้าราชการไม่จริง เหตุหมอดูแลรักษาเท่าเทียม ไม่เกี่ยงสิทธิ อยู่ที่ปัจจัยการดูแลหลังการรักษา เศรษฐานะ สังคมครัวเรือน อ้างผลวิจัยอัตราตายโรคหลอดเลือดสมองตีบ-กล้ามเนื้อหัวใจตายผู้ป่วยบัตรทองลดลงชัดเจน วอนอย่าตีความงานวิจัยแบบไม่รอบด้าน หวั่นสังคมสับสน”

สำนักข่าว Health Focus จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนอย่างรอบด้าน ดังนี้ (ดูการเผยแพร่ครั้งแรกได้ ที่นี่)

อายุรแพทย์โรคหัวใจขอโต้นักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข

โดย นพ.ครรชิต ช่อหิรัญกุล อายุรแพทย์โรคหัวใจ

ตามที่ นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาปฏิเสธว่าผลการวิจัยผลลัพธ์ทางสุขภาพและความเป็นธรรมทางสุขภาพ จัดทำโดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบอัตราตายของผู้ป่วยอายุ 60 ปีขึ้นไปในกลุ่มหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสูงกว่าระบบสวัสดิการข้าราชการว่าการนำผลวิจัยดังกล่าวไปอ้างอิงต้องดูข้อมูลอื่นประกอบในหลายมิติ โดยเฉพาะปัจจัยครัวเรือนและการดูแลต่อเนื่องหลังการรักษา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก (link) ซึ่งเป็นการแก้กลับบทความของ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ดร. อภิวัฒน์ มุทิรางกูร และอาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ จำนวนสองบทความคือ
ผู้ถือบัตรทอง ตายด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง โรคมะเร็งมากกว่าปกติถึง ร้อยละ 70 เพราะเหตุใด ? ผู้เกี่ยวข้องโปรดเร่งหาคำตอบ! (link) กับบทความ สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยบัตรทองตายมากผิดปกติหลายหมื่นคนต่อปีคืออะไร? ป้องกันได้หรือไม่? การแก้ไขปัญหาจะทำให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามั่นคง ผู้ใช้สิทธิบัตรทองได้รับการดูแลอย่างดี และควรทำอย่างเร่งด่วนเพื่อหยุดการตายที่ป้องกันได้ (link)

ผมขอวิจารณ์ว่าการวิเคราะห์เช่นนี้ของ นพ. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ไม่ควรใช้ เพราะเป็นการนำการศึกษาต่างกันมายำเข้าด้วยกัน แต่ความจริงของตัวเลขคือ

1.การศึกษาที่ผ่านมาแสดงว่า บัตรทองคุณภาพการรักษาด้อยกว่าข้าราชการจริง แต่มีการพัฒนาจาก 2549 ไปยัง 2555 ดีขึ้น ทั้งนี้จะเห็นจากภาคปฏิบัติ คือ ภายหลังข้อมูลสมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศไทยได้แสดงตัวเลขว่า บัตรทองมีการตาย สูงกว่า หลังออกจากโรงพยาบาล ทั้งนี้ภายหลังได้มีการตั้งระบบส่งต่อเพื่อทำ balloon ในโรคนี้ นำเอาโรงพยาบาลเอกชนเข้าร่วมโครงการ ทำให้ระบบเดินได้ และผลการรักษาดีขึ้น ในอัตราการตาย แต่ขณะที่ระบบราชการต้องเข้าทำหัตถการเฉพาะโรงพยาบาลรัฐบาล เมื่อสู่ รพ.รัฐขนาดเล็ก และ รพ.เอกชน จะทำให้เสียเวลาในการส่งต่อ ผลการรักษาไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากอดีต ทั้งนี้ อุปสรรค คือ กฎระเบียบกรมบัญชีกลาง

ดังนั้น หากดูตัวเลข IHPP จะเห็นว่าระบบแท้จริงยังพัฒนาให้ดีได้ แต่ติดที่กฎระเบียบของทั้ง สปสช. และกรมบัญชีกลาง และเป็นสิ่งที่ IHPP ยอมรับเองว่า มีการลดลงของอัตราตาย แต่ไม่อธิบายว่า ระบบได้เปลี่ยนเช่นไร จึงเป็นการกล่าวแค่ครึ่งเดียว

2. การศึกษา TDRI มุ่งเน้น เศรษฐศาสตร์สาธารณะ การศึกษาไม่แสดงเรื่องตายมากน้อย เพราะปิดคำถามด้วยการเก็บตัวอย่างจากที่ตายหมดในหนึ่งปี ดังนั้นจึงไม่สามารถวิเคราะห์การตายมากน้อยได้ แต่การตายที่ตายก่อนหลัง มีความสำคัญเช่นกัน ไม่ใช่เอาเรื่องความเป็นอยู่ของคนไข้มาอ้าง แต่มีระบบการส่งต่อ ขั้นตอนการวินิจฉัย และระบบยาที่กำหนดไว้ ทางรักษามะเร็งเป็นสิ่งที่ไม่ได้นำมาบอก แถมคนไข้ที่นำมาศึกษาเป็นโรคมะเร็ง กว่าร้อยละ 70 แต่เอาโรค เบาหวาน หัวใจ ไปปน ทำให้อ้างเป็นกลุ่มเดียวกัน ต้องถามใจคนทำว่า หากคนอื่นทำเช่นนี้ คุณยอมรับแบบนี้ได้ไหม ดังนั้นโปรดยอมรับแบบลูกผู้ชายว่า ระบบ สปสช. มันแย่จริง แต่ผมยอมรับว่ามีการเปลี่ยนแปลง แต่ขอให้ทราบว่า มันแย่ เพราะคุณรอให้ตายแล้วค่อยมาทำ แต่ไม่แยกระบบ ทำเหมือนวิจัย แล็บ แล้วรีบพัฒนา เอาชีวิตคนมาทดลองระบบ กว่าจะแก้คุณใช้เวลาเป็นสิบปี ยังมีหน้ามาพูดหรือ แล้วยังเอามาอ้างรวมกองทุน ฟังแล้วไม่รู้เอาอะไรคิด

ผมต้องเขียนใหม่จากเหตุการณ์ที่จะพยายามอ้างความเหลื่อมล้ำการบริการ โดยวิธีการใช้สถิติ มาจูงใจให้เชื่อ อยากฝากบอกว่า คนที่ทำอ้างวัตถุประสงค์ว่าศึกษาความเหลื่อมล้ำ และกลายเป็นเอาข้อมูลการเสียชีวิตการรักษามาดู แล้วอ้างบอกว่าตายแตกต่างไม่ได้ แต่อ้างว่าเหลื่อมล้ำได้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง