ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

งานวิจัยจีนชี้ จิ้งจอกแรคคูนอาจเป็นรังโรคโควิด-19 ขณะที่องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้ทางจีนเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้รู้ถึงต้นตอการเกิดโรคที่แท้จริง

จากข้อมูลการวิเคราะห์ชิ้นใหม่ที่ทำการศึกษาโดยนักวิจัยชาวจีน โดยศึกษาสารพันธุกรรมที่ได้มีการรวบรวมมาตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2563 ที่ตลาดขายอาหารทะเลสดฮัวนาน ในเมืองอู่ฮั่น ได้ค้นพบเชื้อ SARS-CoV-2ในตัวอย่างDNAของสัตว์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคโควิด-19 โดยปริมาณเชื้อที่พบมากอยู่ในสัตว์จำพวกจิ้งจอกแรคคูน ซึ่งมีขายกันใน โดยความเชื่อมโยงการเกิดโรคกับจิ้งจอกแรคคูนนี้ กลายเป็นประเด็นขึ้นมา หลังจากที่นักวิจัยชาวจีนได้เปิดเผยลำดับพันธุกรรมที่นำมาจากการเก็บตัวอย่างที่ตลาดในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นของการระบาด โดยข้อมูลดังกล่าวมีการเผยแพร่ในระบบการแบ่งปันข้อมูลของเวปไซด์ GISAID เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวได้ถูกลบออกไป แต่นักวิจัยนานาชาติได้เจอข้อมูลและบันทึกเก็บเอาไว้เพื่อทำการศึกษา ก่อนที่จะมีการลบข้อมูลชุดดังกล่าวออกไป เจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกกล่าว

ข้อมูลชุดใหม่นี้ยังคงไม่สามารถตอบคำถามของจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคโควิด-19 ได้อย่างชัดเจน เพราะมันยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า จิ้งจอกแรคคูนติดเชื้อ SARS-CoV-2 หรือจิ้งจอกแรคคูนจะเป็นสัตว์พาหะที่นำโรคมาติดต่อในมนุษย์ แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ข้างนอกจากสัตว์หรือพืชที่มันอาศัยอยู่เป็นระยะเวลานาน การค้นพบสารพันธุกรรมของไวรัสที่มีการผสมผสานกันกับสารพันธุกรมเของจิ้งจอกแรคคูน อาจนำไปสู่ความน่าจะเป็นที่ว่า จิ้งจอกแรคคูนเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค 

โดยการวิเคราะห์ดังกล่าว นำโดย คริสเตียน แอนเดอร์เซน นักภูมิคุ้มกันวิทยาและนักจุลชีววิทยา ของ Scripps Research,เอ็ดเวิร์ด โฮม นักไวรัสวิทยาจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ออสเตรเลีย และไมเคิล วอราบี นักชีววิทยาวิวัฒนาการ จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา สหรัฐอเมริกา โดยนักวิทยาศาสตร์ทั้งสามคนดังกล่าว เป็นผู้ริเริ่มในการหาต้นตอสาเหตุของการระบาดของโควิด-19 โดยข้อมูลใหม่นี้มีการเปิดเผยในระหว่างการประชุมของสภาคองเกรส โดยข้อมูลก่อนหน้านี้หลายชิ้น แสดงให้เห็นว่า เชื้อไวรัสนั้นน่าจะมีจุดเริ่มต้นโดยธรรมชาติที่ตลาดสด แต่ไม่สามารถชี้ชัดแหล่งกำเนิดที่ชัดเจนได้ และบางหน่วยงานของสหรัฐอเมริกา ระบุว่าเชื้อดังกล่าวเกิดจากการรั่วไหลในห้องทดลองของเมืองอู่ฮั่น

และจากการแถลงข่าวเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาขององค์การอนามัยโลก ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก นายเทดรอส อัดฮานอม จีเบรเยซุส กล่าวว่าองค์การอนามัยโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลชุดดังกล่าวเป็นครั้งแรก และได้มีการประสานงานกับทางรัฐบาลจีนเพื่อการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อที่ทางองค์การอนามัยโลกและนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจะมาวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้ประสานงานกับกลุ่มที่ปรีกษาด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นตอของโรคอุบัติใหม่ขององค์การอนามัยโลก ซึ่งกำลังศึกษาถึงต้นตอการระบาดของโรคโควิด-19 มาช่วยกันวิเคราะห์ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลกท่านหนึ่งกล่าวว่า ข้อมูลดังกล่าวยังไม่ใช่การสรุป และก็ไม่สามารถพูดได้เช่นกันว่า ต้นตอของโรคนี้มาจากการรั่วไหลจากห้องทดลอง หรือเป็นการติดต่อมาจากสัตว์สู่คน

“ถึงแม้ว่าข้อมูลดังกล่าว ยังไม่สามารถนำไปสู่การสรุปถึงต้นตอการเกิดโรคได้ แต่มันก็ยังคงมีความสำคัญ  เนื่องจากข้อมูลทุกชิ้นนั้นสำคัญเพราะมันอาจนำเราเข้าไปใกล้กับคำตอบได้มากขึ้น” นายเทดรอสกล่าว โดยกล่าวเพิ่มเติมว่าข้อมูลดังกล่าวควรมีการแจ้งให้รับทราบตั้งแต่เมื่อสามปีที่แล้ว และตอนนี้ยังคงเรียกร้องให้ทางจีนส่งข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการสืบสวนต้นตอการเกิดโรค ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นทั้งด้านคุณธรรมและด้านวิทยาศาสตร์

ก่อนหน้านี้ ทีมนักวิจัยจากจีนได้เผยแพร่งานวิคราะห์ผลตัวอย่างพันธุกรรมเมื่อปีที่แล้ว โดยสรุปว่า ไม่สามารถอนุมานได้ว่าสัตว์เป็นรังโรคของเชื้อ SARS-CoV2 โดยเก็บตัวอย่าง 923 ตัวอย่างของสภาพแวดล้อม 457 ตัวอย่างจากสัตว์ซึ่ง 63 ตัวอย่างจากสภาพแวดล้อมพบการปนเปื้อนของเชื้อ แต่ไม่มีตัวอย่างใดที่พบในการปนเปื้อนของเชื้อในสัตว์ และเชื้อที่พบในสภาพแวดล้อมนั้นมีความเชื่อมโยงกับมนุษย์ไม่ใช่สัตว์ แต่เมื่อเร็วๆนี้ทีมนักวิจัยได้ใช้เทคนิคตรวจสอบพันธุกรรมแบบใหม่ และได้พบเชื้อโควิดในจิ้งจอกแรคคูน ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งรังโรคของเชื้อโควิด

 

Source: Scientists parse another clue to possible origins of COVID=10 as WHO says all possibilities “remain on the table”, CNN

Photo: wikipedia

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง