ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สมาคมโรคติดเชื้อฯ ส่งสัญญาณรัฐบาล เร่งจัดหาวัคซีน mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ มาทดแทนวัคซีนชนิดเชื้อตายของบริษัท Sinovac ซึ่งเป็นวัคซีนที่น่าจะป้องกันโควิด - 19 ได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่แผนการจัดซื้อกลับมีจำนวนมาก พร้อมทั้งควรมีแผนการจัดหาวัคซีนรุ่นป้องกันการกลายพันธุ์

เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2564 ที่ผ่านมา ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ลงนามในหนังสือถึงท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ศบค. ระบุถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด - 19 มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้น ทางรัฐบาลได้เริ่มออกมาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อควบคุมการระบาด หนึ่งในมาตรการที่สำคัญ คือ การเร่งระดมฉีดวัคซีนให้ประชาชนให้ครอบคลุมประชากรให้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและประชากรกลุ่มเปราะบางต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดความรุนแรงของการระบาดได้ ดังเช่นประสบการณในประเทศอื่นๆ

ทางสมาคมโรคติตเชื้อแห่งประเทศไทย มีความห่วงใยในสถานการณ์การระบาดของโควิด - 19 ที่มีความผันแปรตลอดเวลา โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ของไวรัส ที่มีส่วนทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลง จึงใคร่ขอนำเรียนเพื่อพิจารณาในประเด็นตังต่อไปนี้

1. นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกคาดหมายว่าไวรัสสายพันธุ์อินเดีย จะกลายเป็นสายพันธุ์ที่มีการระบาดกว้างขวางที่สุด และเป็นสายพันธุ์เด่นทั่วโลก ดังที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียและประเทศอังกฤษ

2. วัคซีนทุกชนิดที่ใช้อยู่ในโลกขณะนี้ กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์อินเดียใด้น้อยสงเมื่อเทียบกับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อสายพันธุ์ตั้งเดิม ข้อมูลเท่าที่มี พบว่าสำหรับวัคซีนชนิด mRNA แม้จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ลดลง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ เช่น วัคชีนของบริษัท AstraZenecaกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยลง ส่วนวัคซีนชนิดเชื้อตาย คือ Coronavac (Sinovac) นั้น ไม่มีข้อมูล เนื่องจากวัคซีนนี้ ไม่เคยมีข้อมูลจากการศึกษาวิจัยที่ทำอย่างเป็นระบบและตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการแต่เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสลายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์อังกฤษที่ใด้จากวัคซีนชนิดนี้ต่ำกว่า ที่ได้จากวัคชีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ จึงคาดหมายได้ว่า ระดับภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์อินเดียน่าจะลดลงต่ำไปกว่านั้นอีก จนอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนนี้ในภาพรวม

3. ข้อมูลประสิทธิผลของวัคซีนจากบริษัท Sinovac ในประเทศไทยที่พบว่าระดับภูมิคุ้มกันหลังการได้รับวัคซีน 2 เข็ม มีระดับเพียงพอ ลดอัตราการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้ เป็นข้อมูลที่เก็บในช่วงของการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ จึงยังไม่อาจนำข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนมาใช้ในการพิจารณาจัดซื้อวัคซีนในรุ่นถัดไป

4. ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้วัคซีน เพื่อการควบคุมการระบาด ล้วนแต่ใช้วัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะทั้งสิ้น ส่วนประเทศที่ใช้วัคซีนชนิดเชื้อตายเป็นหลัก เช่น อินโดนีเซียและชิลี ยังพบผู้ป่วยใหม่ในอัตราที่สูงมาก แม้จะลดอัตราตายได้ แต่ก็เป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขของประเทศเหล่านั้นเป็นอย่างมาก นอกจากนั้น ในขณะนี้เริ่มปรากฏเป็นข่าวในสื่อมวลชนแล้วว่า มีผู้เสียชีวิตจากโควิด - 19 มากขึ้น ในประเทศอินโดนีเซีย ในประเทศชิลี มีการใช้วัคนชนิด mRNA เพิ่มขึ้นอย่างมาก และพบว่าวัคซีนชนิดmRNA มีประสิทธิผลสูงกว่าวัคซีนของบริษัท Sinovac ในทุกด้าน ทั้งการป้องกันการป่วย (90.9% เทียบกับ63.6%) ป่วยป่านกลาง (97.1% เทียบกับ 87.3%), ป่วยหนักเข้า ICU (98.4% เทียบกับ 90%) และเสียชีวิต (91.8% เทียบกับ 86.4%) การเลือกชนิดของวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมป้องกันโรค จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อนโยบายการเปิดประเทศภายใน 120 วัน ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้ประกาศไปแล้ว

ด้วยเหตุผลดังกล่าว สมาคมโรคติตเชื้อแห่งประเทศไทย จึงขอเสนอแนวทางเรื่องวัคซีน ดังนี้

1. รัฐบาลควรเร่งรัด และสร้างหลักประกันในการที่จะมีวัคซีนที่ใด้วางแผนจัดซื้อไว้แล้ว ให้มีใช้ในปริมาณที่เพียงพอ และถ้าเป็นไปใด้ให้มีวัคซีนเข้ามาเร็วกว่าเดิม เพื่อเร่งระดมให้กับประชาชนให้ครอบคลุมได้ตามเป้าหมายโดยเร็วต่อไป การเร่งให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วนโดยเร็วที่สุดดังกล่าวนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่จะช่วยชะลอการระบาดของเชื้อทุกสายพันธุ์ใต้ระดับหนึ่งจนกว่าจะมีวัคซีนที่ออกแบบมาโดยเฉพาะกับเชื้อสายพันธุ์ใหม่

2. เร่งรัดจัดหาวัคซีนชนิดอื่น เช่น วัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ มาทดแทนวัคซีนชนิดเชื้อตายของบริษัท Sinovac ซึ่งในแผนการจัดซื้อวัคซีนเพิ่มเติมให้ครบ 150 ล้านโดสนั้น มีสัดส่วนของวัคซีนของบริษัท Sinovac ค่อนข้างมาก ทั้งที่มีแนวโน้มว่า วัคซีนนี้น่าจะป้องกันโควิด - 19 ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้ หากได้วัคซีนชนิด mRNA และวัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะเพิ่มขึ้น โดยจัดหาวัดซีนชนิด mRNA มาในสัดส่วนที่มากที่สุด น่าจะเป็นผลดีต่อการควบคุมป้องกันโรคมากกว่า ทั้งนี้ หากสามารถจัดหามาได้ในปริมาณมากตั้งแต่ก่อนสิ้นปีนี้ ยิ่งจะเป็นการดี

3. รัฐบาลควรมีแผนการจัดหาวัคซีนรุ่นต่อไป ที่ผู้ผลิตออกแบบให้สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆได้ รวมทั้งเตรียมการจัดซื้อล่วงหน้า โดยแก้ไขหรือยกเลิกระเบียบขั้นตอนที่ยุ่งยากทางราชการที่ทำให้การจัดซื้อเป็นไปด้วยความล่าช้า มีแนวนโยบายและการสั่งการที่ชัดเจนในประเด็นของความเร่งด่วนของสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องคำนึงถึงความโปร่งใส สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ด้วย

4. รัฐบาลควรส่งเสริมนักวิจัยและอุตสาหกรรมยาในประเทศ ให้สามารถทำวิจัยใด้สำเร็จ และมีศักยภาพที่จะผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพสูงได้เองภายในประเทศ เพื่อลดการพึ่งพิงต่างชาติ ทั้งยังอาจเป็นหนทางสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย