ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กรมการแพทย์เผยแพร่แนวทางการจัดบริการเพื่อดูแลผู้ป่วย COVID-19 สำหรับสถานพยาบาล ฉบับวันที่ 3 ก.ค. 2566  กรณีบุคลากรติดเชื้ออาการไม่รุนแรงหยุดได้ 5 วัน พร้อมแนวทางปฏิบัติการรับแพทย์ประจำบ้านเข้าฝึกอบรม การหมุนเวียนแพทย์ ฯลฯ  หากสงสัยโควิดให้ตรวจ ATK หรือเลื่อนการหมุนเวียน (Rotation) ออกไปก่อน

 

เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เผยแพร่แนวทางการจัดบริการเพื่อดูแลผู้ป่วย COVID-19 สำหรับสถานพยาบาล ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3 วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566  ซึ่งแนวทางดังกล่าวผ่านการพิจารณาจากหลากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมการแพทย์ พร้อมด้วย คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะแพทยศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยต่างๆ , Uhosnet, ราชวิทยาลัยฯ , สภาวิชาชีพ , สมาคมวิชาชีพ, ชมรมต่างๆ ผู้แทนจากโรงพยาบาลทุกสังกัด ร่วมกับกรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กรมวิทยาศาสตร์- การแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ หน่วยงาน อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการปรับปรุง แนวทางดังกล่าวขึ้น

สำหรับประเด็นปรับปรุงใหม่ ตามสถานการณ์ ประกอบด้วย

1. การตรวจคัดกรองหาเชื้อ SARS CoV2 เมื่อผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ

2.เน้นการสวม Surgical Mask ทุกคนตลอดเวลา(Universal masking) ทั้งใน ผู้ป่วย รวมถึงผู้ติดตาม บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่อื่นๆ

3.เน้นการล้างมือ (Hand Hygiene) ในโอกาสที่จำเป็นและเหมาะสม

4.การสวมชุดอุปกรณ์ป้องกันตนเอง (PPE) ขึ้นกับความเสี่ยงของแต่ละกิจกรรมตาม คำแนะนำ

 

การดูแลให้บริการผู้ป่วยที่บ้าน/ชุมชน กรณี Home visit, Home ward

1.ผู้ป่วยปกติไม่มีความเสี่ยงให้ดำเนินการตามแนวทางทั่วไป

2.การดูแลให้บริการผู้ป่วย COVID-19 เตรียมอุปกรณ์สำหรับการเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วย ชุดตรวจ ATK สำหรับการคัดกรองและประเมินสมาชิกในบ้าน เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย อุปกรณ์ป้องกัน ส่วนบุคคลสำหรับการทำหัตถการ อุปกรณ์สำหรับการทำหัตถการต่าง ๆ เช่น สายสวนปัสสาวะ ท่อหลอดลมคอ และเตรียมถุงแดงสำหรับทิ้งขยะติดเชื้อ

3. การแต่งกายชุด PPE ของบุคลากร ขึ้นกับความเสี่ยง

- กิจกรรมปกติทั่วไป ใส่ surgical mask

- กรณีทำหัตถการ aerosol generating procedure หรือ ทำหัตถการ รักษาพยาบาลเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สวมถุงมือ หน้ากากชนิด N95 ใส่ เสื้อคลุมพลาสติกชนิดธรรมดาเฉพาะกรณีต้องอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีสารคัดหลังจาก ทางเดินหายใจค่อนข้างมาก

4. ประเมินความเสี่ยง ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19ในผู้ติดเชื้อและสมาชิกในบ้าน

5. ประเมินความรู้ความเข้าใจ ความกังวลใจของผู้ป่วยและครอบครัว รวมทั้งการรับรู้ขอชุมชน ต่อการติดเชื้อ ให้คำแนะนำเรื่องการแยกตัว การจัดพื้นที่แยกสำหรับผู้ป่วย COVID-19 ที่เหมาะสม

6. ให้คำแนะนำการดูแลตนเอง การสังเกตอาการ และการฉีดวัคซีน และควรมีเอกสารแนะนำ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้ศึกษาทบทวน พร้อมรายละเอียดช่องทางในการติดต่อกับบุคลากรทางการแพทย์

การส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล

ให้ตรวจ ATK เฉพาะเมื่อมีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจหรือมีอาการสงสัย COVID-19 (ตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรค COVID-19 ฉบับ ปรับปรุง ครั้งที่ 27 วันที่ 18 เมษายน 2566 หรือตามแนวทางเวชปฏิบัติที่มีการฉบับปรับปรุงล่าสุด)

การหยุดพักของบุคลากรทางการแพทย์ระหว่างการติดเชื้อ

ให้หยุดพักการปฏิบัติงานตามบริบทและความเหมาะสม ประมาณ 5 วันถ้าอาการไม่รุนแรง ให้ปฏิบัติ ตนตามเกณฑ์แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีCOVID-19 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 27 วันที่ 18 เมษายน 2566 หรือตามแนวทางเวชปฏิบัติที่มีการฉบับปรับปรุงล่าสุด

 

Elective rotation ของนักศึกษาและบุคลากรทางการแพทย์ระหว่างสถาบัน/โรงพยาบาล

ปฏิบัติตามเกณฑ์แนวทางปฏิบัติการรับแพทย์ประจำบ้านเข้าฝึกอบรม การหมุนเวียนแพทย์ ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอดระหว่างสถาบันหลัก สถาบันรอง หรือสถาบันสมทบ (Rotation) และการเรียนวิชาเลือก (Elective) ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 โดยไม่ต้องตรวจ ATK ก่อนมาปฏิบัติงาน หากมีอาการสงสัย COVID-19 ให้พิจารณาตรวจ ATK หรือเลื่อนการหมุนเวียน (Rotation) ออกไปก่อน

หมายเหตุ

1. อาการระบบทางเดินหายใจหรือมีอาการสงสัยCOVID-19 ให้ยึดถือตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 27 วันที่ 18 เมษายน 2566  หรือแนวทางเวชปฏิบัติที่มีการฉบับปรับปรุงล่าสุด

2. เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมการแพร่เชื้อในสถานพยาบาลมีประสิทธิภาพ ควรมี มาตรการให้ผู้ป่วยรวมถึงผู้ติดตาม และบุคลากรเมื่ออยู่ในสถานพยาบาลให้สวมหน้ากากอนามัยทุกคน (Universal masking) ตลอดเวลา และหมั่นล้างมือ (Hand Hygiene) แนวทางปฏิบัติที่จัดทำขึ้นนี้ ให้เริ่มปฏิบัติตั้งแต่ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป

 

ทั้งนี้อ่านรายละเอียดแนวทางดังกล่าวเพิ่มเติม ตามไฟล์แนบด้านล่าง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง