ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ออกคำแนะนำฉีดวัคซีนโควิด19 เด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป ต้องผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาเท่านั้น ซึ่งมีเพียงชนิดเดียว คือ mRNA ของไฟเซอร์

เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป (ฉบับที่ 2) ระบุว่า

ข้อมูลของการติดโรคโควิด-19 ในประเทศไทยในปัจจุบันพบว่าแม้จะพบการติดเชื้อในเด็กอายุน้อยกว่า 18ปีในสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่ผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตน้อยมาก และพบการเสียชีวิตเกือบทั้งหมดในเด็กที่มีโรคประจำตัวเรื้อวังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรง ร่วมกับมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นมากขึ้น

ดังนั้น ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจึงมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีตวัคชีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ดังต่อไปนี้

- แนะนำให้ฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปโดยองค์การอาหารและยาเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้ (ณ วันที่ 7 กันยายน 2564) มีเพียงชนิดดียวคือ วัคชีนชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech

-แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 16 ปีจนถึงน้อยกว่า 18ปีทุกรายหากไม่มีข้อห้ามในการฉีด ทั้งเด็กที่ปกติแข็งแรงดีและที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรง เพราะเป็นกลุ่มอายุที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีการดำเนินชีวิตใกล้เคียงกับผู้ใหญ่และมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 มากเพียงพอ

- สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปจนถึงน้อยกว่า 16 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนในกรณีเป็นผู้ป่วยเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดโรคโควิด-19 รุนแรง ดังต่อไปนี้

1. บุคคลที่มีโรคอ้วน (คัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือ มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 12-13 ปี น้ำหนัก 80 กิโลกรัมขึ้นไปในเต็กอายุ 13-15 ปี น้ำหนัก 90 กิโลกรัมขึ้นไปในเด็กอายุ 15-18 ปี หรือเด็กอ้วนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น)

2. โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง

3. โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง

4. โรคได้วายเรื้อรัง

5. โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

6. โรคเบาหวาน

7. กลุ่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุนแ

เด็กที่มีพัฒนาการช้า

-แนะนำให้งดออกกำลังกายอย่างหนักหรือการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ภายหลังจากการฉีดวัดซีน ป้องกันโรคโควิด-19 เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ภายหลังการฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19ชนิด mRNA ซึ่งพบในอัตราที่ต่ำมาก

จึงแนะนำให้เด็กและวัยรุ่นทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งโดสที่ 1และ 2 ควรงดการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคชีน และในเวลาดังกล่าวนี้หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืด เป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์ โดยหากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ควรพิจารณาทำการตรวจค้นเพิ่มเติม

สำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปจนถึงน้อยกว่า 16ปี ที่สุขภาพแข็งแรงดี และในเด็กอายุน้อยกว่า 12 ปี รวมทั้งการฉีดวัคชีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดอื่นๆ ในเด็ก ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการติคตามผลการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยจะมีคำแนะนำเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในอนาคตต่อไป