ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

กรมอนามัยเดินหน้านโยบายส่งเสริมการมีบุตร วาระแห่งชาติ ยึดแนวทาง Give Birth Great World พร้อมจัดมาตรการดูแลภาพรวม

 

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ที่กรมอนามัย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่ากระทรวงสาธารณสุข นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและคณะผู้บริหารตรวจเยี่ยมการดำเนินภารกิจกรมอนามัย พร้อมมอบนโยบายให้กับผู้บริหารและบุคลากร โดยมีพญ.อัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล รักษาราชการอธิบดีกรมอนามัย และคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ  

ทั้งนี้ กรมอนามัยเป็นหนึ่งในหน่วยงานกระทรวงฯ ที่จะขับเคลื่อนนโยบายยกระดับ 30 บาทพลัส ประกอบด้วย 1. โครงการพระราชดำริฯ โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ในพระบรมวงศานุวงศ์ ได้แก่ โครงการราชทันฑ์ปันสุข โครงการฟันเทียม รากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ 2.การแพทย์ปฐมภูมิ โดยการวิเคราะห์ ชี้เป้า คืนข้อมูลและสถานการณ์ปัญหาสุขภาพกลุ่มวัยแก่เขตสุขภาพ 3.สถานชีวาภิบาล บูรณาการ Long Term Care เพื่อรองรับผู้สูงอายุ 4. เศรษฐกิจสุขภาพ Wellness Communityกินดีอยู่ดี เพิ่มมูลค่าชุมชน 5. นักท่องเที่ยวปลอดภัย สุขาภิบาลอาหารและน้ำ อนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ท่องเที่ยวมีความสะอาด ปลอดภัย และ 6.การส่งเสริมการมีบุตร ซึ่งเป็น “วาระแห่งชาติ” เพื่อให้รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนหลักในการพัฒนาทรัพยากรของประเทศ

 

พญ.อัจฉรา กล่าวว่า  สำหรับแนวทางการดำเนินงานในปี 2567 แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มวัย คือ 1. แรกเกิด ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย 2. วัยเรียน 6-14 ปี เก่ง ดี มีทักษะ แข็งแรง สูงดี สมส่วน 3.วัยทำงาน สุขภาพดี ค่า BMI ปกติ ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และ 4.วัยสูงอายุ ดูแลตนเอง ลดภาวะพึ่งพิง Active Aging ส่วนกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิง เปราะบาง ด้วยโอกาส เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ จะมี Care Giver ในพื้นที่ดูแล

อย่างไรก็ตาม  นโยบายการส่งเสริมการมีบุตร กรมอนามัย ถือเป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงฯในการดูแลสนับสนุนเรื่องนี้ โดยแนวทางคือ Give Birth Great World ประกอบด้วย Get together การร่วมกัน Inspire one another สร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน Value new life คุณค่าของชีวิตใหม่ และ Extend the family ครอบครัวขยาย/ครอบครัวใหญ่ โดยมาตรการเพิ่มจำนวนการเกิด ต้องดูทั้งคนโสด คนไม่อยากมีลูกอาจต้องมีเรื่องสวัสดิการที่ดี การมีบุตรยาก ต้องจัดบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก และอยากมีแต่มีไม่ได้ ต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

 

สำหรับด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมได้สร้างระบบนิเวศเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งดำเนินการเมืองที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ
ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Green & Health) โดยมีการจัดการน้ำอุปโภค บริโภคที่ปลอดภัย มีการจัดการขยะที่ดี
มีพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่สีเขียวที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อน และมีชุมชนไม่สร้างมลพิษทางอากาศ เสียง และฝุ่น โดยมี Green Health Attraction จำนวน 40 จังหวัด/แห่ง Green Health Hotel จำนวน 2,000 โรงแรม ส้วมสาธารณะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS จำนวน 15,000 แห่ง ใน 77 จังหวัด GREEN & CLEAN Hospital Challenge จำนวน 600 แห่ง การจัดการสิ่งปฏิกูลคุณภาพ จำนวน 120 แห่ง มูลฝอยติดเชื้อได้รับการกำจัด

ส่วนผลการดำเนินงาน Health City ผ่านการประเมิน จำนวน 250 เมือง Food & Water Sanitation CFGT จำนวน 120,000 ร้าน เส้นทางอาหารปลอดภัย 13 เขตสุขภาพ โดยมีสถานประกอบการผ่านเกณฑ์ เช่น ตลาด ร้านอาหาร อาหารริมบาทวิถี โรงแรมมีเมนูชูสุขภาพ และครัวเรือนอาหารปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีระบบประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีผ่านเกณฑ์คุณภาพ และน้ำประปาดื่มได้ จำนวน 360 แห่ง และลดผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ได้แก่ PM2.5 สาธารณภัย และ Climate Change